โครงการพัฒนาสินค้าผ้าไทยสู่ตลาดโลกด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ค้นหา
กรุณา พิมพ์สิ่งที่ท่านต้องการค้นหาที่นี่ค่ะ
ค้นหา
ปิด
TH
บริการ THTI
วิเคราะห์ทดสอบ
ฝึกอบรม
วิจัยพัฒนาเชิงพาณิชย์
ข้อมูลดิจิตอล
งานจัดแสดงสินค้า
โปรโมชั่นบริการ
นวัตกรรม
All
ECO Textile
Protective Textile
Medical Textile
Sportswear
THTI Activities
THTI Insight
วารสาร
องค์ความรู้
เทคโนโลยีสิ่งทอ
ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม
ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก
ข่าวรายวัน
เกี่ยวกับ THTI
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ความเป็นมา
แผนผังองค์กร
ผู้บริหารสถาบัน
คณะกรรมการสถาบัน
ผลงานสถาบันฯ
สมาคมการค้า
พันธมิตร
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
ประกาศ จัดซื้อ-จัดจ้าง
หน้าแรก
/
บริการ THTI
/
ฝึกอบรม
/
โครงการพัฒนาสินค้าผ้าไทยสู่ตลาดโลกด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
โครงการพัฒนาสินค้าผ้าไทยสู่ตลาดโลกด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
29.10.2563 |
จำนวนผู้เข้าชม 6857
โครงการพัฒนาสินค้าผ้าไทยสู่ตลาดโลกด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
โดยสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ได้นำนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยคือ BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ในการนำประเทศไทยเข้าสู่ Thailand 4.0 เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม แฟชั่นไลฟ์สไตล์ นำไปสู่การขยายช่องทางการตลาดระดับโลก ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักที่สำคัญของไทยและให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เป็นต้น โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นที่ปรึกษาและดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ในกิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการเชิงลึกรายบริษัท มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 13 กิจการ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องวัตถุดิบ กระบวนการผลิตและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ที่ปรึกษาด้านการออกแบบได้ให้คำแนะนำและร่วมกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบตามความถนัดของแต่ละกิจการ ทำให้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีความหลายหลายและน่าสนใจแตกต่างกันไป
Circular Economy
Circular Economy เป็นระบบเศรษฐกิจแบบปิด โดยมีแนวคิดในการจัดการทรัพยากรให้เกิดการหมุนเวียนในระบบ นำเอาของที่ใช้แล้วเวียนกลับมาเป็นวัตถุดิบ (Re-material)ทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ (Make Use Return) เพื่อเป็นการลดการใช้ทรัพยากรที่กำลังหมดไป และไม่ต้องกำจัดขยะที่กำลังเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
กระบวนการดำเนินงานในการพัฒนาของโครงการพัฒนาสินค้าผ้าไทยสู่ตลาดโลกด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ประกอบด้วยปัจจัยหลัก (Key Success factors for Circular Economy) ดังนี้
1.
Sustainable materials
:
การเลือกใช้วัสดุและวัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่/รักษาสิ่งแวดล้อม
2.
Sustainable processes
:
การใช้กระบวนการผลิตและพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ที่เกิดผลกระทบต่อการผลิตน้อยสุด
3.
Waste
r
eduction
:
การจัดการของเสียให้เป็นศูนย์ รวมทั้งการรักษาประสิทธิภาพของระบบ ผ่านการออกแบบเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ (negative externalities)
4.
Local production
:
การผลิตและพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยใช้ท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน ทั้งการผลิตและบริโภค เพื่อให้เกิดการผลิตในประเทศไทย
5.
Crafts and Community:
การให้ความสำคัญกับวิสาหกิจชุมชนและสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เชิงพื้นเมือง เพื่อสร้างการจ้างงานและสร้างรายได้ในชุมชน
จากปัจจัยหลักทั้ง 5 ปัจจัย ผนวกกับการออกแบบสร้างสรรค์ให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลายขึ้น ได้แก่
-การพัฒนาวัตถุดิบใหม่ เช่น การใช้ใบตองตึง ซึ่งเป็นพืชในท้องถิ่นมาเคลือบยางพาราให้มีลักษณะเหมือนแผ่นหนัง การใช้เส้นใยประดิษฐ์ชนิดใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
-การพัฒนาเส้นใยธรรมชาติใหม่ เช่น การใช้เส้นใยสับปะรดที่เป็นของเสียทางการเกษตรแล้วแปรรูปมาเป็นผืนผ้า การใช้เส้นใยกัญชงที่ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในการปลูกเหมือนฝ้าย การใช้เส้นใยนุ่นมาถักทอร่วมกับเส้นใยอื่นๆเพื่อให้มีสมบัติที่ดีขึ้นและเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้น้ำและยาฆ่าแมลง
-การลดขยะ เช่น การนำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บมาทอแทรกทำให้เกิดผ้าผืนใหม่ที่มีลวดลายและผิวสัมผัสแตกต่างจากเดิม การใช้เส้นใยรีไซเคิลจากขวด PET การนำเศษผ้าหรือเสื้อผ้าเก่ามาตะกุยให้กลายเป็นเส้นใยแล้วนำกลับมาทอเป็นผืนผ้าใหม่โดยไม่ต้องใช้น้ำในการย้อมสีเลย
-การเพิ่มมูลค่า เช่น การนำผ้าค้างสต๊อกเพิ่มลวดลายกราฟิกด้วยการพิมพ์ หรือการนำเสื้อผ้ามือสองมาแต่งแต้มด้วยลวดลายบาติกกลายเป็นเสื้อใหม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทำให้วัสดุที่เกือบจะเป็นขยะ กลายมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่ามากขึ้น
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต้นแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ Circular Economy
โดย...ฮักคราม เปลี่ยนขยะให้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นใหม่ ได้นำผ้าเศษที่เหลือจากการตัดเสื้อผ้า เศษผ้าจากหัวม้วนที่เหลือจากการทอ นำมาแยก เรียงสี แล้วนำไปทอใหม่ เพื่อให้เกิดผ้าที่มีเท็กซ์เจอร์แตกต่างจากที่เคยทำ ผ้าที่ได้นี้ไม่ต้องผ่านกระบวนการย้อมสีอีก ทำให้ลดการใช้น้ำและพลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และได้นำไปออกแบบตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า และ กระเป๋า และอื่น ๆ เป็นคอลเล็คชั่นใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างมาก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร. 0 2713 5492 - 9 ต่อ 402
Print this
สิ่งทอ,สิ่งทอ
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Thailand Textile Institute)
ย้อนกลับ
Thailand Textiles Tag กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาแบรนด์สู่สากล
ถัดไป
บริการ THTI
วิเคราะห์ทดสอบ
ฝึกอบรม
วิจัยพัฒนาเชิงพาณิชย์
ข้อมูลดิจิตอล
งานจัดแสดงสินค้า
โปรโมชั่นบริการ