หน้าแรก / THTI Activities / โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับผู้ประกอบการประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ปีงบประมาณ 2567 (INNO LANNA TEXTILE 2024)

โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับผู้ประกอบการประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ปีงบประมาณ 2567 (INNO LANNA TEXTILE 2024)

14.01.2568 | จำนวนผู้เข้าชม 168

           กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ศูนย์ภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงาน โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับผู้ประกอบการประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายภายใต้ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567   กิจกรรมการจัดหาช่องการตลาด หรือทำการทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นในโครงการฯ  เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาในโครงการ จำนวน ไม่น้อยกว่า 8 ผลิตภัณฑ์/ 8 กลุ่ม ในการเข้าร่วมจัดกิจกรรมเดินแบบ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด “ผ้าไทยแฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ทั้งนี้เพื่อร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู สนับสนุน ส่งเสริม สืบสานเอกลักษณ์ภูมิปัญญาผ้าพื้นถิ่น ด้วยการต่อยอดภูมิปัญญาร่วมกับการออกแบบที่มีความหลากหลายและร่วมสมัย นำไปสู่การเผยแพร่วัฒนธรรมการแต่งกายผ้าไทยให้คงอยู่สืบไปและขยายผลการอนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทยมาสู่ “แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ที่สำคัญเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล Soft Power เพื่อขับเคลื่อน “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” สู่ระดับโลกดึงเสน่ห์แห่งภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดทางการค้า สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการช่างทอพื้นถิ่น
กรอบแนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอล้านนาด้วยนวัตกรรม
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอล้านนา ที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับผู้ประกอบการประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จะมีจุดเด่นในเรื่องของนวัตกรรมเทคโนโลยีผสมผสานการออกแบบจากวิถีชีวิต การใช้ภูมิปัญญา การสืบทอดวัฒนธรรม เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ สู่การจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับผู้ประกอบการประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้มีนวัตกรรมเทคโนโลยีผสมการออกแบบเชิงสร้างสรรค์บนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP กระตุ้นผู้ประกอบ  ในการผสานภูมิปัญญาและนวัตกรรมในการสร้างความแตกต่างและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ด้วยแนวคิด BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy (เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจ สีเขียว)   เป็นแนวคิดหลักที่จะนำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่ไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสู่การแข่งขัน พร้อมกับการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ทำให้ชุมชนเข็มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 
 
 
 
แนวทางการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่

  • New Material
นวัตกรรมวัสดุเส้นใย จะเน้นถึงการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น ที่จะนำวัสดุจากธรรมชาติมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีไปพัฒนาต่อยอดจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือ วัสดุในท้องถิ่น มาผสมผสานกับวัสดุสังเคราะห์
  • New Function
ความก้าวหน้าของนวัตกรรมสิ่งทอซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันเป็นที่สนใจในตลาดโลก โดยเฉพาะการพัฒนาสิ่งทอให้มีคุณสมบัติพิเศษ หรือ Functional Textile เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน ในปัจจุบันมีนวัตกรรมที่หลากหลายสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณสมบัติต่างๆบนผืนผ้าได้   
  •  New Technology
นวัตกรรมที่มีความโดดเด่นในปัจจุบัน ได้แก่ Eco-Innovative นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยความรู้และเทคโนโลยี รวมทั้งมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน แนวทางการทำนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รายชื่อกลุ่ม/วิสาหกิจชุมชน ที่เข้านำเสนอผลงานการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโครงการรดังนี้
 1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเบ้อเร่อ     
2. NiRin Premium Clothing    
3. วิสาหกิจชุมชนเกษตรพึ่งตนเอง 
4. ขะแจ๋หลงลื้อ 
5. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าฝ้ายเชิงดอย       
6. Hom Studio
7. PAKAPAN.S  
8. กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านแอ่น     

 

สิ่งทอ,สิ่งทอ