หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / การกำหนดกลยุทธ์การจัดหาแฟชั่นอย่างมีคุณธรรมและมีกำไร

การกำหนดกลยุทธ์การจัดหาแฟชั่นอย่างมีคุณธรรมและมีกำไร

กลับหน้าหลัก
15.08.2567 | จำนวนผู้เข้าชม 126

การกำหนดกลยุทธ์การจัดหาแฟชั่นอย่างมีคุณธรรมและมีกำไร

‘คุณ Anna Berry และคุณ Sara Allbright ผู้ก่อตั้งร่วมและผู้อำนวยการของบริษัท Retail 100 Consulting ย้ำว่ากุญแจของการจัดหา (Sourcing) สินค้าแฟชั่นจากทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จอยู่ที่การวางแผนอย่างรอบคอบ การสื่อสารที่ชัดเจน และความพร้อมที่จะปรับตัวตามความท้าทายและโอกาสเฉพาะที่มีขึ้น จากความสัมพันธ์การจัดหาใหม่ ๆ แต่ละครั้ง’

Retail100 Consulting co-founders and directors Anna Berry and Sara Allbright at Source Fashion. 

Credit: JustStyle

ในตลาดโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ค้าปลีกและแบรนด์แฟชั่นต้องประสบปัญหาการหาความสมดุลระหว่างการทำกำไรและการจัดหาอย่างมีคุณธรรม

ในระหว่างงาน Source Fashion เมื่อเดือนกรกฎาคม 2024  ทั้งคุณ Berry และคุณ Allbright ต่างก็พูดถึงมุมมองในการจัดหาสินค้าแฟชั่นในดินแดนใหม่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จ และการกำหนดกลยุทธ์การจัดหาที่มีความรับผิดชอบและความยั่งยืนมากที่สุด

การกำหนดกลยุทธ์การจัดหาที่ทำกำไร

คุณ Berry อธิบายว่า พื้นฐานของกลยุทธ์การจัดหาที่ประสบความสำเร็จ คือ การเข้าใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำกำไร โดยเฉพาะหากบริษัทแฟชั่นต้องตัดสินใจในประเด็นของคุณธรรมและความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

1.การผสมผสานระหว่างกำไรสูง ที่โดยปกติมาพร้อมกับการผลิตปริมาณมากและการจัดหาไกลบ้าน (farshore sourcing) และกำไรที่ต่ำกว่า ที่มาพร้อมกับการจัดหาใกล้บ้าน (nearshore sourcing) ในปริมาณที่น้อยกว่าแต่เข้าถึงง่ายกว่า

2.การสอบถามราคากับโรงงานหลายแห่งก็เป็นการปฏิบัติที่สำคัญในการเปรียบเทียบราคา บริษัทต้องให้ข้อมูลที่ชัดเจนและที่ละเอียดแก่ซัพพลายเออร์ต่าง ๆ ทั้งในส่วนของข้อกำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์ ปริมาณการสั่งซื้อ และข้อกำหนดเพิ่มเติม เช่น บรรจุภัณฑ์ และการตรวจสอบ

3.บรรจุสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ให้มากที่สุด เพราะจะมีผลต่อค่าขนส่งเป็นอย่างมาก โดยอาจพิจารณาให้ปริมาณคำสั่งซื้อสอดคล้องกับขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะนำไปสู่การบรรจุและขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดค่าใช้จ่าย

4.อัตราแลกเปลี่ยนมีบทบาทสำคัญในการได้กำไรจากการจัดหาจากทั่วโลก โดยทั่วไปควรจ่ายเงินในเงินสกุลท้องถิ่นที่ทำงานด้วย อีกทั้งควรทำความเข้าใจเรื่องตลาดแลกเปลี่ยนเงินอย่างถ่องแท้และกำหนดกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงเพื่อช่วยปกป้องกำไรจากความผันผวนของตลาด

5.การควบคุมคุณภาพมีความสำคัญอย่างมากในการให้หลักประกันการได้กำไร เพราะการดำเนินมาตรการการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด ซึ่งครอบคลุมขั้นตอนการปิดผนึกตัวอย่างสินค้า การตรวจสอบการผลิตและการตรวจสอบครั้งสุดท้ายก่อนส่ง อาจช่วยหลีกเลี่ยงการต้องเสียค่าใช้จ่ายราคาแพง ทั้งนี้ Berry ย้ำว่า หากสงสัยก็อย่าส่งสินค้าไม่ว่าจะเร่งด่วนเพียงใดก็ตาม และเสริมว่า การติดต่อที่มีประสิทธิผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายของความสัมพันธ์ในการจัดหาที่ประสบความสำเร็จ

6.คุณ Berry ยังแนะนำให้บริษัทแฟชั่นทำการบันทึกข้อกำหนดการออกแบบ และผู้ติดต่อทั้งหมด อย่างแม่นยำและหาง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องติดต่อทางไกล ในเขตเวลาที่ต่างกัน

การจัดหาใกล้บ้านกับการจัดหาไกลบ้าน

ภายใต้กลยุทธ์การจัดหาจากทั่วโลกบ่อยครั้งธุรกิจจะต้องตัดสินใจว่า จะจัดหาใกล้บ้านหรือไกลบ้าน ซึ่งเป็นวิธีที่แตกต่างกัน 2 วิธี การจัดหาใกล้บ้านจะเกี่ยวข้องกับการเป็นพันธมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีคนงานมีทักษะที่เหมือนกับคนงานในประเทศ ส่วนเหตุผลที่มีการจัดหาใกล้บ้านสำหรับการผลิตเสื้อผ้าก็เป็นเพราะระยะเวลาในการรอสินค้าจะสั้นกว่า ติดต่อกันง่ายขึ้น เพราะอยู่ในเขตเวลาที่เหมือนกัน ค่าขนส่งที่ถูกลง และง่ายต่อการควบคุมคุณภาพ

ส่วนการจัดหาไกลบ้าน เป็นการจ้างจากประเทศที่ห่างไกล เช่น จ้างอินเดียหรือจีนให้ผลิตสินค้าให้ ถึงแม้ผู้บริโภคจะอยู่ในสหรัฐฯ ประโยชน์ที่จะได้ คือ บ่อยครั้ง ต้นทุนการผลิตลดลง สามารถเข้าถึงทักษะหรือทรัพยากรเฉพาะ และสามารถผลิตได้ในปริมาณที่มากกว่า 

กุญแจ คือ การหาความสมดุลที่เหมาะสม ทั้งนี้ การใช้วิธีที่ผสมผสาน บ่อยครั้งมักให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ทั้งประสิทธิภาพต้นทุนและความยืดหยุ่น

ข้อแนะนำในการทำงานกับผู้ผลิตในภูมิภาคใหม่ ๆ

คุณ Allbright ได้ให้ข้อแนะนำที่มีประโยชน์สำหรับบริษัทแฟชั่น ในการจัดหาสินค้าแฟชั่นในดินแดนใหม่ ๆ ดังนี้ :

เข้าใจความแตกต่างด้านวัฒนธรรม : ประเทศที่ทำการจัดหาหลายประเทศมีอาณาเขตกว้างใหญ่และการปฏิบัติจะแตกต่างกันจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ดังนั้น จึงอย่าทึกทักไปเองจากประสบการณ์เดิม

วันชาติหรือวันหยุดทางศาสนา : อาจต้องหยุดตามวันหยุดเหล่านั้น ซึ่งจะมีผลต่อการผลิตตามกำหนด

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม : ต้องเคารพวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และทำความรู้จักและทำความเข้าใจวิธีการดำเนินธุรกิจของพันธมิตรรายใหม่

กำแพงภาษา : อย่าทึกทักว่าจะมีคนเข้าใจภาษาอังกฤษทุกคน และเตรียมพร้อมกับการสื่อสารที่อาจไม่ตรงกัน

ตัวแทนขนส่งสินค้า : พิจารณาตัวแทนขนส่งสินค้าต่าง ๆ และเงื่อนไขการขนส่งสินค้าอย่างรอบคอบ

ติดตามเรื่องความตกลงทางการค้า : เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อาจทำให้มีข้อตกลงใหม่ ๆ กับประเทศใหม่ ๆ และควรศึกษาเรื่องภาษีนำเข้าของประเทศที่ส่งออกสินค้าไป

ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ : อย่าทำผิดกฎหมาย ทำความเข้าใจกับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเภทสินค้าที่ส่งออกและวิธีการผลิต โดยเฉพาะสินค้าสำหรับเด็กและทารก เป็นต้น

สายงานวิกฤติ : ควรบริหารเอกสารสายงานวิกฤติเมื่อกำลังจัดหา ไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือตาราง เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า และการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนด

วางแผนการเดินทาง : ควรวางแผนการเดินทางไปเยี่ยมโรงงานผลิตและพบกับซัพพลายเออร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด และศึกษาว่าต้องใช้วีซ่าเข้าประเทศประเภทใดในการทำธุรกิจ เช่น ในจีนและอินเดีย เป็นต้น

ความยั่งยืน : โรงงานที่ทำงานด้วยได้ดำเนินการด้วยความยั่งยืนหรือไม่ เช่น การใช้พลังงานทางเลือกที่ดีที่สุด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือสัตว์ป่า 

การตรวจสอบ : ต้องชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าต้องมีการตรวจสอบและการทดสอบอะไรบ้าง หากพิจารณาช้า อาจมีผลต่อค่าใช้จ่ายและการส่งมอบสินค้า 

ตัวแทน : หากไม่มีเวลา ทรัพยากร และความรู้ ที่จะดำเนินการจัดหาด้วยตนเอง ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพจนถึงการขนส่ง การจ้างตัวแทนจะทำให้มีผู้จัดการทุกเรื่อง และบ่อยครั้งจะอาศัยอยู่ในประเทศที่ทำธุรกิจด้วยเพื่อช่วยตรวจตราดูแล

การลดความเสี่ยงและการกระจายการจัดหาสินค้าแฟชั่น

เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในกลยุทธ์การจัดหาทั่วโลก Allbright เสนอให้พิจารณาวิธีต่าง ๆ เหล่านี้ :

1.การวางแผนการออกจากธุรกิจ (exit planning) เป็นสิ่งจำเป็นในกรณีของวงจรชีวิตของ

ผลิตภัณฑ์ที่สิ้นสุดลง หรือที่แย่ยิ่งกว่า คือ การขายไม่ดี จึงต้องมีแผนสำรองเพื่อช่วยบรรเทาการสูญเสียจากการขาดทุน และมีทางออกที่ชัดเจน จากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันต่าง ๆ

2.การบริหารกำไรก็เป็นประเด็นที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยงในการจัดหา โดยหากสามารถลดราคาผลิตภัณฑ์ลง ระหว่าง 30% และ 50% และยังได้กำไร ก็จะเป็นวิธีที่ดีในการบริหารความเสี่ยง ในการจัดหาผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซึ่งวิธีดังกล่าวจะทำให้กำไรที่ได้จากการขายราคาเต็มสามารถรองรับการที่อาจต้องลดราคา ซึ่งจะเป็นหลักประกันในกรณีความผันผวนของตลาด 

3.เมื่อทำงานกับซัพพลายเออร์สิ่งสำคัญ คือ ต้องคุยกันเรื่องนโยบายยกเลิกตั้งแต่แรก เพราะการเข้าใจความสำคัญของสต็อกที่ผลิตมาแล้ว หรือวัตถุดิบที่ซื้อมาแล้ว อาจช่วยหลีกเลี่ยงความประหลาดใจที่มีราคาแพง นอกจากนี้ การเข้าใจทางเลือกต่าง ๆ ในการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นที่นิยม โดยเฉพาะการผลิตใกล้บ้าน อาจช่วยทำให้ได้ประโยชน์จากสินค้าขายดีได้อย่างรวดเร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ

4.การกระจายฐานซัพพลายเออร์เป็นกลยุทธ์หลักในการกระจายความเสี่ยง โดยแทนที่จะพึ่งแหล่งจัดหาแต่เพียงแหล่งเดียวธุรกิจควรตั้งเป้าหมายที่จะทำงานกับซัพพลายเออร์หลายรายในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งวิธีดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นการลดการพึ่งพาเท่านั้น แต่ยังเป็นทางเลือกในกรณีที่มีการชะงักงันจากเรื่องใดโดยเฉพาะ

5.การลงทุนในความสัมพันธ์ระยะยาวกับซัพพลายเออร์ อาจทำให้ได้ประโยชน์มากมาย การเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งบ่อยครั้ง จะนำไปสู่ความยืดหยุ่นและการสนับสนุนที่มากขึ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการคงความต่อเนื่องทางธุรกิจ

6.สำหรับธุรกิจที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ การทำงานกับตัวแทนจัดหาก็สามารถให้การสนับสนุนและการบริหารที่มีคุณค่าได้ ซึ่งมืออาชีพเหล่านี้สามารถเสนอมุมมองของท้องถิ่นรับมือกับความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและกำกับดูแลเพิ่มเติมเพื่อทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น

กลยุทธ์การจัดหาทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จ ต้องใช้วิธีที่จะพิจารณาความสมดุลระหว่างค่าใช้จ่ายและคุณธรรมและการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ หากแบรนด์และผู้ค้าปลีกต่าง ๆ สามารถดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าวและพร้อมที่จะปรับตัวต่อสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงก็จะสามารถมีพันธมิตรการจัดหาที่แข็งแกร่ง ทำกำไร และที่ยืนหยัดไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด

-------------------------------------------

Source: JustStyle.com 

Photo credit: JustStyle

ภาวะสิ่งทอ, fashion, sourcing, strategy, profitable, Retail100 Consulting, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'67