หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนตุลาคม 2561

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนตุลาคม 2561

กลับหน้าหลัก
28.11.2561 | จำนวนผู้เข้าชม 15240

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนตุลาคม 2561

 

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย

เดือนตุลาคม 2561 และ (สะสม) เดือนมกราคม-ตุลาคม 2561

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนตุลาคม 2561 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 607.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.69 แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 396.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.57 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 210.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.54 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 488.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.23 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 317.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.41 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 171.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.56 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 118.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในขณะที่ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว สะสม 10 เดือน (มกราคม - ตุลาคม 2561) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 5,976.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.19 แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 3,924.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.44 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 2,051.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.87 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) ของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 4,471.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.97 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 3,064.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.78 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,407.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.28 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 1,504.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตารางที่ 1 แสดงมูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (สิ่งทอ) เดือนตุลาคม 2561 และ (สะสม) เดือนมกราคม-ตุลาคม 2561

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ ในเดือนตุลาคม และ (สะสม) 10 เดือน ในกลุ่มสิ่งทอ พบว่า ผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม อยู่ที่ร้อยละ 17.36 หรือคิดเป็นมูลค่า 88.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) 10 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 28.17 หรือคิดเป็นมูลค่า 841.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.59 หรือคิดเป็นมูลค่า 125.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) 10 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 4.34 หรือคิดเป็นมูลค่า 1,189.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ลดลงร้อยละ 5.57 หรือเป็นมูลค่า 59.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนดังกล่าว แต่มีการขยายตัว (สะสม) 10 เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.75 หรือคิดเป็นมูลค่า 671.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (เครื่องนุ่งห่ม) เดือนตุลาคม 2561 และ (สะสม) เดือนมกราคม-ตุลาคม 2561

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ ในเดือนตุลาคม และ (สะสม) 10 เดือน ในกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม พบว่า สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม พบว่า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม และ (สะสม) 10 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 24.32 และ 7.23 หรือคิดเป็นมูลค่า 182.6 และ 1,770.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันเป็นผลจากการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากฝ้าย และเส้นใยประดิษฐ์  สำหรับเสื้อผ้าเด็ก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม อยู่ที่ร้อยละ 44.40 หรือคิดเป็นมูลค่า 12.9 โดยตลาดหลักของสินค้าในกลุ่มนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา โดยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 57 และเฉพาะในเดือนตุลาคม 2561 มีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในสินค้ากลุ่มนี้ คิดเป็นมูลค่า 7.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.5 ขณะที่เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ ลดลงจากตลาด 3 หลัก ประกอบด้วย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส ทั้งในเดือนตุลาคม และ (สะสม) 10 เดือน จึงส่งผลให้มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 12.70 และ 6.84

ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก

หากพิจารณาใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม เฉพาะในเดือนตุลาคม 2561 พบว่า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ ยกเว้นผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน และเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 59.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตามรายประเทศ 5 อันดับแรก (สะสม) เดือนมกราคม-ตุลาคม 2561

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตามรายประเทศ 5 อันดับแรก (สะสม) 10 เดือน พบว่า ในผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดตุรกี และสหรัฐอเมริกา ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 คือ 37.90 และ 153.42 หรือคิดเป็นมูลค่า 91.0 และ 79.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

ทั้งนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ไปยังตลาดตุรกี พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์ชนิดสั้น ทำด้วยวิสโคสเรยอน (Viscose Rayon) ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ไปยังสหรัฐอเมริกา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์สั้น ทำด้วยโพลิเอสเทอร์ (Polyester) โดยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 56.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 215.37

สำหรับผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดตุรกีที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ในกลุ่มนี้เช่นกัน คือที่ร้อยละ 9.69 หรือคิดเป็นมูลค่า 41.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์เส้นด้ายส่วนใหญ่ที่ส่งออกไปตุรกี เป็นด้ายใยยาวสังเคราะห์ที่ทำด้วยโพลิเอสเทอร์

ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด โดยตลาดที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากสุดยังคงเป็นตลาดเวียดนาม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.58 ที่มูลค่า 233.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์ผ้าผืนส่วนใหญ่ที่ส่งออกไปเวียดนาม เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าทอทำด้วยด้ายใยยาวสังเคราะห์

และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกตลาด โดยตลาดลาดหลักที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในกลุ่มนี้ยังคงเป็นตลาดสหรัฐอเมริกา โดยมีการส่งออก (สะสม) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.97 ที่มูลค่า 732.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย 5 อันดับแรกที่มีการส่งออกสูงสุดเป็นเครื่องแต่งกายถักแบบนิตหรือแบบโครเชต์ สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดชั้นในชนิดสลิปของสตรีและเด็กหญิงที่ถักแบบนิตหรือแบบโครเชต์ รองลงมาได้แก่ เสื้อผ้าในกลุ่ม Sweater

*********************************************

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

พฤศจิกายน 2561

 

นำเข้าส่งออกสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, Import, Export, Textile, Clothing, ปี 2561, เดือนตุลาคม, สะสม, 10 เดือน