หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนพฤศจิกายน 2562

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนพฤศจิกายน 2562

กลับหน้าหลัก
25.12.2562 | จำนวนผู้เข้าชม 1046

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า เดือนพฤศจิกายน 2562

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนพฤศจิกายน 2562 และสะสม 11 เดือน (มกราคม – พฤศจิกายน 2562)

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 158.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.70 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 102.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.29 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 55.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.55 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 164.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.62 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 103.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.23 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 61.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุล คิดเป็นมูลค่า 6.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในขณะที่ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว สะสม 11 เดือน (มกราคม – พฤศจิกายน 2562) พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 1,730.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.08 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 1,151.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.88 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 579.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.54 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าสะสมของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 1,974.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.60 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 1,368.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 606.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.10 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุล คิดเป็นมูลค่า 243.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตารางที่ 1 แสดงมูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (เครื่องหนัง) ในเดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ เฉพาะในเดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) 11 เดือนในปีดังกล่าวของกลุ่มเครื่องหนัง พบว่า ภาพรวมการส่งออกลดลงในเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ร้อยละ 2.29 หรือคิดเป็นมูลค่า 102.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) 11 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 3.88 หรือคิดเป็นมูลค่า 1,151.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด พบว่า เฉพาะในเดือนพฤศจิกายน 2562 ลดลงร้อยละ 12.85 หรือคิดเป็นมูลค่า 67.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลง (สะสม) 11 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 0.49 หรือคิดเป็นมูลค่า 735.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสินค้าในกลุ่มหนังโคกระบือฟอกและของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง ขณะที่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ภาพรวมการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ร้อยละ 27.06 หรือคิดเป็นมูลค่า 35.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) 11 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 12.61 หรือคิดเป็นมูลค่า 416.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสินค้าในกลุ่มการเป๋าถือ

ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (รองเท้า) ในเดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562 

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ เฉพาะในเดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) 11 เดือนในปีดังกล่าวของกลุ่มรองเท้า พบว่า ภาพรวมการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ร้อยละ 6.55 หรือคิดเป็นมูลค่า 55.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) 11 เดือน ที่ร้อยละ 1.54 หรือคิดเป็นมูลค่า 579.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ของรองเท้า พบว่า รองเท้าแตะ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และ (สะสม) 11 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 58.58 และ 9.29 หรือคิดเป็นมูลค่า 10.3 และ 101.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องหนังและรองเท้า (จำแนกตามรายผลิตภัณฑ์) รายประเทศ 5 อันดับแรกในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า ผลิตภัณฑ์หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ตลาดหลักยังคงเป็นเวียดนาม การส่งออกลดลงร้อยละ 25.59 หรือคิดเป็นมูลค่า 19.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นมูลค่า 10.8, 7.7, 5.2 และ 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถัดมาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำหรับเดินทาง สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดหลักในสินค้ากลุ่มนี้ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าว 9.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.59 รองลงมาได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ จีน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น คิดเป็นมูลค่า 3.7, 3.4, 2.9 และ 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และผลิตภัณฑ์รองเท้าและชิ้นส่วน ตลาดส่งออก 5 อันดับ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา จีน สหราชอาณาจักร เมียนม่า และเดนมาร์ก ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 7.7, 5.1, 3.6, 3.5 และ 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขณะที่ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องหนังและรองเท้า (จำแนกตามรายผลิตภัณฑ์) รายประเทศ 5 อันดับแรก (สะสม) 11 เดือนในปี 2562 พบว่า ผลิตภัณฑ์หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เวียดนามเป็นตลาดหลักในสินค้ากลุ่มนี้ โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.55 หรือคิดเป็นมูลค่า 232.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย และอินเดีย ซึ่งมีมูลค่าส่งออก (สะสม) อยู่ที่ 97.0, 74.5, 56.6 และ 44.2 ถัดมาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำหรับเดินทาง พบว่า ตลาดหลักยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการส่งออก (สะสม) 96.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.83 รองลงมาได้แก่ จีน สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ คิดเป็นมูลค่า (สะสม) 58.6, 41.1, 31.4 และ 19.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และผลิตภัณฑ์รองเท้าและชิ้นส่วน พบว่า ตลาดหลักยังคงเป็นสหรัฐอเมริกาเช่นกัน โดยมีมูลค่าการส่งออก (สะสม) ในกลุ่มนี้อยู่ที่ 92.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.79 รองลงมาได้แก่ สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก เมียนม่า และจีน คิดเป็นมูลค่า (สะสม) 46.6, 42.1, 41.1 และ 31.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าการนำเข้าของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (เครื่องหนังและรองเท้า) ในเดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562 

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (เครื่องหนังและรองเท้า) ในเดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562 พบว่า ภาพรวมการนำเข้าลดลงในเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ร้อยละ 5.62 หรือคิดเป็นมูลค่า 164.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) 11 เดือน ที่ร้อยละ 8.60 หรือคิดเป็นมูลค่า 1,974.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์หนังดิบและหนังฟอก พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2562 การนำเข้าลดลงร้อยละ 28.61 หรือคิดเป็นมูลค่า 44.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้า (สะสม) 11 เดือน ลดลงร้อยละ 1.10 หรือคิดเป็นมูลค่า 844.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ผลิตภัณฑ์กระเป๋าเดินทาง ในเดือนพฤศจิกายน 2562 นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 หรือคิดเป็นมูลค่า 12.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้น (สะสม) 11 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 23.30 และคิดเป็นมูลค่า 123.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

ขณะที่การนำเข้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์รองเท้าในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า ภาพรวมมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นบางรายการ ประกอบด้วย รองเท้ากีฬา นำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.18 หรือคิดเป็นมูลค่า 22.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และรองเท้าทำด้วยยางหรือพลาสติก นำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.03 หรือคิดเป็นมูลค่า 12.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณาการนำเข้า (สะสม) 11 เดือน พบว่า ภาพรวมมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกรายการ ประกอบด้วย รองเท้ากีฬา นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.95 หรือคิดเป็นมูลค่า 190.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ รองเท้าทำด้วยยางหรือพลาสติกและรองเท้าหนัง นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.51 และ 7.72 หรือคิดเป็นมูลค่า 118.5 และ 85.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

ทั้งนี้ แนวโน้มการส่งออกของเครื่องใช้สำหรับเดินทาง (ในกลุ่มกระเป๋าถือ) คาดการณ์ว่าจะยังคงขยายตัว จากการส่งออกไปยังตลาดหลักของสินค้าในกลุ่มนี้ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) 11 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 24.56, 196.97 และ 16.90 หรือคิดเป็นมูลค่า 35.9, 10.6 และ 9.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ  

**********************************************

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

25 ธันวาคม 2562

นำเข้าส่งออกเครื่องหนัง, อุตสาหกรรม, เครื่องหนัง, รองเท้า, เดือนตุลาคม, ปี 2562, สะสม 11 เดือน, ม.ค.-พ.ย., ส่งออก, นำเข้า, Export, Import, Leather, Shoes, สถานการณ์