หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2561

สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2561

กลับหน้าหลัก
16.10.2561 | จำนวนผู้เข้าชม 774

สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2561

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2561มีมูลค่าเติบโตร้อยละ 0.62 (ลดลงร้อยละ 8.78 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 6,326.68 ล้านเหรียญสหรัฐ (199,434.12 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีมูลค่า 6,287.40 ล้านเหรียญสหรัฐ (218,637.71 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.03 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้น เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้สูงขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคำพบว่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,863.98 ล้านเหรียญสหรัฐ (121,791.96 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 7.48 (ลดลงร้อยละ 2.41 ในหน่วยของเงินบาท)


รายการ

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

ม.ค.-มิ.ย.60

ม.ค.-มิ.ย.61

ม.ค.-มิ.ย.60

ม.ค.-มิ.ย.61

ร้อยละ

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

6,287.40

6,326.68

100.00

100.00

0.62

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

2,692.32

2,462.70

42.82

38.93

-8.53

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

3,595.08

3,863.98

57.18

61.07

7.48

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ

257.48

301.29

4.10

4.76

17.01

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

3,337.60

3,562.69

53.08

56.31

6.74

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญ พบว่า

1)    สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับแพลทินัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.38 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับส่วนเครื่องประดับเงิน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.22

2)    สินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เติบโตได้ร้อยละ 6.17, ร้อยละ 2.66 และร้อยละ 10.57 ตามลำดับ

ตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2561 ได้แก่ ฮ่องกง ตลาดหลักที่มีสัดส่วนสูงสุดราวร้อยละ 28 ซึ่งมีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.43 เนื่องจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้ลดลง โดยเฉพาะสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน รวมถึงสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง และพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ได้ลดลงร้อยละ 0.53, ร้อยละ 5.65 และร้อยละ 2.66 ตามลำดับ ตลาดหลักลำดับถัดมา คือสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องร้อยละ 15.47 และร้อยละ 10.29 ตามลำดับสืบเนื่องมาจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ภูมิภาคโดยสินค้าส่งออกหลักไปยังสหภาพยุโรปเป็นเครื่องประดับเงิน รองลงมาเป็นเครื่องประดับทอง ที่ต่างมีมูลค่าสูงขึ้น ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นเครื่องประดับเงิน ซึ่งกลับมาเติบโตเป็นบวกได้อีกครั้ง อีกทั้งการส่งออกเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเพชรเจียระไน สินค้าสำคัญรองลงมา ล้วนขยายตัวได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ส่วนตลาดอื่น ๆ ที่เติบโตได้ดี เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลางปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15.33 โดยการส่งออกกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเครื่องประดับทอง ขยายตัวสูงต่อเนื่องในตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และคูเวต ซึ่งเป็นคู่ค้าใน 5 อันดับแรกของไทย

สำหรับการส่งออกไปยังอินเดีย ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 26.22 อันเป็นผลจากการส่งออกเพชรเจียระไนที่เติบได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.53 โดยส่วนหนึ่งเป็นการส่งออกจากบริษัทอินเดียที่มาตั้งโรงงานในไทยกลับไปยังบริษัทแม่เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่อต่างประเทศ

การส่งออกไปยังอาเซียนเติบโตร้อยละ 6.91 จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ ตลาดอันดับ 1 ของไทยในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มขึ้น โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังสิงคโปร์เป็นเครื่องประดับเทียมซึ่งเติบโตได้สูงมากถึงร้อยละ 54.12 รวมถึงการส่งออกไปยังบรูไน และเวียดนาม ตลาดในอันดับ 3 และ 4 ก็สามารถขยายตัวได้เป็นอย่างดี โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังบรูไนเป็นเครื่องประดับทอง ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังเวียดนามเป็นโลหะเงินและเพชรเจียระไน ที่ล้วนเติบโตได้เป็นอย่างดี

ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.98 เนื่องจากการส่งออกไปยังรัสเซีย ยูเครน และคาซัคสถาน ตลาดหลักใน 3 อันดับแรกของไทยได้เพิ่มสูงขึ้น โดยสินค้าดาวเด่นเป็นเครื่องประดับเงิน ซึ่งเติบโตได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความนิยมสินค้าของไทยในตลาดดังกล่าวได้เป็นอย่างดี


ประเทศ/ภูมิภาค

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

ม.ค.-มิ.ย.60

ม.ค.-มิ.ย.61

ม.ค.-มิ.ย.60

ม.ค.-มิ.ย.61

(ร้อยละ)

ฮ่องกง

1,122.76

1,095.42

31.23

28.35

-2.43

สหภาพยุโรป

717.31

828.31

19.95

21.44

15.47

สหรัฐอเมริกา

620.15

684.00

17.25

17.70

10.29

กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

258.57

298.22

7.19

7.72

15.33

อินเดีย

141.21

178.24

3.93

4.61

26.22

ญี่ปุ่น

112.71

117.27

3.14

3.04

4.05

จีน

103.19

104.14

2.87

2.70

0.92

อาเซียน

89.59

95.78

2.49

2.48

6.91

ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

100.26

90.20

2.79

2.33

-10.03

รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช

30.88

38.90

0.86

1.01

25.98

อื่นๆ

298.45

333.51

8.30

8.63

11.75

รวม

3,595.08

3,863.98

100.00

100.00

7.48

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สิงหาคม 2561


*** กรุณาอ้างอิง “ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)” ทุกครั้ง เมื่อนำบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อ

สถิติอัญมณี, อุตสาหกรรม, อัญมณีและเครื่องประดับ, สถานการณ์, การส่งออก, Export, ปี 2561, ม.ค.-มิ.ย., ไตรมาส 2, GIT