ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนพฤศจิกายน 2562
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 555.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 348.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.4 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 207.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 435.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.9 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 268.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.3 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 167.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.8 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 120.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในขณะที่ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว สะสม 11 เดือน (มกราคม - พฤศจิกายน 2562) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 6,365.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.2 แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 4,012.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.8 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 2,352.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) ของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 4,900.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.0 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 3,263.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.3 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,636.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 1,464.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีการปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562
สำหรับผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน มีมูลค่าการส่งออกที่ 62.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ภาพรวม (สะสม) 11 เดือน ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันอยู่ที่ร้อยละ 14.1 ขณะที่ตลาดสหรัฐฯ ที่มูลค่า 787.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562
ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 48.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 16.1 ขณะที่ภาพรวม (สะสม) พบว่า ยังคงมีการปรับตัวลดลงเช่นกันอยู่ที่ร้อยละ 15.3 โดยตลาดส่งออกหลักยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ยกเว้นตลาดสหรัฐฯ ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 57.6 และ 73.9 เมื่อพิจารณาลงในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์เส้นด้ายที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐฯ พบว่า มี 2 กลุ่ม ๆ ประกอบด้วย ด้ายใยยาวสังเคราะห์ และด้ายใยสั้นสังเคราะห์
ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562
การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.4 คิดเป็นมูลค่า 118.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการส่งออกผ้าผืนไปตลาดเวียดนาม และเมียนมา ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.6 และ 3.6
ในขณะที่ภาพรวม (สะสม) 11 เดือน ยังคงมีการปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลดลงของตลาดหลักอย่างตลาดเวียนนาม ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.1
ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562
ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลดลงของตลาดสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.4
ขณะที่ภาพรวม (สะสม) 11 เดือน ยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากการขยายตัว (สะสม) ของตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ที่ร้อยละ 7.1 หรือที่มูลค่า 871.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก
เมื่อพิจารณาฝั่งการนำเข้า พบว่า มูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า มีเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)
ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562
สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2562 มีมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 114.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 22.7 ขณะที่ภาพรวม (สะสม) 11 เดือน พบว่า ยังคงมีการปรับตัวลดลงเช่นกันอยู่ที่ร้อยละ 9.2 หากพิจารณาการนำเข้า (สะสม) ในรายตลาด พบว่า การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากตลาดจีน ซึ่งมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 และ 7.1 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้ายใยยาวสังเคราะห์ ด้ายใยสั้นสังเคราะห์ และด้ายจากขนสัตว์ ตามลำดับ
ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผ้าผืน ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.5 จากการนำเข้าผ้าผืนจากตลาดจีน และไต้หวัน แต่ในขณะที่ภาพรวม (สะสม) 11 เดือน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากตลาดจีน เวียดนาม และสหรัฐฯ ซึ่งผ้าผืนที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นผ้าผืนที่ผลิตจากด้ายใยยาวสังเคราะห์
ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนพฤศจิกายน 2562 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2562
ขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า มีการนำเข้าลดลงร้อยละ 8.0 ขณะที่ภาพรวม (สะสม) 11 เดือน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.8 โดยไทยมีการนำเข้าจากตลาดเวียดนาม และกัมพูชา (สะสม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4 และ 6.1
จัดทำและเรียบเรียงโดย
ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (งานข้อมูล)
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
25 ธันวาคม 2562