หน้าแรก / THTI Insight / ข่าวรายวัน / ฉลากสิ่งแวดล้อม (ECO LABELLING)

ฉลากสิ่งแวดล้อม (ECO LABELLING)

กลับหน้าหลัก
08.05.2561 | จำนวนผู้เข้าชม 50110

ฉลากสิ่งแวดล้อม (ECO LABELLING)

            “ฉลากสิ่งแวดล้อม” เป็นกลไกการสื่อสารและบ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภครับทราบ เป็นฉลากที่มอบให้แก่ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นเน้นคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม และสามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการบริโภคทรัพยากรของตน ในขณะที่ผู้ผลิตก็จะได้รับผลประโยชน์ในแง่กำไร จากการลดต้นทุนที่เกิดจากการลดทรัพยากร พลังงาน และของเสีย ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ โดยฉลากสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ     
            ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ( ISO14024)เป็นฉลากที่บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดโดยองค์กรอิสระที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Third party) โดยจะพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบใช้วิธีพิจารณาแบบตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Consideration) ในประเทศไทยมีการออกฉลากประเภทที่ 1 ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “ฉลากเขียว” ซึ่งปัจจุบันมีการออกข้อกำหนดผลิตภัณฑ์กว่า 39 ชนิด

            ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 ( ISO14021)เป็นฉลากที่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือ ผู้ส่งออก จะเป็นผู้บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือแสดงค่าทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตนเอง (Self-declared Environmental Claims)  ซึ่งอาจจะแสดงในรูปของข้อความ หรือสัญลักษณ์ รูปภาพ เช่น การใช้พลังงานอย่างประหยัด การนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น โดยฉลากนี้ จะไม่มีองค์กรกลางในการดูแล แต่ทางผู้ผลิต จะต้องสามารถหาหลักฐานมาแสดงเมื่อมีคนสอบถาม ดังนั้น ฉลากประเภทนี้ผู้ผลิตสามารถทำการศึกษาหรือประเมินผลได้ด้วยตนเอง

            ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 ( ISO14025)เป็นฉลากที่บ่งบอกถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการแสดงข้อมูลสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Environmental information) โดยการใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Assessment) เข้ามาประเมิน ตามมาตรฐาน ISO 14040 โดยฉลากนี้ จะมีหน่วยงานอิสระ หรือองค์กรกลางในการทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะประกาศลงกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต่อไป•

            ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1  ของประเทศไทย หรือรู้จักกันในนาม “ฉลากเขียว”เป็นกลไกหลักที่จะส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงประสบปัญหาด้านความหลากหลายของสินค้าและบริการที่ผ่านการรับรองซึ่งยังมีอยู่ไม่มากในตลาด มีกระบวนการดำเนินงานที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว การพัฒนาระบบและกลไกฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 จึงเป็นแนวทางที่จำเป็นเพื่อเป็นการสร้างทางเลือก และ ขยายผลในการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  

[คัดลอกจาก http://www.thaiecoproduct.com/index.php/knowledge2/15-knowledge-eco-label.html]
ลิงก์บทความ ฉลากสิ่งแวดล้อมกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ

 

ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวกับสิ่งทอไทย

         ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่อยู่ในข้อกำหนดของฉลากเขียว คือ “ผ้าและผลิตภัณฑ์ทำจากผ้า” ซึ่งมีขอบข่ายของผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่สามารถขอการรับรองได้ คือ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป และเคหะสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ที่จะยื่นขอการรับรองจะต้องมีสมบัติตามข้อกำหนดฉลากเขียว คือ

            1. ข้อกำหนดทั่วไป ซึ่งจะอ้างอิงไปถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 มาตรฐาน คือ

                        มอก. 2231- ผ้า: ความปลอดภัยจากสีและสารเคมีที่เป็นอันตราย       
                        มอก. 2435– ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเด็ก
                        มอก. 2346- เสื้อผ้าสำเร็จรูป: ความปลอดภัยจากสีและสารเคมีที่เป็นอันตราย
            2. กระบวนการผลิต การขนส่ง และการกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิตต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของราชการ เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน อุตสาหกรรม
            3. ข้อกำหนดพิเศษ ซึ่งจะเพิ่มเติมจากข้อกำหนดทั่วไป เช่น ห้ามใช้สารทาเลต (Phthalate compounds) ในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเด็ก เป็นต้น

หลักเกณฑ์ในการขอปิดฉลาก ECO LABEL สำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
            1. หลักเกณฑ์เส้นใยสิ่งทอ (Textile Fibre Criteria) มี 9 หัวข้อ ได้แก่ (1) อคริลิก (2) ฝ้ายและเส้นใยจากเมล็ดอื่นรวมถึงนุ่น (3) อิลาสเซน (4) ป่านลินินและเส้นใยจากเลือกไม้ รวมทั้งใยกัญชา ปอ ป่านรามี (5) ขนสัตว์เป็นมันลื่นและเส้นใยจเคราทีน รวมทั้งขนสัตว์จากแกะ อูฐ ลามะ และแพะ (6) เส้นใยสังเคราะห์/ ประดิษฐ์โดยมนุษย์ รวมทั้ง vicose, lyocell, acetate, cupro, triacetate (7) โพลียาไมด์ (8) โพลีเอสเตอร์ (9) โพลีโพรไพลีน
            2. หลักเกณฑ์ขั้นตอนและการใช้สารเคมี (Processes and Chemicals Criteria) มี 24 หัวข้อ ประกอบด้วย (1) สีย้อมและสารช่วยฟอกย้อมเส้นใยและด้าย (2) ผลิตภัณฑ์กันและฆ่าเชื้อรา (3) สารกัดลอกสี (4) ห้ามใช้สารประกอบซีเรียมในการชั่งน้ำหนัก (5) สารเคมีและส่วนผสมต้องห้าม (6) สารเอเจนต์ในการซัก ปรับผ้านุ่ม และสารเชิงซ้อน (7) สารฟอกขาว (8) สารเจือปนในสีย้อม (9) สารเจือปนในพิกเมนต์ (10) กระบวนการย้อมสีโครมหรือสีมอร์แดนท์ (11) สีย้อมมีองค์ประกอบโลหะ (12) Azo Dyes (13) สีย้อมซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง (14) สีย้อมไวแสง (15) Halogenated carriers for polyester (16) การพิมพ์ (17) สารฟอร์มาลดีฮายด์ (18) การปล่อยน้ำเสีย (19) สารหน่วงการติดไฟ (20) Anti felting finishes (21) Fabrics Finishes (22) วัสดุยัดไส้ใน (23) การเคลือบวัสดุกันซึม (24) ข้อมูลการใช้พลังงานและน้ำของโรงงานผลิต
            3. หลักเกณฑ์ความเหมาะสมกับการใช้งาน (Fitness for Use Criteria) มี 7 หัวข้อ คือ (1) มิติความเปลี่ยนแปลงระหว่างการซักและอบแห้ง (2) ระดับความคงทนของสีเมื่อซัก (3) ระดับความคงทนของสีเมื่อซับเหงื่อที่เป็นกรดหรือด่าง (4) ระดับความคงทนของสีในการขัดถูเปียก (5) ระดับความคงทนของสีในการขัดถูแห้ง (6) ระดับความคงทนของสีต่อแสงสว่าง (7) ข้อมูลปรากฏบนฉลาก ECO LABEL ไทยส่งออกสินค้าสิ่งทอไปอียูเฉลี่ยมูลค่า 48,765 ล้านบาท (2549-2551) โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยส่งออก 21,195 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2551 คิดเป็นร้อยละ 6 การปิดฉลาก ECO LABEL บนผลิตภัณฑ์สิ่งทอถือเป็นการสร้างคุณค่าในตัวสินค้า เนื่องจากเป็นการรับรองว่าตลอดกระบวนการผลิตสินค้าไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม


ที่มา
            1.ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวกับสิ่งทอ http://www.activeteam1999.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=41014&Ntype=2
            2.http://www.thethaiprinter.com/knowledge.asp?newsID=539

 

สิ่งทอ,สิ่งทอ