การปล่อยคาร์บอนกำลังลดลงจริงหรือไม่ในอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย
Apparel Impact Institute (Aii) องค์กรไม่แสดงหากำไร ได้เผยแพร่รายงาน Roadmap to Net Zero ของตนที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลของปี 2022 และเน้นว่า ความร่วมมือเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง ในการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
รายงาน Road to Net Zero ที่ปรับปรุงใหม่ของ Aii เน้นความสำคัญของความร่วมมือ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
จากรายงาน Taking Stock of Progress Against the Roadmap to Net Zero (2024) ของ Apparel Impact Institute (Aii) อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายและรองเท้ามีความคืบหน้าไม่มากนัก เช่น
1. การปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย คาดว่ามีประมาณ 0.879 กิกะตัน (Gt) ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ในปี 2022 เทียบกับประมาณร้อยละ 1.85 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปีทั่วโลก
2. จากตัวเลขของรายงาน Taking Stock of Progress Against the Roadmap to Net Zero การปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมดังกล่าว ลดลงร้อยละ 1.17 จากปี 2023
3. บริษัทเครื่องแต่งกาย รองเท้า และสิ่งทอกว่า 500 แห่ง ได้เห็นชอบกับเป้าหมายที่อยู่บนหลักการทางวิทยาศาสตร์และความมุ่งมั่น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีเมื่อเทียบกับบริษัทเพียงไม่กี่แห่ง เมื่อ 2-3 ปีก่อน
4. การแปรรูปวัสดุ (Tier 2) ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสูงสุดที่ร้อยละ 55 ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตามด้วยวัตถุดิบ (Tier 4) ที่ร้อยละ 21 การแปรรูปวัตถุดิบ (ร้อยละ 15) และการประกอบสินค้าขั้นสุดท้าย (ร้อยละ 9)
รายงานยังพบว่า ปัจจุบันบริษัทเครื่องแต่งกายทั่วโลกและห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอน และกำลังลงทุนทั้งในทรัพยากรทางเทคนิคและทางการเงิน เพื่อลดการปล่อยก๊าซดังกล่าว
แต่ถึงแม้จะมีความพยายามข้างต้น รายงานดังกล่าวเน้นความจำเป็นของการลงมือทำ หากตั้งสมมุติฐานถึงการเติบโตปกติของสาขาเครื่องแต่งกาย คาดว่าการปล่อยคาร์บอนจะสูงถึง 1.243 Gt ภายในปี 2030
รายงานยังเตือนว่า การบรรลุการลดการปล่อยก๊าซดังกล่าว จะไม่เกิดขึ้นข้ามคืนและไม่สามารถดำเนินการได้โดยองค์กรเดียว ความร่วมมือเป็นหัวใจของความคืบหน้าสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
คุณ Lewis Perkins ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Apparel Impact Institute ย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายและรองเท้า ท่ามกลางวิกฤติสภาพภูมิอากาศโลก โดยมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกประมาณร้อยละ 1.85 ต่อปี ในปี 2022
คุณ Perkins กล่าวว่า “การพลิกกลับไปสู่ความคืบหน้าในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและต้องมีการรายงานที่ครอบคลุม ความโปร่งใส และความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน ทั้งนี้ รายงานประจำปี Taking Stock of Progress Against the Roadmap to Net Zero ของ Aii ทำให้เราพอมีความหวังเพราะกล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการหลายประการ”
ทั้งนี้ คุณ Perkins เสนอข้อแนะนำให้ใช้โอกาสดังกล่าว ในการเร่งความพยายามมากขึ้น เพื่อลดการดำเนินการของอุตสาหกรรมที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Aii อธิบายว่า รายงาน Roadmap to Net Zero และความคืบหน้าดังกล่าว เป็นข้อมูลความจริงที่โปร่งใสและเชื่อถือได้สำหรับอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อได้อย่างมีประสิทธิผล
รายงานของปีนี้ ตระหนักถึง “ความท้าทายของการลดคาร์บอนที่ดำเนินการอยู่” ที่ประสบโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย เช่น แบรนด์ ผู้ผลิต สถาบันการเงิน และ NGOs โดยเรียกร้องให้มีการดำเนินการร่วมกัน ในการหาทางแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิผล และเร่งรัดการก้าวไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
การเก็บข้อมูลของบริษัท ที่เผยแพร่โดย GlobalData พบว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” มีการกล่าวถึงมากที่สุด ในปี 2022 เป็นจำนวน 164 ครั้ง แต่ลดลงเหลือ 23 ครั้ง ในปี 2024
อย่างไรก็ตาม “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ก็ยังเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด ระหว่างปี 2021 – 2024 ตามด้วย “การปล่อยก๊าซเรือนกระจก” และ “สภาพภูมิอากาศ” ที่แต่ละประเด็น มีการกล่าวถึง 19 ครั้ง
Credit: GlobalData
ถึงแม้รายงานดังกล่าวจะสื่อว่า มีการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยลง แต่ผู้ค้าปลีกในอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายก็ยังคงแข็งขันที่จะดำเนินความพยายามในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของตน เช่น เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา
แบรนด์เครื่องแต่งกายอย่าง Bestseller ของเดนมาร์ก ได้ร่วมกับบริษัท Maersk Eco Delivery ในการร่วมไปกับเรือคอนเทนเนอร์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากเมทานอลเป็นลำแรกและเป็นการออกเรือครั้งแรก ทั้งนี้ Bestseller อธิบายว่า เมทานอลชีวภาพที่ใช้ ได้มาจากขยะชีวมวล ทำให้มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงจากฟอสซิลดั้งเดิม
-------------------------------------------
Source: JustStyle.com
Photo credit: Shutterstock