‘ทองคำ’ กำลังมาแรงและได้รับความนิยมอย่างมากในจีน
ร้านจำหน่ายทองคำและเครื่องประดับในนครเซี่ยงไฮ้เผยว่า ตลาดทองคำกลับมาคึกคักอีกครั้งในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา โดยสามารถจำหน่ายได้มากกว่า 1,000 แท่งต่อวัน และมีลูกค้าบางรายซื้อเครื่องประดับทอง มูลค่ากว่า 200,000 หยวน ในครั้งเดียว ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปี พบว่า ราคาทองคำโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความสนใจในทองคำมากขึ้น และเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ซื้อทองคำไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้สูงอายุอีกต่อไป แต่กลับพบว่า วัยรุ่นไปจนถึงวัยกลางคนจำนวนมากเริ่มกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก และการบริโภคทองคำ ไม่ได้กระจุกตัวเฉพาะในเมืองใหญ่อีกต่อไป แต่ได้ขยายไปเมืองรองต่าง ๆ มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการทองรูปพรรณและการลงทุนทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมากในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในจีน
จากรายงานอุตสาหกรรมเครื่องประดับปี 2023 ระบุว่า กลุ่มคนที่ซื้อทองคำส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงวัย 18-34 ปี อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ (first-tier cities) และเมืองรอง (second-tier cities) โดยเฉพาะ "เจเนอเรชั่นหลังปี 2000" (post-00s generation) มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเธอเหล่านี้มองเห็นคุณค่าของทองคำที่สามารถรักษาและเพิ่มมูลค่าได้ จึงหันมาชื่นชอบเครื่องประดับทองมากขึ้น ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดทองคำไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้สูงอายุอีกต่อไป แต่ "คนรุ่นใหม่" กลายเป็นกำลังซื้อสำคัญในปัจจุบัน
และด้วยราคาทองคำที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การบริโภคทองคำได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยสมาคมทองคำจีนเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566 (ปี 2023) ระบุว่า ปริมาณการบริโภคทองคำของจีนทั้งประเทศเมื่อปีที่ผ่านมา ขยับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.78 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2565 (ปี 2022) โดยแบ่งเป็น 1) เครื่องประดับทองคำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.97 และ 2) ทองคำแท่งและทองรูปพรรณ ขยับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.70 ทั้งนี้ ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่แค่จีนเท่านั้นที่นิยมซื้อทองคำเพิ่มขึ้น แต่คนไทยเองก็มีความนิยมในการซื้อทองเพิ่มขึ้นเช่นกัน (โดยคนไทยนิยมซื้อทองเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 8.78)
เมื่อเทียบกับผู้บริโภคทองคำก่อนหน้านี้ นอกเหนือจากการซื้อทองคำแท่งและเครื่องประดับทองแล้ว วัยรุ่นสมัยนี้ยังหลงรัก “ถั่วทอง”ที่มีน้ำหนัก 1 กรัม ด้วยเพราะราคาไม่สูงมาก ทั้งนี้ ในโซเชียลมีเดีย ผู้คนต่างแข่งขันกันเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการกักตุน “ถั่วทอง” จึงมีคำพูดว่า “ถ้าคุณเก็บถั่วได้เดือนละหนึ่งเม็ด คุณจะมี 12 กรัมต่อปี” หรือบางคนพูดว่า “ถ้าคุณเก็บถั่วได้ 500 เม็ดก็ไปแลกกับรถยนต์ 1 คันได้” หรือผู้ที่ซื้อเพื่อเป็นการลงทุนในระยะยาวมีความคิดว่า วิธีดังกล่าวถือว่าเป็นอีกวิธีที่สนุกและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการฝากเงินเข้าธนาคาร
เนื่องจากทองคำสินค้าที่ “รักษามูลค่า” มากกว่ากระเป๋าแบรนด์เนม จึงทำให้ทองคำกลายเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งและอำนาจมาตั้งแต่โบราณ จึงทำให้คนรุ่นใหม่ที่กำลังสร้างความมั่นคงทางการเงิน จึงหันกลับมาเปิดใจเรื่องการซื้อทองอีกครั้ง เช่น ลูกทองมงคลและทองคำแท่งไซส์เล็ก สำหรับเทศกาลปีใหม่และวันเกิด หรือ ทองรูปพรรณสามชุด สำหรับโอกาสสำคัญอย่างงานแต่งงานและของขวัญ
ดังนั้น แนวคิดการ “มีทองติดตัวไว้ ยามใดก็ตาม” จึงกลายเป็นเทรนด์การสะสมทองคำรูปแบบใหม่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เพราะไม่ใช่เป็นเพียงแค่กระแสแฟชั่นเท่านั้น แต่ยังใช้เหตุผลเพื่อยึดอำนาจทางการเงินไว้ในมือได้อย่างมั่นคง จึงทำให้การลงทุนทองคำกลายเป็นการลงทุนในตัวเองอีกรูปแบบหนึ่ง เมื่อแนวคิดการบริโภคของคนรุ่นใหม่มีความรอบคอบมากขึ้น ทองคำจึงกลายเป็นสินค้าที่ “รักษามูลค่า” ได้มากกว่ากระเป๋าแบรนด์เนมนั่นเอง
โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กระแสการบริโภคแบบ ‘พอเพียง’ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ทองคำกลายเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ในเรื่องของ ‘รักษา’ และ ‘เพิ่มมูลค่า’ ได้เป็นอย่างดีและกลายเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกัน คนรุ่นใหม่เหล่านี้ต่างมองหาการบริโภคที่ชาญฉลาด ซึ่งพวกเขาเลือกที่จะซื้อทอง โดยไม่ต้องกังวลกับภาวะที่เรียกว่า ‘อิ่มเกิน’ หรือ ‘ขาดเกิน’ หากเปรียบเทียบกับการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย
ทองคำ : เครื่องประดับที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและสะท้อนสไตล์คนรุ่นใหม่
ทองคำ ไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งและอำนาจอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นเครื่องประดับยอดนิยมที่สะท้อนสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ ด้วยดีไซน์ล้ำสมัย ทันเทรนด์ จากเหล่าดีไซเนอร์ชื่อดังต่างรังสรรค์เครื่องประดับทองคำหลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ขณะที่การออกแบบที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความหรูหรา จึงเหมาะกับการสวมใส่ได้ในทุกโอกาสและสวมใส่ได้หลากหลาย ทองคำยังสามารถแมทช์กับเสื้อผ้าได้หลากหลายสไตล์เหมาะกับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และยังเพิ่มเสน่ห์ให้กับผู้สวมใส่ การเลือกสวมใส่เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ ยังบ่งบอกถึงรสนิยมและความเป็นตัวตน เนื่องจากทองคำแต่ละชิ้น เปรียบเสมือนงานศิลปะที่สะท้อนเรื่องราว และหากพิจารณาในด้านมูลค่า จะเห็นได้ว่าทองคำมีมูลค่าคงทนไม่สูญเสียมูลค่า สามารถเก็บสะสม และเปรียบเสมือนมรดกตกทอดไปยังรุ่นต่อไป จึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความมั่นคง เป็นที่พึ่งพาในยามเศรษฐกิจตกต่ำ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ครอบครอง ดังนั้น ทองคำจึงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องประดับ แต่เป็นตัวแทนของสไตล์ ความมั่นคง และรสนิยมอันเป็นเอกลักษณ์ สะท้อนให้เห็นถึงความคิดที่ทันสมัยของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน
----------------------------------------
ที่มาข้อมูลและภาพ :
1.https://sghexport.shobserver.com/html/baijiahao/2024/02/19/1258062.html
2.กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
เรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม), สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ