ค้นหา
กรุณา พิมพ์สิ่งที่ท่านต้องการค้นหาที่นี่ค่ะ
ค้นหา
ปิด
TH
บริการ THTI
วิเคราะห์ทดสอบ
ฝึกอบรม
วิจัยพัฒนาเชิงพาณิชย์
ข้อมูลดิจิตอล
งานจัดแสดงสินค้า
โปรโมชั่นบริการ
นวัตกรรม
All
ECO Textile
Protective Textile
Medical Textile
Sportswear
THTI Activities
THTI Insight
วารสาร
องค์ความรู้
เทคโนโลยีสิ่งทอ
ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม
ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก
ข่าวรายวัน
เกี่ยวกับ THTI
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ความเป็นมา
แผนผังองค์กร
ผู้บริหารสถาบัน
คณะกรรมการสถาบัน
ผลงานสถาบันฯ
สมาคมการค้า
พันธมิตร
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
ประกาศ จัดซื้อ-จัดจ้าง
หน้าแรก
/
THTI Activities
/
บพข.ร่วมกับสถาบันสิ่งทอ เผยผลสำเร็จ 5 ผู้ประกอบการ SME สิ่งทอไทย หนุนสู่อุตสาหกรรม S-Curve และ New S-Curve
บพข.ร่วมกับสถาบันสิ่งทอ เผยผลสำเร็จ 5 ผู้ประกอบการ SME สิ่งทอไทย หนุนสู่อุตสาหกรรม S-Curve และ New S-Curve
21.03.2568 |
จำนวนผู้เข้าชม 39
21 มีนาคม 2568 - บพข. ร่วมกับ สถาบันสิ่งทอเผยผลสำเร็จ 5 ผู้ประกอบการสิ่งทอไทย ในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสิ่งทอด้วยนวัตกรรมความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีด้านนาโน วัสดุ ชีวภาพ และอิเล็กทรอนิกส์ สู่อุตสาหกรรม S-Curve และ New S-Curve ปี 67
นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิแผนงาน
Innovation Driven Enterprise
s
(
IDEs) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เปิดเผยว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ โดยผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ทำให้งานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์ ได้ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหรรมสิ่งทอ ดำเนิน
“โครงการ
พัฒนาผู้ประกอบการสิ่งทอด้วยนวัตกรรมความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีด้านนาโน วัสดุ ชีวภาพ และอิเล็กทรอนิกส์ สู่อุตสาหกรรม
S-Curveและ New S-Curve”
ปีงบประมาณ 2567 รวม 5 กิจการ โดยช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่มีศักยภาพในการเติบโตสู่การเป็นธุรกิจฐานนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งเป็นคนกลางและเป็นกลไกบริหารงาน (Intermediary) และเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (IBDS) โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอที่มีฐานนวัตกรรมขนาดใหญ่ (IDEs) เพิ่มขึ้น มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีรายได้สูงขึ้นกว่าร้อยละ 20 ภายใน 3 ปี และเติบโตสู่การมีรายได้ 1,000 ล้านบาท ในอนาคต เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน
ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
กล่าวว่า สถาบันสิ่งทอ ได้รับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายนี้ พร้อมวางแนวทางขับเคลื่อนผู้ประกอบการหรือ IDEs ประกอบไปด้วย 3 แนวทางคือ การหมุนเวียน (Circularity) การสร้างความยั่งยืน (Sustainability) และ การปรับตัวสู่ดิจิทัล (Digitalization)ผ่านการส่งเสริมนวัตกรรม ใน 4 มิติหลัก
คือ 1.นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (
Product Innovation) 2.นวัตกรรมกระบวนการผลิต (Process Innovation) 3.นวัตกรรมการตลาด (Market Innovation) และ 4.นวัตกรรมองค์กร (Organization Innovation)
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันในระดับสากลด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ นาโนเทคโนโลยี วัสดุชีวภาพ และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยสู่อุตสาหกรรม S-Curve และ New S-Curve อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการวินิจฉัยธุรกิจโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 5 กิจการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2567 ประกอบไปด้วย
1.บริษัท พาลาดิน เวิร์คแวร์ จำกัด
:
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอที่มุ่งเน้นนวัตกรรม
มุ่งเน้นส่งเสริม
นวัตกรรมกระบวนการผลิต (
Process Innovation)
ประยุกต์ใช้กราฟีน
วัสดุแห่งอนาคต และประสบความสำเร็จในการพัฒนาน้ำหมึกกราฟีนที่มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ โดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธรุกิจที่มีความเชี่ยวชาญ และได้
“พัฒนาต้นแบบผ้ารัดขา”
(Leg Compression) ร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งานจริงกับผู้ป่วย
2.บริษัท โกลแฟ็บ จำกัด
:
ผู้ผลิตชุดป้องกันส่วนบุคคล โดยเฉพาะชุดดับเพลิงคุณภาพสูง เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยให้กับบุคลากรในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม มุ่
งเน้น
ส่งเสริม นวัตกรรมการตลาด เน้นพัฒนาสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับ การส่งเสริมกระบวนการผลิต “พัฒนาชุดดับเพลิงคุณภาพสูงดีไซน์ใหม่”
โดยมีการออกแบบ เน้นแถบสะท้อนแสงมากขึ้น น้ำหนักเบา และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการออกแบบหลักสรีรศาสตร์ร่วมกับหลักการยศาสตร์ มีจุดป้องกันที่ทำจากวัสดุพิเศษและมีความนุ่มรองรับการกระแทกช่วงหัวเข่าและข้อศอก เพื่อให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายปฏิบัติงานได้นานขึ้น ส่งผลให้เกิดการยกระดับมาตรฐานการรับรองมาตรฐานสากลของผลิตภัณฑ์ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศ
3.บริษัท ยูไนเต็ดเท็กซ์ไทล์มิลส์ จำกัด
:ผู้ให้บริการฟอก-ย้อม เส้นด้าย ตกแต่งสำเร็จ ผ้าถ้กและผ้าทอ
มุ่งเน้นส่งเสริมครบทุกมิติ :
ทั้ง นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมการตลาด นวัตกรรมองค์กร และที่สำคัญที่สุดคือ
นวัตกรรมกระบวนการผลิต
ภายใต้แนวทางการประกอบธุรกิจตามหลักความยั่งยืน (ESG)
โดยมีเป้าหมาย “เป็นผู้นำเทคโนโลยีการย้อมที่ยั่งยืน” (Sustainable) ได้ 100 %
ลดปริมาณคาร์บอนและของเสีย นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอต้นทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้การรับรองมาตรฐานสากล สร้างทางเลือกผลิตภัณฑ์ให้นักออกแบบต่อยอดสู่การสร้างสรรค์แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มผู้บริโภครักษ์โลก ทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยผลสำเร็จผลิตภัณฑ์ผ้าจากโครงการฯ ส่วนหนึ่งได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์แฟชั่นในอังกฤษ นำปสร้างสรรค์คอลเลคชั่นใหม่เตรียมออกจำหน่ายในเร็ว ๆ นี้
4.บริษัท บีซีแอล 2002 จำกัด
:ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสิ่งทอทุกชนิด และเจ้าของนวัตกรรม PERMA Materials for life ยกระดับสุขอนามัยด้วยนวัตกรรมที่ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัสได้มากกว่า 99 % ตลอดอายุการใช้งาน
มุ่งเน้นส่งเสริม
:
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วม (Co-Branding Creation) กับแบรนด์ เสริมด้วยนวัตกรรมพัฒนาช่องทางการตลาด เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่และเติมเต็มด้วยระบบการขายดิจิทัล รวมทั้งสนับสนุนนวัตกรรมพัฒนาโครงสร้างองค์กรด้วยเทคโนโลยี
5.ห้างหุ้นส่วนจำกัดนิวย่งฮั้ว (ไทยแลนด์) : ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอแคบคุณภาพสูง ผลิตภัณฑ์ออกแบบมาเพื่อความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และสไตล์ที่เหนือกว่า เช่น เชือกรองเท้า สายรัด ริบบิ้น เป็นต้น
มุ่งเน้นส่งเสริมนวัตกรรมครบทุกมิติ
มีการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001:2015 พร้อมให้ความสำคัญกับความยั่งยืน จนสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้น จากเดิม 81%เป็น 93 %ใช้นวัตกรรมทำตลาดออนไลน์ขยายฐานลูกค้า พร้อมปรับบทบาทจากผู้ขาย ให้เป็นผู้ร่วมพัฒนานวัตกรรม (innovation partnership) มุ่งเน้นเข้าสู่องค์กรนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง และก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม S-Curveและแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ
จากการดำเนินโครงการดังกล่าว สามารถขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอที่มีฐานนวัตกรรมขนาดใหญ่ (IDEs) เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ คือ เพิ่มยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เกิดการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในระบบ มูลค่าทางด้านสังคมผู้บริโภคได้ใช้นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในราคาที่เหมาะสม เนื่องจากสามารถผลิตเองได้ภายในประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านสิ่งแวดล้อม นวัตกรรม และเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในกระบวนการ จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนของสารพิษต่าง ๆ ลดการปล่อยของเสีย ลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามนโยบายของประเทศ สอดคล้องกับทิศทางของโลก
หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจเข้าร่วมโครงการฯในปี 2568 สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
www.thaitextile.org หรือ facebook : Thailand Textile Institute
Print this
สิ่งทอ,สิ่งทอ
บพข.ร่วมกับสถาบันสิ่งทอ เผยผลสำเร็จ 5 ผู้ประกอบการ SME สิ่งทอไทย หนุนสู่อุตสาหกรรม S-Curve และ New S-Curve
ย้อนกลับ
ครั้งแรกของความร่วมมือ SME D Bank x THTI
ถัดไป
THTI Activities
บพข.ร่วมกับสถาบันสิ่งทอ เผยผลสำเร็จ 5 ผู้ประกอบการ SME สิ่งทอไทย หนุนสู่อุตสาหกรรม S-Curve และ New S-Curve
ครั้งแรกของความร่วมมือ SME D Bank x THTI
สศอ. ร่วมกับ สถาบันฯสิ่งทอ จัดโฟกัสกรุ๊ป พัฒนาวัสดุทางการเกษตรสู่อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ
กระทรวงอุตฯ รับลูกต่อนโยบายเรือธง OFOS โชว์ผลสำเร็จผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย ปั้นทักษะบุคลากรแฟชั่นไทยกว่า 2,000 คน คาดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 200 ล้านบาท
โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับผู้ประกอบการประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ปีงบประมาณ 2567 (INNO LANNA TEXTILE 2024)
ขอเชิญเข้าร่วม งานฤดูหนาว นางสาวเชียงใหม่ และ งาน OTOP ของดีเมืองเชียงใหม่ ประจำปี 2568