นิเวศวิทยา > ฉลากสิ่งแวดล้อม (ECO LABELLING) > Carbon Footprint Labels ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์
Carbon Footprint คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นสวน การใช้งาน และการจัดการชื้นส่วนสิ่งเหลือหลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ซึ่งคิดออกมาเป็นเทียบเท่ากับศักยภาพที่ทาให้โลกร้อนเท่ากับปริมาณกี่เท่าของ CO2 ยังมีก๊าซเรือนกระจก 6 ชนิดที่ประเมินภายใต้พิธีสารเกียวโต ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O), ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs), และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6)
อย่างไรก็ตามการติดฉลาก Carbon Footprint เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ถือว่าเป็น CSR อย่างหนึ่ง ที่บอกว่าจากผลิตภัณฑ์นี้ได้ปล่อย CO2 ออกมาปริมาณเท่าไร แต่ไม่ได้บอกว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยฉลากคาร์บอนฟุตปริ๊นท์ของไทย จัดทำหลักเกณฑ์โดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environmental Institute) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thailand Greenhouse gas Organization) ได้ร่วมกันจัดทำโครงการฉลากคาร์บอนขึ้นในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งในประเทศไทยแบ่งฉลากคาร์บอนออกเป็น 2 ประเภท คือ
ฉลากแบบที่ 1 พิจารณาการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Cradle to Grave) ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนกระทั่งการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งการดาเนินงานจะใช้เวลาค่อนข้างมากเนื่องจากมีกระบวนการประเมินซับซ้อน
ฉลากแบบที่ 2 พิจารณาการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยพิจารณาเฉพาะก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต (Production stages) เท่านั้น (Gate to gate) ซึ่งวิธีนี้ใช้เวลาในการดำเนินงานน้อยกว่าแบบแรก ฉลากคาร์บอนแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้าหรือบริการนี้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง ค่อนข้างสูง ปานกลาง ค่อนข้างต่า หรือ ต่า โดยแสดงผลเป็น 5 ระดับ ด้วยหมายเลข 1-5 สินค้าที่ได้ฉลากคาร์บอนเบอร์ 5 คือ สินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศน้อยที่สุดและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ หรือหมายความว่าสินค้าหรือบริการนั้นมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้ ซึ่งระบบฉลากคาร์บอนนี้มีความคล้ายคลึงกับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของกระทรวงพลังงาน
ที่มา : http://www.environnet.in.th/2014/?p=5640
การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้พลังงานในงานเกษตรกรรม การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่นๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดในการสร้างสังคม “คาร์บอนต่ำ” (Low-carbon Society) ที่มีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ
(1) Carbon Minimization เป็นสังคมที่มีกระบวนการหรือกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง
(2) Simpler and Richer กิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกสามารถกระทำได้ง่ายในชีวิตประจำวันและสร้างรายได้ให้แก่สังคม และ
(3) Co-Existing with Nature เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องไปกับสภาพแวดล้อมและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และจากแนวคิดดังกล่าวได้นำไปสู่การจัดการระดับพื้นที่ (Area-based) หรือที่เรียกว่าเมืองลดคาร์บอน (Low-carbon City) กล่าวคือ เป็นการจัดการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเมืองใดเมืองหนึ่งจากฐานเดิมที่ไม่เคยมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก่อน การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรทั่วไปที่ไม่จำกัดขนาดหรือลักษณะของกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นองค์กรของเอกชน องค์กรของรัฐ หรือที่เรียกว่าองค์กรซีเอฟโอ (Carbon Footprint for Organization: CFO) เป็นวิธีการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กรและคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับเมือง ระดับโรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในประเทศไทยยังมีน้อยมาก เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และไม่ทราบเทคนิคและวิธีการคำนวณ และไม่เคยมีการดำเนินการในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาก่อน ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านนี้ได้แก่ บริษัทเอกชนด้านการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ทางด้านการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร บริษัท อีโค ดีซายน์คอนซัลแตนท์ จำกัด www.ecodesignconsult.com บริษัทผู้ตรวจรับรอง http://www.th.sgs.com http://www.lr.org/default.aspx หน่วยงานรัฐสนับสนุน http://www.tgo.or.th
ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรได้มาอย่างไร?
การวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการคำนวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก แบ่งเป็น Scope ดังนี้
Scope I: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การใช้ LPG และเชื้อเพลิงอื่นๆ ในห้อง Lab การใช้สารเคมีต่างๆ อาทิ สารทำความเย็น สารในห้องปฏิบัติการ สารเคมีในระบบบำบัดน้ำเสีย หรือการขนส่งโดยพาหนะขององค์กร เป็นต้น
Scope II: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การใช้กระแสไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตเอง
Scope III: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ (Other Indirect Emissions) เช่น การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หรือการใช้น้ำ เป็นต้น
การประเมิน CFO สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางบริหารจัดการลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับองค์กร รวมทั้งแสดงถึงภาพลักษณ์องค์กรที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศด้วย
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) “Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “TGO” เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้ง ติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และการตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับคำรับรอง และการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/)
ข้อกำหนดเฉพาะของกลุ่มผลิตภัณฑ์
(1) เครื่องนุ่งห่มที่ทำจากสิ่งทอ ดาวน์โหลดได้ที่ http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/tools/files.php?mod=cnVsZXM=&type=X0ZJTEVT&files=MTc5
(2) สิ่งทอที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่ม ดาวน์โหลดได้ที่ http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/tools/files.php?mod=cnVsZXM=&type=X0ZJTEVT&files=MTc4
(3) เส้นด้ายและผ้าผืนดาวน์โหลดได้ที่ http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/tools/files.php?mod=cnVsZXM=&type=X0ZJTEVT&files=MTc3
|
ลิงก์ เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร Carbon Footprint for Organization (CFO) Calculator
ลิงก์บทความ ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้น ศูนย์วิเคราะห์และทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ที่มา
1.Carbon Footprint Labels http://www.environnet.in.th/2014/?p=5640
2.การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร http://carbonfootprintthailand.blogspot.com/2011/09/blog-post_3526.html
3.คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร คืออะไร? http://www.nstda.or.th/news/6394-nstda-awarded-with-certificate-for-cfo-project-as-pilot-organization-to-reduce-co2-emission
4.http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/