การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2561 มีมูลค่าเติบโต
ร้อยละ 1.21 (ลดลงร้อยละ 7.74 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 7,019.21 ล้านเหรียญสหรัฐ (221,886.91 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีมูลค่า 6,935.62 ล้านเหรียญสหรัฐ (240,498.91 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.80 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้น เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้สูงขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคำพบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 4,320.70 ล้านเหรียญสหรัฐ (136,599.49 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 6.92 (ลดลงร้อยละ 2.31 ในหน่วยของเงินบาท)
รายการ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง ร้อยละ |
||
ม.ค.-ก.ค 60 |
ม.ค.-ก.ค. 61 |
ม.ค.-ก.ค 60 |
ม.ค.-ก.ค 61 |
||
มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด |
6,935.62 |
7,019.21 |
100.00 |
100.00 |
1.21 |
หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ |
2,894.63 |
2,698.51 |
41.74 |
38.44 |
-6.78 |
คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ |
4,040.99 |
4,320.70 |
58.26 |
61.56 |
6.92 |
หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ |
272.40 |
313.49 |
3.93 |
4.47 |
15.08 |
คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ |
3,768.59 |
4,007.21 |
54.34 |
57.09 |
6.33 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า
สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับแพลทินัม เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 10.82, ร้อยละ 0.32 และร้อยละ 3.13 ตามลำดับ
สินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ขยายตัวได้ร้อยละ 3.95,
ร้อยละ 0.40 และร้อยละ 8.14 ตามลำดับ
ตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2561 ได้แก่ ฮ่องกง ตลาดหลักที่มีสัดส่วนสูงสุดราวร้อยละ 27 หากแต่มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.75 จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง และพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ได้ลดลงร้อยละ 0.83, ร้อยละ 5.87 และร้อยละ 2.85 ตามลำดับ ตลาดหลักลำดับถัดมา คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา เติบโตได้ต่อเนื่องร้อยละ 11.11 และร้อยละ 9.25 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของทั้ง 2 ตลาดดังกล่าวปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ไทยส่งออกเครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และพลอยสีไปยังสหภาพยุโรปได้เพิ่มขึ้น ส่วนตลาดสหรัฐอเมริกานั้น สินค้าหลายรายการขยายตัวสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าถัดมาอย่างเครื่องประดับทอง อีกทั้งพลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเพชรเจียระไนก็เติบโตสูงขึ้นด้วย
ส่วนตลาดอื่นๆ ที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวดี อาทิ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งมีมูลค่าเติบโตร้อยละ 14.49 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้บริโภคชาวตะวันออกกลางมีกำลังซื้อสูง และส่วนใหญ่ชื่นชอบเครื่องประดับทองซึ่งในปัจจุบันมีราคาถูกลง เนื่องจากราคาโลหะทองคำปรับตัวลดลงมาก ประกอบกับชื่นชอบในคุณภาพและความสวยงามของสินค้าไทย จึงทำให้มีความต้องการเครื่องประดับทองจากไทยเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการส่งออกไปยังอินเดีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.39 ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจของอินเดียขยายตัวดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนชนชั้นกลางและคู่แต่งงาน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้นิยมเครื่องประดับเพชรมากขึ้น ส่งผลให้มีการนำเข้าเพชรเจียระไนจากไทยเพิ่มสูงขึ้น เพื่อนำไปผลิตเป็นเครื่องประดับเพชรทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่อต่างประเทศ
การส่งออกไปยังจีนที่เติบโตได้นั้น เนื่องมาจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน สินค้าหลักในสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่ง และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.11, 3.44 เท่า และร้อยละ 6.43 ตามลำดับ
มูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนที่ขยายตัวนั้น เนื่องมาจากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 61 และเวียดนาม ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 3 ได้สูงขึ้น โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังสิงคโปร์เป็นเครื่องประดับเทียม ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังเวียดนามเป็นอัญมณีสังเคราะห์ เพชรเจียระไน และโลหะเงิน ที่ล้วนเติบโตได้เป็นอย่างดี ส่วนการส่งออกไปยังมาเลเซีย ตลาดในอันดับ 2 หดตัวลงจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินได้ลดลง
สำหรับการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้น ยังคงเป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินไปยังรัสเซีย ยูเครน และคาซัคสถาน ซึ่งเป็นตลาดหลักใน 3 อันดับแรกของไทยในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น
ประเทศ/ภูมิภาค |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
สัดส่วน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) |
||
ม.ค.-ก.ค. 60 |
ม.ค.-ก.ค. 61 |
ม.ค.-ก.ค. 60 |
ม.ค.-ก.ค. 61 |
||
ฮ่องกง |
1,193.64 |
1,160.79 |
29.54 |
26.87 |
-2.75 |
สหภาพยุโรป |
845.43 |
939.39 |
20.92 |
21.74 |
11.11 |
สหรัฐอเมริกา |
713.87 |
779.91 |
17.67 |
18.05 |
9.25 |
กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง |
292.29 |
334.65 |
7.23 |
7.75 |
14.49 |
อินเดีย |
168.97 |
205.12 |
4.18 |
4.75 |
21.39 |
ญี่ปุ่น |
128.60 |
134.65 |
3.18 |
3.12 |
4.71 |
จีน |
121.11 |
130.82 |
3.00 |
3.03 |
8.02 |
อาเซียน |
106.92 |
119.28 |
2.65 |
2.76 |
11.56 |
ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก |
112.09 |
101.89 |
2.77 |
2.36 |
-9.10 |
รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช |
35.21 |
43.47 |
0.87 |
1.01 |
23.46 |
อื่นๆ |
322.86 |
370.74 |
7.99 |
8.58 |
14.83 |
รวม |
4,040.99 |
4,320.70 |
100.00 |
100.00 |
6.92 |
ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สิงหาคม 2561