หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส ฉบับที่ 95 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2567)

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส ฉบับที่ 95 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2567)

กลับหน้าหลัก
24.04.2567 | จำนวนผู้เข้าชม 170

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ thti

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส 

ฉบับที่ 95 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2567)

Business ข้อมูลธุรกิจ

ข่าว :

แดปเปอร์ ดึง AI ร่วมครีเอทคอลเลคชันใหม่ เอาใจสายแฟชั่น

นางสาวศิริทิพย์ ศรีไพศาล ผู้อำนวยการธุรกิจ DAPPER  บริษัท แดปเปอร์ เจ็นเนอรัล อะแพร็ล จำกัด กล่าวว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภค แดปเปอร์ในฐานะแบรนด์แฟชั่นชั้นนำ มุ่งมั่นนำเทคโนโลยี AI เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบ ท้าทายกรอบความคิดสร้างสรรค์ สร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับดีไซน์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนไทย คำนึงถึงรูปแบบการใช้ชีวิต คุณภาพเนื้อผ้าที่เหมาะกับสภาพอากาศ แพทเทิร์นการตัดเย็บคุณภาพสูงในราคาที่จับต้องได้และสีสันที่ส่งเสริมบุคลิกภาพกลุ่มลูกค้าไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลตลาด :

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2567

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2567

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 504.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 321.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 182.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 414.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 250.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 164.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 โดยภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 90.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2567

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2567

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 161.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 119.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 41.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.6 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 180.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 114.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 66.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุลในเดือนนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2567

ภาพที่ 1 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2567

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2567 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 57.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีมูลค่า 1,927.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 3,031.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.59 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้น หักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,822.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 14.78

รายละเอียดเพิ่มเติม

Design ออกแบบ

10 บริษัทแฟชั่นที่มีนวัตกรรมมากที่สุดในโลก

"บริษัทแฟชั่นที่สร้างสรรค์และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่สุดในปี 2024 ได้แก่ Circ, Skims, Canada Goose และ Citizens of Humanity บริษัทเหล่านี้โดดเด่นในด้านเทคโนโลยี ความยั่งยืน และมี style" 

การผลิตและค้าปลีกแฟชั่นในปี 2024 ให้ความสำคัญกับ "ราคาที่เหมาะสม" และ "ความยั่งยืน" มากที่สุด โดยมีบริษัทแฟชั่น 10 แห่งติดอันดับบริษัทที่สร้างสรรค์และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ตามดัชนีประจำปีของ Fast Company -Fast Company’s 2024 Most Innovative Fashion Companies featured Circ, Canada Goose, Skims and Citizens of Humanity for their strides in sustainability, tech and style.-

‘ทั้งนี้ Fast Company ยกย่องให้ ‘Circ’ เป็นผู้บุกเบิกด้านเทคโนโลยีอันล้ำสมัย ซึ่งช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (circularity) ในวงการแฟชั่น โดยเทคโนโลยีนี้สามารถแยกคืนวัสดุต้นทางที่ใช้ในผ้าผสมโพลีคอตตอน ซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยปกติแล้วผ้าประเภทนี้ใช้เวลานานถึง 200 ปีในการย่อยสลายตามธรรมชาติ แต่เทคโนโลยีของ Circ สามารถแยกเส้นใยเหล่านี้กลับคืนมาเป็นเส้นใยใหม่ได้ซ้ำ ๆ  ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความยั่งยืนให้กับวงการแฟชั่น’

รายละเอียดเพิ่มเติม

Innovation นวัตกรรม เทคโนโลยี

Carbios และ Landbell Group จะใช้การรีไซเคิลทางชีวภาพในการส่งเสริมการหมุนเวียนของเสียจาก PET 

บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Carbios และบริษัทรีไซเคิลแบบปิดวงจร Landbell Group มีแผนที่จะทำงานร่วมกัน ในการเพิ่มการหมุนเวียนของสิ่งทอและของเสียจาก PET หลังการบริโภคที่โรงงานรีไซเคิลทางชีวภาพของ Carbios ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2569 (ปี 2026) เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

Quality มาตรฐานคุณภาพ

Matalan ประกาศเป็นร้านค้าปลีกรายแรกในสหราชอาณาจักรที่ใช้เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative AI: GenAI) เพื่อกระตุ้นยอดขายออนไลน์

‘ร้านค้าปลีกเสื้อผ้าและเครื่องใช้ในบ้านสัญชาติอังกฤษอย่าง ‘Matalan’ ร่วมมือกับทีมที่เชี่ยวชาญด้านการแปลงดิจิตอลระดับโลกอย่าง ‘Kin + Carta’ ประกาศเป็นร้านค้าปลีก รายแรก ในสหราชอาณาจักรที่นำเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative AI: GenAI) มาใช้ยกระดับคำอธิบายสินค้าออนไลน์ เพื่อยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์และกระตุ้นยอดขาย’

รายละเอียดเพิ่มเติม

THTI Activities กิจกรรมสถาบันฯ

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากมหาวิทยาลัยประเทศฟิลิปปินส์

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 นางทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ พร้อมด้วย นางธิดารัตน์ วัวัฒนาช่าง ผู้จัดการแผนกธุรการและงานสนับสนุน สถาบันฯ สิ่งทอ ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมจาก Republic of the Philippines lloilo Science and Technology University นำโดย Dr.Carmelo V.Ambut, Vice President for Research and Extension  มหาวิทยาลัยจากประเทศฟิลิปปินส์ ในโอกาสเข้าศึกษาดูงาน ณ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สำหรับการเยี่ยมชมสถาบันฯ เป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการวิจัยและพัฒนาเส้นใยและสิ่งทอในจังหวัด lloilo ประเทศฟิลิปปินส์ ทั้งนี้เพื่อเรียนรู้กระบวนการด้านสิ่งทอพร้อมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรในอนาคต 

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

Newsletter, no.95, เดือนมกราคม-มีนาคม, ปี 2567, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ธุรกิจ, ออกแบบ, นวัตกรรม, มาตรฐานคุณภาพ, Quality, Design, Innovation, กิจกรรม, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'67