ค้นหา
กรุณา พิมพ์สิ่งที่ท่านต้องการค้นหาที่นี่ค่ะ
ค้นหา
ปิด
TH
บริการ THTI
วิเคราะห์ทดสอบ
ฝึกอบรม
วิจัยพัฒนาเชิงพาณิชย์
ข้อมูลดิจิตอล
งานจัดแสดงสินค้า
โปรโมชั่นบริการ
นวัตกรรม
All
ECO Textile
Protective Textile
Medical Textile
Sportswear
THTI Activities
THTI Insight
วารสาร
องค์ความรู้
เทคโนโลยีสิ่งทอ
ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม
ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก
ข่าวรายวัน
เกี่ยวกับ THTI
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ความเป็นมา
แผนผังองค์กร
ผู้บริหารสถาบัน
คณะกรรมการสถาบัน
ผลงานสถาบันฯ
สมาคมการค้า
พันธมิตร
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
ประกาศ จัดซื้อ-จัดจ้าง
หน้าแรก
/
THTI Activities
/
สถาบันฯสิ่งทอเปิดตัวผู้ประกอบการ 9 รายแรกของไทย ได้ฉลาก Smart Fabric หน้ากากผ้า พร้อมเดินหน้าเพิ่มศักยภาพศูนย์วิเคราะห์ทดสอบรองรับ Medical Hub อาเซียน
สถาบันฯสิ่งทอเปิดตัวผู้ประกอบการ 9 รายแรกของไทย ได้ฉลาก Smart Fabric หน้ากากผ้า พร้อมเดินหน้าเพิ่มศักยภาพศูนย์วิเคราะห์ทดสอบรองรับ Medical Hub อาเซียน
04.06.2563 |
จำนวนผู้เข้าชม 3743
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดตัว 9 ผู้ประกอบการ 10 โครงสร้างผ้า ผ่านการทดสอบฉลากคุณภาพหน้ากากผ้า
Smart Fabricเร่งสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค พร้อมขยายศักยภาพด้านการวิเคราะห์ทดสอบ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในวิถีชีวิตแบบใหม่ New normalและรองรับ Medical Hub อาเซียน
(
4มิ.ย.63) ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
เปิดเผยว่า สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ดำเนินงานการพัฒนา ฉลากคุณภาพสิ่งทอไทย Smart fabric หน้ากากผ้า ในช่วงสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 (เมษายน – พฤษภาคม 2563) มีผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม และกลุ่ม SMEs ให้ความสนใจส่งผ้าเข้าทดสอบเป็นจำนวนรวมกว่า 60 ราย เนื่องจากเห็นถึงความสำคัญ ความจำเป็นและความต้องการใช้หน้ากากผ้าของผู้บริโภคที่มากขึ้น โดยเฉพาะหน้ากากผ้าที่มีคุณภาพสามารถตรวจสอบแหล่งผลิตได้ ซึ่งถือเป็นความท้าทายเปลี่ยนวิกฤตสถานการณ์ดังกล่าว ให้เป็นโอกาสทางการตลาดของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ และการปรับตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับวิถีชีวิตแบบใหม่ New normal โดยผลปรากฏว่า มีผู้ประกอบการผ่านการทดสอบจำนวน 9 ราย รวม 10 โครงสร้างผ้า พร้อมส่งผลสรุปเพื่อขออนุมัติความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารเครื่องหมายคุณภาพสิ่งทอไทย โดยอนุญาตให้ใช้ ตราสัญลักษณ์ Smart fabric หน้ากากผ้าได้ ประกอบไปด้วย
1.บริษัท อินเนอซิส จำกัด
ชื่อรุ่น Air Protex
2.บริษัท เช็พเอิด จำกัด
ชื่อรุ่น MEDMASK
3.บริษัท วาย.อาร์.ซี.เท็กซ์ไทล์ จำกัด
1) PRO FABRIC และ 2) PRO+ FABRIC
4.บริษัท พาลาดิน เวิร์คแวร์ จำกัด
ชื่อรุ่น หน้ากากผ้าซักได้ BLUE BEARรุ่น 3D BAMBOO PERMA
5.บริษัท สิ่งทอซาติน จำกัด
ชื่อรุ่น ICECUBE
6.บริษัท อจินไตย จำกัด
ชื่อรุ่น HUKS CLOTH MASK
7.บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด
ชื่อรุ่น FACE MASK
8.บริษัท แอลฟ่า โปรเซสซิ่ง จำกัด (2 โครงสร้างผ้า)
ชื่อรุ่น 1) MEECA TECHNO MASK 3D PLUSFILTER 2) MEECA TECHNO MASK 3D
9.บริษัท โอเรียนตอล การ์เมนท์ จำกัด
ชื่อรุ่น 1) EASY MASKและ 2) SMART MASK
สำหรับคุณสมบัติของหน้ากากผ้า
Smart fabricคือ สามารถซัก และใช้ซ้ำได้ มีประสิทธิภาพในการคัดกรองและ ป้องกัน ฝุ่น ละอองไอจาม สารคัดหลั่ง ขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน สวมใส่สบายหายใจได้ ปราศจากสารเคมีตกค้างและสารก่อมะเร็ง และหากเสริมด้วยคุณสมบัติพิเศษสะท้อนน้ำ ก็จะสร้างความมั่นใจอีกขั้นหนึ่งของการสวมใส่
ทั้งนี้ โดยในช่วงระหว่างการดำเนินงาน พบว่ามีการทดสอบบางหัวข้อต้องส่งไปทดสอบยังต่างประเทศ เพื่อให้ผลลัพธ์มีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากที่สุด ประกอบกับเครื่องมือการทดสอบในประเทศไม่เพียงพอสถาบันฯ สิ่งทอ จึงได้เสนอเรื่องเพื่อขออนุมัติงบลงทุนเพิ่มจาก คณะกรรมการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในการจัดหาเครื่องมือเพื่อให้การบริการทดสอบขยายขอบข่ายมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาสิ่งทอสถานพยาบาล สำหรับผู้ประกอบการสิ่งทอ และบุคลากรทางการแพทย์สามารถจัดหาอุปกรณ์ป้องกันได้ภายในประเทศ ประกอบไปด้วย
1. เครื่องทดสอบประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรียของหน้ากากอนามัย(Bacterial & Viral Fitration Efficiency : BFE / VFE)
2. เครื่องทดสอบประสิทธิภาพการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กของหน้ากากอนามัย (Partical Fitration Efficiency : PFE)
3. เครื่องทดสอบการผ่านได้ของเลือดสังเคราะห์ (Synthetic Blood Penetration for liquid Barriers)
4. เครื่องทดสอบการหายใจได้ของหน้ากาก (Differential pressur)
5. เครื่องทดสอบการผ่านได้ของเลือดสังเคราะห์และไวรัสของชุดป้องกันทางการแพทย์ (Synthetic blood Penetration and Viral Penetration)
การขยายขอบข่ายดังกล่าวจะนำมาซึ่งการรับรองมาตรฐานที่เพิ่มมากขึ้น สร้างโอกาสเติบโตให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ให้สามารถเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอในมิติ เพื่อการปกป้อง การดูแลสุขภาพ หรือสิ่งทอทางการแพทย์ รองรับอุตสาหกรรม New S curve และรองรับ ไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตในวิถีแบบใหม่ (New normal) ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยคนไทย ลดการนำเข้า พร้อมผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิต และ Medical Hub ของอาเซียน
หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจทดสอบผลิตภัณฑ์ และหน้ากากผ้า Smart fabric สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร. 0 2713 5492 – 9 ต่อ 512-4 , 712 หรือดูรายละเอียดได้ที่
www.thaitextile.org/smartfabric
facebook : Thailand Textile Institute
Print this
สิ่งทอ,smart fabric,สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ,New normal
สสว.เสริมแกร่งผู้ประกอบการธุรกิจสิ่งทอทุกระดับ ดัน 4 โครงการเดินหน้าฝ่าโควิด-19 มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ยกระดับรองรับวิถีชีวิตแบบใหม่ New normal
ย้อนกลับ
สถาบันฯสิ่งทอ ให้การต้อนรับ ประธานคณะกรรมการวิสามัญ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในโอกาสเยี่ยมชมสถาบันฯ
ถัดไป
THTI Activities
โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับผู้ประกอบการประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ปีงบประมาณ 2567 (INNO LANNA TEXTILE 2024)
ขอเชิญเข้าร่วม งานฤดูหนาว นางสาวเชียงใหม่ และ งาน OTOP ของดีเมืองเชียงใหม่ ประจำปี 2568
ดีพร้อม ชวนช้อป ชม แชร์ ในงาน SHOW POW
บพข.ร่วมกับสถาบันสิ่งทอ หนุนบริษัทโกลแฟ็บจำกัด ผู้ประกอบการ SME พัฒนาชุดดับเพลิงคุณภาพสูงสนับสนุนฮีโร่ผู้กล้าทั่วประเทศ
สถาบันฯสิ่งทอ ร่วมงานกาชาดปี 2567
เตรียมช้อปสนั่น ฉลองเทศกาลแห่งความสุขในงาน SHOW POW พบทัพสินค้าแฟชั่นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย งาน Craft ผลิตภัณฑ์ความงาม และอัญมณีและเครื่องประดับ แบรนด์ไทยสุดปังกับดีลสุดพิเศษกว่า 100 ราย ในโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์แฟชั่นไทยสู่สากล