หน้าแรก
/
บริการ THTI
/
ฝึกอบรม
/
Thailand Textiles Tag กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาแบรนด์สู่สากล
Thailand Textiles Tag กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาแบรนด์สู่สากล
11.06.2563 | จำนวนผู้เข้าชม 5261
โครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม
(Thailand Textiles Tag)
เครื่องหมาย Thailand Textile Tagเป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ผลิตในประเทศไทยและได้รับการพัฒนาคุณภาพโดยผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตสินค้าสิ่งทอไทยและสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีสิ่งทอเป็นองค์ประกอบ เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสเพื่อให้แข่งขันได้ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศแล้ว ยังทำให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงความแตกต่างของลักษณะคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าประเภทเดียวกัน เป็นการรณรงค์ให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและตระหนักถึงการเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าคุณภาพที่ผลิตในประเทศไทย อันมีผลช่วยส่งเสริมให้เกิดการซื้อขายภายในประเทศ และผลักดันให้เศรษฐกิจของชาติมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะเป็นผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นผู้ผลิตเส้นด้าย ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป เคหะสิ่งทอ และสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีสิ่งทอเป็นองค์ประกอบ ที่ใช้วัตถุดิบและมีกระบวนการผลิตภายในประเทศไทย มีความพร้อมและต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเพื่อให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐาน
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย
2. เพื่อพัฒนาสินค้ามีคุณภาพและสร้างมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคภายใต้มาตรฐานสินค้าไทย
หลักเกณฑ์และข้อกำหนด
หลักเกณฑ์การให้การรับรองเครื่องหมาย Thailand Textile Tag มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับคุณภาพของเนื้อผ้า ความคงทนของสี และความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้และกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การรับรองเครื่องหมาย Thailand Textile Tag จึงพิจารณาจากแหล่งกำเนิดของสินค้าโดยยึดตามหลักสากล ได้แก่
- เส้นด้ายที่ผลิตในประเทศไทย (Yarn Forward)หมายถึง กรณี ผู้ประกอบการซื้อเส้นใยแล้วนำมาผ่านกระบวนการปั่นเป็นเส้นด้ายในประเทศไทย
- ผ้าผืนที่ผลิตในประเทศไทย(Fabric Forward)หมายถึง กรณี ผู้ประกอบการซื้อเส้นด้ายแล้วนำมาผ่านกระบวนการทอ หรือ ถัก เป็นผ้าผืนในประเทศไทย รวมถึงผ่านกระบวนการฟอก ย้อม พิมพ์ และตกแต่งสำเร็จในประเทศไทยด้วย
ขอบข่าย
ผ้า
หมายถึง ผ้าทอ ผ้าถัก ที่ใช้สำหรับทำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
เสื้อผ้าสำเร็จรูป
หมายถึง เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายสำหรับชาย หญิง ที่ตัดเย็บสำเร็จแล้ว พร้อมที่จะสวมใส่หรือใช้งาน เช่น หมวก กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด โดยต้องมีเนื้อผ้าที่ได้รับการรับรอง ประกอบอยู่บนผลิตภัณฑ์นั้น อย่างน้อย 90%
เคหะสิ่งทอ
หมายถึง ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าม่าน ผ้าม่าน ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูโต๊ะและผ้าที่ใช้บนโต๊ะอาหาร และผ้าบุเฟอร์นิเจอร์
หลักเกณฑ์การตรวจสอบผลิตภัณฑ์
มีคุณลักษณะ 6ข้อ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงขนาดหลังการซัก 3ครั้ง
ทดสอบตาม ISO 3759, ISO 5077, ISO 6330 สภาวะซักและทำให้แห้งตาม carelabel
หรือซักที่อุณหภูมิ 40+/-5 C วิธี(5A) อบให้แห้ง Tumble Dry Low
เกณฑ์การยอมรับ
ผ้าทอ ร้อยละ ±5
ผ้าถัก ร้อยละ ±8
2. ความคงทนของสีต่อการซัก
ทดสอบตาม ISO 105 C10(A) อุณหภูมิ 40°C หรืออุณหภูมิตาม care label
เกณฑ์การยอมรับ
Colour change 3 และ ColourStaining3
ผลิตภัณฑ์สีขาวหรือไม่ได้ย้อมหรือพิมพ์ ไม่ต้องทดสอบหัวข้อนี้
3. ความคงทนของสีต่อแสง
ทดสอบตาม ISO 105 B02
เกณฑ์การยอมรับ
ไม่ต่ำกว่าระดับ 3-4 (บลูวูลสเกล)
ผลิตภัณฑ์สีขาวหรือไม่ได้ย้อมหรือพิมพ์ ไม่ต้องทดสอบหัวข้อนี้
4. ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์
ทดสอบตาม ISO 14184 Part 1
เกณฑ์การยอมรับ หน่วย ppm
ผ้าสำหรับเด็กอ่อน |
ผ้าที่สัมผัสกับผิวโดยตรง |
ผ้าที่สัมผัสกับผิวน้อย |
เคหะสิ่งทอ |
< 20 |
< 75 |
< 300 |
< 300 |
5. Azo dyes
ทดสอบตามBS EN 14362
เกณฑ์การยอมรับ
aromatic amine แต่ละสารต้อง ไม่เกิน 30 ppm
ผลิตภัณฑ์สีขาว หรือไม่ได้ย้อมหรือพิมพ์ ไม่ต้องทดสอบหัวข้อนี้
รายชื่อ aromatic amines 24 สาร อ้างอิงตาม มอก.2231-2550ผ้า: ความปลอดภัย
จากสีและสารเคมี หากผู้ประกอบการผ่านการรับรองเรื่องสีย้อมจากหน่วยงานอื่นสามารถนำเอกสารใบรับรองนั้นยื่นเพื่อยืนยันผลได้
6. อัตราส่วนผสมเส้นใย
ทดสอบตาม ISO 1833
เกณฑ์การยอมรับ
ไม่เกิน +/- 3 ของอัตราส่วนผสมที่ระบุไว้ในฉลากดูแลรักษาเสื้อผ้า
หมายเหตุ:โดยที่ส่วนประกอบต่างๆ บนผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ที่มีปริมาณน้อยกว่า 10 % โดยน้ำหนักจะไม่ถูกนำมาพิจารณา
สิ่งทอ,สิ่งทอ