ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2565
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 595.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 391.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 204.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 402.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 285.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 116.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.8 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 193.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว (สะสม) 2 เดือน (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,135.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออก (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 747.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และ (2) การส่งออก (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 388.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) 2 เดือนของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 903.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 639.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 264.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.9 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้า (สะสม) เกินดุล คิดเป็นมูลค่า 232.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565
การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่าการส่งออก 87.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 และ 47.4
และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 168.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 25.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 22.3 และ 54.1
ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565
การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่าการส่งออก 68.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น บังกลาเทศ และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.8, 116.7 และ 38.9 ตามลำดับ
และภาพรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 134.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 36.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น บังกลาเทศ และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 25.0, 118.7 และ 21.3 ตามลำดับ
ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกุมภาพันธ์ 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565
การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่าการส่งออก 113.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม บังกลาเทศ และเมียนมา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.0, 81.0 และ 191.5 ตามลำดับ
และภาพรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 214.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 21.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ เวียดนาม บังกลาเทศ และเมียนมา ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 30.2, 61.5 และ 5.3 ตามลำดับ
ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกุมภาพันธ์ 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565
การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่าการส่งออก 204.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หากพิจารณาในรายตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2, 5.4 และ 56.1 ตามลำดับ
และภาพรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 388.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 19.3, 2.2 และ 57.4 ตามลำดับ
ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก
เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า มีการปรับตัวลดลงทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) ขณะที่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ผลิตภัณฑ์เส้นด้ายและผ้าผืน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 และ 3.7 แต่ในการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ยังคงมีการปรับตัวลดลง อยู่ที่ร้อยละ 6.7 (YoY) ทั้งนี้เป็นผลจากการบริโภคในประเทศที่ยังคงฟื้นตัวช้า บวกกับกำลังซื้อของกลุ่มผู้บริโภคในประเทศมีจำนวนลดลง เพราะผู่บริโภคส่วนใหญ่ยังคงกังวลต่อรายได้ในอนาคต จึงระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่าการนำเข้า 130.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีนและสหรัฐอเมริกา นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และ 131.9
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 283.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 29.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น นำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 26.7, 60.5 และ 3.9 ตามลำดับ
ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกุมภาพันธ์ 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่าการนำเข้า 155.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าผ้าผืนเพิ่มขึ้น จากตลาดจีนและไต้หวัน นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และ 42.7
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 356.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีนและไต้หวัน นำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 18.8 และ 39.2
ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกุมภาพันธ์ 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่าการนำเข้า 78.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีนและเวียดนาม ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.1 และ 27.3 ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากตลาดอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 163.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีนและเวียดนามเช่นเดียวกัน ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 10.6 และ 11.5 ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากตลาดอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 42.4
ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM)
ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 และ 43.5 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ไปยังตลาดอินโดนีเซียในเดือนนี้ พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.2
ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น บังกลาเทศ และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3, และ 96.6 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้ายไปยังตลาดบังคลาเทศในเดือนนี้ พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.5
ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดเวียดนาม บังกลาเทศ และเมียนมา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.5, 0.1 และ 15.8 ตามลำดับ
และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7, 10.2 และ 25.1 ตามลำดับ
ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)
และมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมมูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลงในทุกผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีนและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 23.7 และ 2.9
ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีน ไต้หวัน และเวียดนาม ลดลงร้อยละ 31.0, 8.6 และ 28.2 ตามลำดับ
และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีน อิตาลี และเวียดนาม ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.3, 4.1 และ 16.5 ตามลำดับ
ภาพที่ 13 สรุปภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ (5 อันดับแรก) เดือนกุมภาพันธ์ 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565
สรุปภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่า 595.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ ใน 5 อันดับแรก จัดเรียงตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6, 8.9, 25.1 และ 32.6 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีนในเดือนนี้ (กุมภาพันธ์ 2565) ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.5 ขณะที่ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 2 เดือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาด 5 อันดับแรกที่ร้อยละ 21.2, 15.5, 33.3, 3.8 และ 30.9
ภาพรวมธุรกิจแฟชั่น ในปี 2022 (ปี พ.ศ.2565)
ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทาย (การหยุดชะงักงันของ supply chain และอุปสงค์ความต้องการที่ไม่สม่ำเสมอ ตลอดจนปัจจัยแรงกดดันอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง) เนื่องจากธุรกิจแฟชั่นส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาในเรื่องของการทำกำไร
- - - ภาพรวมรายได้ของธุรกิจแฟชั่น พบว่า มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 20 ในปี 2020 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 สาเหตุจาก EBITDA มีการปรับตัวลดลงสูงถึงร้อยละ 6.8
เทรนด์ ‘Digital’ กลายเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค และมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาด Covid-19
‘การสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจที่สอดรับกับสิ่งแวดล้อม’ และการมุ่งตอบสนองที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
ดังนั้น การฟื้นตัวของธุรกิจแฟชั่นทั่วโลก ในปี 2022 คาดการณ์ว่า จะเป็นผลจากการฟื้นตัวของประเทศหรือตลาดหลักที่สำคัญ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและจีน ขณะที่การฟื้นตัวของประเทศในกลุ่มยุโรป คาดว่าจะขึ้นอยู่กับภาคการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ
-------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง :
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
The State of Fashion 2022, BoF McKinsey & Company
-------------------------------------------------
จัดทำและเรียบเรียงโดย
ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม)
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
11 เมษายน 2565