หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / แบรนด์แฟชั่นต้องหันมาใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ขั้นต่ำที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า

แบรนด์แฟชั่นต้องหันมาใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ขั้นต่ำที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า

กลับหน้าหลัก
28.02.2568 | จำนวนผู้เข้าชม 43

แบรนด์แฟชั่นต้องหันมาใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ขั้นต่ำที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า

คุณ Amy Morgan รองประธานฝ่ายปฏิบัติตามข้อกำหนดทางการค้าของ Altana กล่าวว่า AI สามารถช่วยแบรนด์แฟชั่นในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ขั้นต่ำที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า หรือ de minimis ใหม่ของสหรัฐอเมริกาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

There are multiple ways AI can help fashion brands with the new de minimis rules. Credit: Shutterstock.

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังช่วยแบรนด์แฟชั่นรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนโยบาย de minimis ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

ปัจจุบันแบรนด์แฟชั่นและบริษัทเครื่องแต่งกายต่างพึ่งพาการขนส่งแบบ de minimis เพื่อสนับสนุนการขายตรงถึงผู้บริโภค เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคำสั่งซื้อออนไลน์ และหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าที่มีต้นทุนสูง เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจมีความซับซ้อนและกฎระเบียบมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง บริษัทเหล่านี้จึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อนโยบายใหม่และรักษาการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

โดยนโยบาย de minimis ของรัฐบาลทรัมป์กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลง และไม่ว่าขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นอย่างไร บริษัทแฟชั่นที่พึ่งพาการขนส่งแบบ de minimis จำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับภาษีที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่สูงขึ้น และภาระการบริหารจัดการที่มากขึ้น

นี่จึงเป็นจุดสำคัญที่ AI หรือปัญญาประดิษฐ์สามารถเข้ามาช่วยบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย AI สามารถประมวลผลและจัดระเบียบข้อมูลการขนส่งจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นธุรกรรมนับพันล้านที่ถูกบันทึกการค้าทั่วโลก ด้วยภาพรวมการค้าโลกที่เป็นหนึ่งเดียว การบูรณาการและร่วมกันนี้ บริษัทต่าง ๆ สามารถทำแผนที่ วิเคราะห์ และวางแผนห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ของตนได้ ตั้งแต่ผู้ผลิตระดับ Tier 1 ไปจนถึงระดับวัตถุดิบ

ดังนั้น AI จึงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับแบรนด์แฟชั่นในการช่วยลดความเสี่ยงด้านแรงงานบังคับซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีความสำคัญในอุตสาหกรรมแฟชั่น และเมื่อสำนักงานศุลกากรและป้องกันชายแดนสหรัฐฯ (CBP) เริ่มใช้รหัสภาษีกับสินค้านำเข้ การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบศุลกากรของสหรัฐฯ ดังกล่าว ทำให้การจำแนกประเภทภาษีมีความซับซ้อนมากขึ้น AI จึงเข้ามาช่วยให้กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพและแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่ง AI ช่วยให้ธุรกิจสามารถจำลองสถานการณ์ภาษีและคำนวณต้นทุนรวมได้ ทำให้สามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยรวมแล้ว AI ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับแบรนด์แฟชั่นในการจัดการกับความท้าทายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ

Clothing exposure

แบรนด์แฟชั่นมีความเสี่ยงสูงต่อกฎระเบียบการค้า เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่มาจากจีน ทั้งที่เป็นคู่ค้าหลักและคู่แข่งเชิงกลยุทธ์ของสหรัฐฯ

ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจึงเป็นเป้าหมายหลักของความพยายามของสหรัฐฯ ในการกำจัดแรงงานบังคับชาวจีนออกจากห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก อีกทั้งสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายยังต้องเสียภาษีนำเข้าที่ค่อนข้างสูง ทำให้การยกเว้น de minimis มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

การบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันแรงงานบังคับของชาวอุยกูร์ (Uyghur Forced Labor Prevention Act: UFLPA) แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ อาจจำกัดสิทธิ์ de minimis ได้อย่างไร โดยการตรวจสอบการนำเข้าตลอดห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ ภายใต้ UFLPA ผู้ค้าปลีกต้องรับผิดชอบในการระบุความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบทั้งต้นน้ำและปลายน้ำในห่วงโซ่คุณค่าทั่วโลก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากการบังคับใช้กฎหมายในอดีต

ขณะเดียวกันการผลิตฝ้ายในซินเจียงเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ ส่งผลให้เกิดการตรวจสอบที่เข้มงวดขึ้นและเพิ่มภาระให้กับผู้ค้าปลีก หากวิเคราะห์ด้านสัดส่วน พบว่า ร้อยละ 90 ของผลผลิตฝ้ายของจีนมาจากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) ได้ระบุว่าฝ้ายเป็นภาคส่วนสำคัญสำหรับการบังคับใช้ UFLPA รายชื่อหน่วยงานที่ถูกห้ามจากห่วงโซ่คุณค่าของสหรัฐฯ กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเพิ่มภาระการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างมากสำหรับผู้ค้าปลีกที่จัดหาสินค้าจากจีน

ก้าวถัดไปของการปรับปรุงกฎเกณฑ์ขั้นต่ำที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า de minimis

รัฐสภาและฝ่ายบริหารกำลังพิจารณาจำกัดการยกเว้น de minimis มาหลายปี รวมถึงการยกเว้นสินค้าที่อาจถูกควบคุมด้วยมาตรการทางการค้าหรือความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์แสดงเจตจำนงที่จะใช้การยกเว้น de minimis เป็นเครื่องมือในนโยบายการค้าที่เข้มงวด และการยกเลิกสำหรับจีนยังคงไม่แน่นอน

หากวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อแบรนด์เสื้อผ้า พบว่า ส่งผลกระทบอย่างมากต่อแบรนด์เสื้อผ้าที่พึ่งพาการผลิตจากจีน ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์แฟชั่นของสหรัฐฯ อย่าง Gap จ่ายภาษีนำเข้า 700 ล้านดอลลาร์ใน พ.ศ. 2565 (ปี 2022) ในขณะที่คู่แข่งที่ส่งตรงจากจีนซึ่งใช้ประโยชน์จากการยกเว้น de minimis แทบไม่ต้องจ่ายอะไรเลย ตามที่นักวิเคราะห์ด้าน E-commerce หรือ คุณ Ben Donovan ได้วิเคราะห์ไว้

หากการยกเว้นสำหรับสินค้าที่ส่งตรงจากจีนถูกยกเลิก ขั้นตอนต่อไปที่รัฐสภาและฝ่ายบริหารน่าจะดำเนินการคือการจัดการกับการขนส่งผ่านแดน โดยยกเลิกการยกเว้นสำหรับสินค้าที่ส่งจากจีนไปยังประเทศที่สามและส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในรูปแบบ de minimis บริษัทจีนได้สร้างคลังสินค้าในเม็กซิโกและเวียดนามเพื่อจุดประสงค์นี้แล้ว

จากการวิเคราะห์ข้อมูลห่วงโซ่คุณค่าทั่วโลกของ Altana ในปี พ.ศ. 2567 (ปี 2024) สินค้าเสื้อผ้า de minimis ที่มีรหัส HS 62 (เสื้อผ้าที่ไม่ถักหรือโครเชต์) มูลค่ากว่า 540 ล้านดอลลาร์ถูกส่งจากจีนไปยังเวียดนามและเม็กซิโก จากนั้นจึงส่งไปยังสหรัฐฯ

การขนส่งผ่านประเทศที่ 3 เพื่อประกอบขั้นสุดท้าย เป็นช่องทางที่สหรัฐฯ กำลังจับตาบริษัทจีนบางแห่ง ซึ่งคาดว่า รัฐสภาและฝ่ายบริหารทรัมป์อาจทำให้ชิ้นส่วนใด ๆ ที่มาจากจีนในห่วงโซ่คุณค่าต้นน้ำไม่ได้รับการยกเว้น de minimis ในสถานการณ์นั้น เสื้อเบลาส์สมมติราคา 50 ดอลลาร์จากเวียดนามจะต้องเสียภาษีและถูกตรวจสอบเพิ่มเติมหากฝ้ายที่ใช้ปลูกในจีน และไม่ว่าฝ่ายบริหารจะกำหนดนโยบาย de minimis อย่างไร ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ และ CBP จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความล่าช้าและการกักกัน ลดภาระการบริหารจัดการ และรักษาการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ซึ่งอาจเป็นเสาหลักที่ยั่งยืนของนโยบายการค้าสหรัฐฯ-จีน

นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ AI สามารถทำให้สิ่งนั้นเป็นไปได้ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการห่วงโซ่อุปทานและการปฏิบัติตามกฎระเบียบมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการสร้างแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ร่วมกันเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก คล้ายกับวิธีที่บริษัทในทุกภาคส่วนพึ่งพาชุดตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ราคาโภคภัณฑ์ อันดับเครดิต และอื่น ๆ อีกมากมาย แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ร่วมกันนี้จะช่วยให้การขนส่งเป็นไปตามกฎระเบียบมากขึ้นและลดความขัดแย้งที่ชายแดน เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่ต้องการตรงเวลา

-------------------------------------------

Source: JustStyle.com 

Photo credit: Shutterstock. 

เทคโนโลยีนวัตกรรมสิ่งทอ, AI, fashion, brands, de minimis, USA, Altana, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'68