หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมีนาคม 2565

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมีนาคม 2565

กลับหน้าหลัก
12.05.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 17277

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมีนาคม 2565 

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนมีนาคม 2565 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 648.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 435.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 213.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 483.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 353.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 130.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.3 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 165.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

และภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว (สะสม) ณ ไตรมาส 1 ปี 2565 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2565) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,784.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออก (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,182.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 และ (2) การส่งออก (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 601.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) ณ ไตรมาส 1/2565 ของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 1,373.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 992.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 381.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.0 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้า (สะสม) เกินดุล คิดเป็นมูลค่า 410.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก 

เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมีนาคม 2565 พบว่า ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนมีนาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2565

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า ในเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่าการส่งออก 94.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.9

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ (สะสม) ณ ไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 263.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 และ 32.4 

ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนมีนาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2565

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่าการส่งออก 72.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น โคลัมเบีย และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6, 148.5 และ 12.1 ตามลำดับ

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) ณ ไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 206.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น บังกลาเทศ และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4, 99.1 และ 18.3 ตามลำดับ

ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนมีนาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2565

การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า ในเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่าการส่งออก 131.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4, 51.8 และ 178.1 ตามลำดับ

และการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) ณ ไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 345.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกเช่นเดียวกัน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และบังกลาเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9, 31.4 และ 53.1 ตามลำดับ 

ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนมีนาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2565

การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า ในเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่าการส่งออก 213.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และ 5.3 

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ณ ไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 601.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 และตลาดญี่ปุ่น ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 3.4 

ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก

เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมีนาคม 2565 พบว่า ผลิตภัณฑ์เส้นด้ายและผ้าผืน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)  

ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่ง่ห่มในเดือนมีนาคม 2565 พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 3.1 เป็นผลสืบเนื่องจากการบริโภคในประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวในประเทศที่ยังคงฟื้นตัวช้า ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นกลุ่มบริโภคเครื่องนุ่งห่มหลักยังมีจำนวนไม่มากนัก บวกกับกำลังซื้อของกลุ่มผู้บริโภคในประเทศมีจำนวนลดลง เพราะผู่บริโภคส่วนใหญ่ยังคงกังวลต่อรายได้ในอนาคต จึงระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6

ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนมีนาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2565

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่าการนำเข้า 167.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากตลาดนำเข้าใน 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9, 0.3 และ 30.8 ตามลำดับ

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) ณ ไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 450.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรกเช่นเดียวกัน ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1, 29.3 และ 28.4 ตามลำดับ

ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนมีนาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2565

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า ในเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่าการนำเข้า 186.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าผ้าผืนเพิ่มขึ้น จากตลาดจีน ไต้หวัน และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7, 55.6 และ 10.9 ตามลำดับ

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) ณ ไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 542.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรกเช่นเดียวกัน ได้แก่ จีน ไต้หวัน และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5, 45.0 และ 0.8 ตามลำดับ

ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนมีนาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2565

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า ในเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่าการนำเข้า 86.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีน ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.6 ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากตลาดเวียดนามและอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และ 24.0

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ณ ไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 250.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีนและเวียดนาม ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.1 และ 7.0 ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากตลาดอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3

ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนธันวาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ 

ผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และ 14.4 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ไปยังตลาดอินโดนีเซียในเดือนนี้  พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.3

ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น โคลัมเบีย และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5, 39.6 และ 1.5 ตามลำดับ

ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดเวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7, 61.7 และ 15.2 ตามลำดับ

และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นและเบลเยียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 และ 34.8 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหัฐอเมริกาในเดือนนี้ พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.4

ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)

และมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมีนาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าจากตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2, 13.5 และ 50.8 ตามลำดับ

ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าจากตลาดจีน ไต้หวัน และเวียดนาม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7, 36.9 และ 49.3 ตามลำดับ

และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดเวียดนามและอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.7 และ 27.4 

ภาพที่ 13 สรุปภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ (5 อันดับแรก) เดือนมีนาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2565

สรุปภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่า 648.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ ใน 5 อันดับแรก จัดเรียงตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1, 13.9, 4.5 และ 19.7 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีนในเดือนนี้ (มีนาคม 2565) ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.4 ขณะที่ภาพรวม ณ ไตรมาส 1 ปี 2565 ของการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยัง 5 ตลาดดังกล่าว พบว่า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดจีนที่ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 9.1 

คาดการณ์ประเด็นสำคัญของธุรกิจแฟชั่น ในปี 2022

ในปี 2022 คาดการณ์ว่า ปริมาณความต้องการสำหรับการบริโภคสินค้าแฟชั่นน่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยมาจากมาตรการต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมถูกผ่อนคลายเพิ่มมากขึ้น (หลังจากการแพร่ระบาดอย่างยาวนานและต่อเนื่องมา 2 ปี)

ทั้งนี้ยังคงมีปัจจัยหรือข้อจำกัดที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของธุรกิจแฟชั่น ในปี 2022 นั่นคือ การขาดแคลนวัตถุดิบ บวกกับ ต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาตู้คอนเทรนเนอร์และค่าระวางเรือมาตั้งแต่ปี 2021

รูปแบบการดำเนินธุรกิจออนไลน์ จะยังคงได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจแฟชั่นในปีนี้ (ปี 2022) ต่อเนื่องด้วยเช่นเดียวกัน โดยอาจขยายไปสู่รูปแบบ Metaverse เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมบนโลกดิจิทัลในขณะนี้ ซึ่งอาจถูกออกแบบมาในรูปแบบร้านค้าเสมือนจริง หรือ online shopping และ/หรือ Digital workplace ต่าง ๆ

Product Passport จะเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญในมุมมองของผู้บริโภค ในปี 2022 เกี่ยวกับประเด็นความต้องการที่อยากทราบถึงแหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ในการผลิตและการคงอยู่ตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์ นับตั้งแต่การผลิต การขาย การใช้งาน ไปจนถึงการรีไซเคิล และรวมถึงผู้เกี่ยวข้องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และทราบถึงองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์และแนวทางการจัดการที่ถูกต้องเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นชำรุด เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุการใช้งาน รวมถึงฝั่งผู้บริโภคข้อมูลจะทำให้ทราบถึงความปลอดภัย ซ่อมแซมหรือรีไซเคิลได้หรือไม่เช่นกัน

ในปี 2022 คาดว่าจะเห็น แบรนด์แฟชั่นหลากหลายแบรนด์ต่างมุ่งลงทุน digital applications เพิ่มมากขึ้น โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อปกป้องการดำเนินธุรกิจให้ก้าวผ่านกระแส disruption ต่าง ๆ ทั้งยังรักษากลุ่มลูกค้าหลักที่สำคัญของธุรกิจไว้ด้วยเช่นกัน

และการมุ่งสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจที่เป็นองค์รวม ทั้งการรักษาระบบการค้า ลูกค้า และการดึงดูดรักษาพนักงานไว้ เนื่องจากในธุรกิจอื่น ๆ มีการแข่งขันเป็นอย่างมากในด้านเงินเดือน ค่าตอบแทน ความยั่งยืนและความมั่นคงในการทำงาน แน่นอนว่า ความถูกต้องและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานจะมีความสำคัญและเด่นชัดเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคย

-------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : 

        ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

        The State of Fashion 2022, BoF McKinsey & Company 

-------------------------------------------------

จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

12 พฤษภาคม 2565

 
 

นำเข้าส่งออกสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, Import, Export, Textile, Clothing, ปี 2565, เดือนมีนาคม, ไตรมาส 1/2565, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'65