สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เกิดขึ้นจากการผลักดันของหน่วยงานหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและ เอกชน โดยตระหนักถึงความจำเป็นของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ที่จะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับ การแข่งขันเสรี ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในยุคนั้น ภาคเอกชนโดยสมาคมสิ่งทอต่างๆ เล็งเห็นว่า ควรจะจัดตั้งหน่วยงานที่มีความคล่องตัวขึ้นมา แม้ว่าในขณะนั้นจะมีกองอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในสังกัด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม อยู่แล้วก็ตาม แต่ด้วยการแข่งขันในวันข้างหน้า คือ หลังจากปี 2538 ข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอมีผลบังคับใช้จึงจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานใหม่ ที่มีความยืดหยุ่น มีระบบ การทำงานที่กระชับ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานราชการที่มีกฎระเบียบใน เรื่องงบประมาณและการดำเนินการ อีกทั้ง ยังมีข้อจำกัดในเรื่อง บุคลากรที่มีการหมุนเวียนโยกย้ายอยู่เสมอซึ่งจะทำให้ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาอุตสาหกรรม ในที่สุดก็ได้ข้อตกลงร่วมกันว่าหน่วยงานดังกล่าวจะต้อง เป็นสถาบันอิสระไม่อยู่ในระบบราชการ และ มี การจัดตั้งคณะกรรมการที่มาจากตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ร่วมกันกำหนดนโยบายโดยมี ผู้อำนวยการสถาบันเป็นผู้บริหารงานให้เป็นไปตามนโยบาย จากนั้น ได้มีการน าเสนอต่อรัฐบาลในขณะนั้นที่มีนาย บรรหาร ศิลปะอาชา ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งต่างก็เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะรัฐบาลเองก็คิดว่าอุตสาหกรรม สิ่งทอ จะสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนและแข่งขันได้นั้น ภาคเอกชนต้องเข้ามามีบทบาทในการร่วมคิดร่วมวางแผนกับ ภาครัฐและมีบทบาทนำในการลงมือปฏิบัติจึงจะเกิดผลสมตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2539 สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ตามมติ คณะรัฐมนตรี โดยให้มีสถานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน มีภารกิจในการ พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยให้มีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ในช่วง 5 ปีแรก สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลปีละ 50 ล้าน บาท แต่ตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นมา สถาบันฯ จะต้องหารายได้เพื่อใช้ในการดำเนินงานเอง โดยรายได้หลักมาจาก 3 แหล่งคือ
1. งบประมาณอุดหนุนจากภาครัฐ ซึ่งไม่ใช่งบประมาณให้เปล่า แต่ต้องนำเสนอโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นโครงการในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โครงการเชิงยุทธศาสตร์สิ่งทอ ให้กับหน่วยงานรัฐที่ เกี่ยวข้องพิจารณา หากหน่วยงานนั้นเห็นชอบด้วย ก็จะจัดสรรงบประมาณให้มาดำเนินโครงการ
2. รายได้จากการทำโครงการศึกษา งานวิจัย การพัฒนา เป็นที่ปรึกษา ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชนทั้งในและต่างประเทศ
3. รายได้จากงานบริการของสถาบัน เช่น การวิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์การ ฝึกอบรม เป็นผู้แทนประสานงานอย่างเป็นทางการในการร่วมผลักดันให้ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ร่วมงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ ภายใต้การจัดงานของ Messe Frankfurt ฯลฯ รายได้เหล่านี้ทำให้สถาบัน พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สามารถพึ่งตัวเองได้ ในทางการเงินโดยไม่ต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล
กว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดำเนินงานภายใต้ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ และเป็นหน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ทำงานในเชิงรุกและทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้ปัจจุบัน สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้รับ ความไว้วางใจและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ได้รับโอกาสในการเป็นที่ปรึกษาและร่วมสนับสนุนการดำเนิน โครงการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการจาก กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, กระทรวงพาณิชย์, สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม (สสว.), กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ, กรมหม่อนไหม, องค์การบริหาร การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท., สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจาก ฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), สำนักงานบริหารและ พัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่าง ประเทศ (องค์การมหาชน) รวมทั้งเชื่อมต่อตลาดสากล ผลักดันผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยร่วมงาน แสดงสินค้าระดับนานาชาติ ภายใต้การจัดงานของ Messe Frankfurt โดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประสานงานด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มประจำประเทศไทยอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานและ สถาบันการศึกษา เข้าเยี่ยมชมสถาบันฯ เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมต่าง ๆ ไปต่อยอดทั้งในเชิงนโยบายและ การพัฒนาออกแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ รวมทั้งทำกิจกรรมเพื่อสังคมอื่น ๆ ร่วมกับกระทรวง อุตสาหกรรม และหน่วยงานภาคเอกชน อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น โดยการดำเนินงานทั้งหมด ก่อให้เกิด งานนวัตกรรม งานสร้างสรรค์ งานแฟชั่น และผลิตภัณฑ์ที่เป็น ประโยชน์ ตอบโจทย์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และความร่วมมือจากทุกภาค ส่วน ทั้งภาคการศึกษาและภาคเอกชน สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ มุ่งมั่นพัฒนาสร้างสรรค์ พร้อมผลักดัน อุตสาหกรรมสิ่งทอ แฟชั่นไทยให้เป็นศูนย์กลางในอาเซียน และเติบโตในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน
ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยมะพร้าวอ่อน
ผลิตภัณฑ์เสื้อสูทจากเส้นใยกล้วย
ผลิตภัณฑ์ชุดเสื้อผ้าเบอร์ 5 เสื้อผ้าสวมใส่สบาย ประหยัดพลังงานไม่ต้องรีด
ผลิตภัณฑ์ดอกไม้จากเศษผ้าไหม สร้างมูลค่าเพิ่มตกแต่งกลิ่นหอม
ผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาและออกแบบสร้างสรรค์สู่สากล