หน้าแรก / THTI Activities / ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสถาบันฯสิ่งทอ และ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดลำพูน

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสถาบันฯสิ่งทอ และ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดลำพูน

12.12.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 440

ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ศิรินันท์ ขึ้นเหนือผลักดันหัตถอุตสาหกรรมสิ่งทอลำพูนเป็น Soft Power สู่สากล
 
จ.ลำพูน 12 ธันวาคม 2566 - นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นางจันทนา ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และนายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์การทอผ้าไหมลำพูน ผู้ประกอบการทอผ้าไหมลำพูน และกลุ่มผู้ประกอบการคลัสเตอร์ผ้าทอ ECO จังหวัดลำพูน เพื่อร่วมหาแนวทางผลักดันหัตถอุตสาหกรรมสิ่งทอลำพูนเป็น Soft Power สู่สากล
 
การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ศิรินันท์ ได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์การทอผ้าไหมลำพูน พร้อมชมแปลงหม่อนและโรงเลี้ยงหม่อนไหม การสาธิตปั่นเส้นด้ายไหม การย้อมสีธรรมชาติและโรงทอผ้า และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ณ พิพิธภัณฑ์ผ้าไหมยกดอก ต่อด้วยการเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมยกดอกลำพูนและพบปะกลุ่มผู้ทอผ้าชุมชนบ้านเวียงยอง ณ ร้านดารณีไหมไทย ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเหรียญทองประเภทผ้าไหมยกใหญ่ จากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จากการประกวดลายผ้าพระราชทานผ้าลายดอกรักราชกัญญา ประจำปี 2566 จากนั้นได้พบปะคลัสเตอร์ผ้าทอ ECO จังหวัดลำพูน รวมถึงได้ชมการนำเสนอผลการเรียนการสอนหลักสูตรด้านแฟชั่นสิ่งทอจากวิทยาลัยการอาชีพป่าซาง และผลงานการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดแฟชั่นจาก Young Designer พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผ้าทอจังหวัดลำพูน ณ ร้านม่านไหมไชยเรืองศรี โดยได้ชมจุดเรียนรู้ต้นกำเนิดของความเป็นไหมไทย ตั้งแต่แปลงหม่อน และโรงเลี้ยงหม่อนไหม การย้อมผ้าสีธรรมชาติ ไปจนถึงการทอผ้าไหม 
 
ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ศิรินันท์ ได้เน้นย้ำการยกระดับคุณภาพ โดยมอบหมายให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอต่อยอดการให้ความรู้ ทดสอบด้านเส้นใย และนำผลิตภัณฑ์ผ้าทอลำพูนสู่การรับรองมาตรฐาน Thailand Textiles Tax โดยนำเอานวัตกรรม และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการย้อมสีธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ทั้งนี้ ในด้านการออกแบบลวดลายผ้าทอ ควรมีการออกแบบสร้างลวดลายผ้าทอให้คงความเป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่น มีความงดงามร่วมสมัย ซึ่งจะสามารถผลักดันสู่การเป็น Soft Powe

สิ่งทอ,สิ่งทอ,ลำพูน,