หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561

กลับหน้าหลัก
14.12.2561 | จำนวนผู้เข้าชม 941

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2561 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 9.61 (ร้อยละ 15.25 ในหน่วยของเงินบาท)  หรือมีมูลค่า 10,195.06 ล้านเหรียญสหรัฐ (325,646.18 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีมูลค่า 11,279.41 ล้านเหรียญสหรัฐ (384,257.01 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.82 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคำพบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 6,495.34 ล้านเหรียญสหรัฐ (207,652  ล้านบาท) ซึ่งมีมูลค่าเติบโตสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 7.85 (ร้อยละ 1.15 ในหน่วยของเงินบาท)

รายการ

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

ร้อยละ

ม.ค.-ต.ค. 60

ม.ค.-ต.ค. 61

ม.ค.-ต.ค. 60

ม.ค.-ต.ค. 61

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

11,279.41

10,195.06

100.00

100.00

-9.61

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

5,257.07

3,699.72

46.61

36.29

-29.62

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

6,022.34

6,495.34

53.39

63.71

7.85

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ

387.34

417.21

3.43

4.09

7.71

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

5,635.00

6,078.13

49.96

59.62

7.86

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า

สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับแพลทินัม ขยายตัวร้อยละ 10.65, ร้อยละ 6.43 และร้อยละ 0.88 ตามลำดับ

สินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เติบโตร้อยละ 5.86,
ร้อยละ 4.09 และร้อยละ 7.73 ตามลำดับ

ตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม 2561 ได้แก่ ฮ่องกง ซึ่งมีมูลค่าลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.23 อันเป็นผลจากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับเงินได้ลดลงร้อยละ 37.68 ในขณะที่ส่งออกเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42, ร้อยละ 1.29, ร้อยละ 0.26 และร้อยละ 7.41 ตามลำดับ

ตลาดหลักรองลงมาเป็นสหภาพยุโรปเติบโตสูงขึ้นร้อยละ 11.67 เนื่องมาจากการส่งออกไปตลาดหลักใน 3 อันดับแรกอย่างเยอรมนี เบลเยียม และสหราชอาณาจักร ซึ่งขยายตัวร้อยละ 19.34, ร้อยละ 2.89 และร้อยละ 0.90 ตามลำดับโดยการส่งออกไปยังเยอรมนีเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ดีทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นสูงขึ้น และเต็มใจที่จะใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องประดับ จึงทำให้ไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินไปยังเยอรมนีได้เพิ่มขึ้น ส่วนเบลเยียม นำเข้าเพชรเจียระไนจากไทยเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งจำหน่ายในประเทศและอีกส่วนหนึ่งส่งออกต่อต่างประเทศตามความต้องการบริโภคเพชรเจียระไนของตลาดโลกที่มีเพิ่มสูงขึ้น สำหรับการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรที่เติบโตได้นั้น ส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินปอนด์ที่ยังคงอ่อนค่า ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาถูกลง จึงดึงดูดใจผู้มีกำลังซื้อให้ซื้อเครื่องประดับมากขึ้น ไทยจึงส่งออกเครื่องประดับทอง ซึ่งเป็นสินค้าหลักไปยังสหราช-อาณาจักรได้เพิ่มสูงขึ้น  

อีกหนึ่งตลาดหลักส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดีคือ สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าเติบโตร้อยละ 15.12 ที่แม้ว่าในไตรมาสที่ 3 จะมีบางตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แผ่วลงไปบ้าง แต่ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงสดใส ชาวอเมริกันจึงมีความเชื่อมั่นในการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับ สะท้อนให้เห็นจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในทิศทางบวก และเติบโตสูงในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 ปีนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 (ผลสำรวจของ Conference Board) มีผลให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไปยังตลาดนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเพชรเจียระไน

สำหรับตลาดส่งออกที่โดดเด่นและเติบโตได้ดีต่อเนื่องคือ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง โดยเป็นผลมาจากการส่งออกไปยังหลายตลาดได้สูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นอิสราเอล กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี และคูเวต ตลาดในอันดับ 2, 3, 4, 5 และ 6 โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังอิสราเอลเป็นเพชรเจียระไน ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปยังกาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี และคูเวต เป็นเครื่องประดับทอง ในขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตลาดอันดับ 1 ปรับตัวลดลง เนื่องมาจากการส่งออกเพชรเจียระไน ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญรองลงมาได้ลดน้อยลงมาก ในขณะที่การส่งออกเครื่องประดับทอง ซึ่งเป็นสินค้าหลักยังสามารถเติบโตได้

อาเซียนก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่ขยายตัวได้ จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดในภูมิภาคนี้ โดยสินค้าส่งออกหลักเป็นเครื่องประดับเทียม ซึ่งเติบโตได้ดีจากการขับเคลื่อนของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบสินค้าแฟชั่น อีกทั้งไทยยังสามารถส่งออกไปยังเวียดนาม ตลาดในอันดับ 3 ได้เพิ่มขึ้นด้วย โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังเวียดนามคือ อัญมณีสังเคราะห์ รองลงมาเป็นเพชรเจียระไน และโลหะเงิน ที่ล้วนเติบโตได้เป็นอย่างดี ส่วนการส่งออกไปยังมาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับ 2 ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญลำดับถัดมาอย่างเครื่องประดับทองได้ลดลงมาก  

ประเทศ/ภูมิภาค

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ต.ค.60

ม.ค.-ต.ค.61

ม.ค.-ต.ค.60

ม.ค.-ต.ค.61

ฮ่องกง

1,866.47

1,862.17

30.99

28.67

-0.23

สหภาพยุโรป

1,257.40

1,404.18

20.88

21.62

11.67

สหรัฐอเมริกา

1,002.25

1,153.78

16.64

17.76

15.12

กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

404.69

467.07

6.72

7.19

15.41

อินเดีย

264.91

282.37

4.40

4.35

6.59

จีน

172.91

233.10

2.87

3.59

34.81

ญี่ปุ่น

191.80

196.18

3.18

3.02

2.28

อาเซียน

171.18

182.28

2.84

2.81

6.49

ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

185.49

165.43

3.08

2.55

-10.82

รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช

51.07

52.93

0.85

0.81

3.63

อื่นๆ

454.18

495.86

7.54

7.63

9.18

รวม

6,022.34

6,495.34

100.00

100.00

7.85

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)



*** กรุณาอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)” ทุกครั้ง เมื่อนำบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อ


 

นำเข้าส่งออกอัญมณี, อุตสาหกรรม, อัญมณีและเครื่องประดับ, GIT, สถานการณ์, การส่งออก, Export, ปี 2561, ม.ค.-ต.ค., สะสม 10 เดือน