หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / โรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนธันวาคม 2566 และสรุปปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

โรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนธันวาคม 2566 และสรุปปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

กลับหน้าหลัก
30.01.2567 | จำนวนผู้เข้าชม 78

โรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนธันวาคม 2566 และสรุปปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

ภาพรวมเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ไม่ปรากฏโรงงานในกลุ่มประกอบกิจการใหม่ ขยายกิจกรรม และยกเลิกกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว

ตารางที่ 1 : จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) 

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 1 พบว่า ภาพรวมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนรวม 407 โรงงาน โดยมีจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ (สะสม) ในปีดังกล่าวรวม 5 โรงงาน และเงินลงทุนรวม 185.4 ล้านบาท สำหรับลักษณะกิจการหรือประเภทโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ (สะสม) สูงสุด ได้แก่ โรงงานทำเครื่องประดับ โดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี จำนวน 3 โรงงาน รองลงมาได้แก่ โรงงานทำเครื่องใช้ด้วยทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรือกะไหล่ทอง หรือโลหะที่มีค่า และโรงงานตัด เจียระไน หรือขัดเพชร พลอย หรืออัญมณี ประเภทละ 1 โรงงาน ตามลำดับ

ตารางที่ 2 : จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) 

 ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

 รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 2 พบว่า จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนแรงงานที่เข้าระบบในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) จำนวน 379 คน มีจำนวนแรงงานที่อยู่ในระบบของโรงงานในกลุ่มขยายกิจการ จำนวนรวม 225 คน และมีจำนวนแรงงานที่ออกจากระบบในโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) จำนวน 1,299 คน และส่งผลให้ภาพรวม ในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนแรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย จำนวนรวมทั้งสิ้น 52,562 คน 

ภาพที่ 1 แสดงมูลค่าเงินลงทุนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ) ในปี พ.ศ. 2566

จากภาพที่ 1 พบว่า ภาพรวมเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ ในปี พ.ศ. 2566 มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 173.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.0 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลักษณะกิจการที่มีการลงทุนสูงสุดใน 3 อันดับแรก ได้แก่ โรงงานทำเครื่องประดับ โดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี จำนวนรวม 2 โรงงาน เงินลงทุนรวม 152.1 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ โรงงานทำเครื่องใช้ด้วยทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรือกะไหล่ทอง หรือโลหะที่มีค่า จำนวน 1 โรงงาน เงินลงทุนรวม 16.8 ล้านบาท และโรงงานตัด เจียระไน หรือขัดเพชร พลอย หรืออัญมณี จำนวน 1 โรงงาน เงินลงทุนรวม 5.0 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ ในไตรมาสที่ 4/2566 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566) มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 78.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลักษณะกิจการที่มีการลงทุนสูงสุดในช่วงไตรมาสดังกล่าว มีจำนวน 1 โรงงาน เงินลงทุนรวม 78.0 ล้านบาท ได้แก่ โรงงานทำเครื่องประดับ โดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี 

-----------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : 

        กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

-----------------------------------------

จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

มกราคม 2567

โรงงานอัญมณี, อุตสาหกรรม, อัญมณีและเครื่องประดับ, ปี 2566, เดือนธันวาคม, ไตรมาส 4, สะสม, 12 เดือน, ม.ค.-ธ.ค., THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'67