หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / โรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนธันวาคม 2566 และสรุปปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

โรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนธันวาคม 2566 และสรุปปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

กลับหน้าหลัก
29.01.2567 | จำนวนผู้เข้าชม 81

โรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนธันวาคม 2566 และสรุปปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

“ภาพรวมเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ไม่ปรากฏโรงงานในกลุ่มประกอบกิจการใหม่ ขยายกิจกรรม และยกเลิกกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว”

ตารางที่ 1 : จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) 

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 1 พบว่า ภาพรวมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย ในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนรวม 701 โรงงาน โดยมีจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ (สะสม) ในปีดังกล่าวรวม 11 โรงงาน และเงินลงทุนรวม 296.3 ล้านบาท สำหรับลักษณะกิจการหรือประเภทโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ (สะสม) สูงสุด ได้แก่ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจากหนังสัตว์ ขนสัตว์ เขาสัตว์ กระดูกสัตว์ หนังเทียม จำนวน 4 โรงงาน รองลงมาได้แก่ โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ปนหรือบด ฟอก ขัด และแต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจากใยแก้ว และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากพลาสติกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างการทำรองเท้าหรือชิ้นส่วนของรองเท้า ประเภทละ 2 โรงงาน ตามลำดับ และสุดท้ายได้แก่ โรงงานผลิตรองเท้า หรือชิ้นส่วนของรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็ง ยางอัดเข้ารูป หรือพลาสติกเข้ารูป จำนวน 1 โรงงาน

ตารางที่ 2 : จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) 

 ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 2 พบว่า จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย ในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนแรงงานที่เข้าระบบในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) จำนวน 374 คน และมีจำนวนแรงงานที่ออกจากระบบในโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) จำนวน 1,086 คน ทั้งนี้ ไม่ปรากฏจำนวนแรงงานของกลุ่มขยายกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว และส่งผลให้ภาพรวม ในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนแรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย จำนวนรวมทั้งสิ้น 80,385 คน

ภาพที่ 1 แสดงมูลค่าเงินลงทุนของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย (กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ) ในปี พ.ศ. 2566

จากภาพที่ 1 พบว่า ภาพรวมเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ ในปี พ.ศ. 2566 มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 264.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.3 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลักษณะกิจการที่มีการลงทุนสูงสุดใน 3 อันดับแรก ได้แก่ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจากใยแก้ว จำนวนรวม 2 โรงงาน เงินลงทุนรวม 111.0 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจากหนังสัตว์ ขนสัตว์ เขาสัตว์ กระดูกสัตว์ หนังเทียม จำนวน 3 โรงงาน เงินลงทุนรวม 79.1 ล้านบาท และโรงงานผลิตรองเท้า หรือชิ้นส่วนของรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็ง ยางอัดเข้ารูป หรือพลาสติกเข้ารูป จำนวน 1 โรงงาน เงินลงทุนรวม 53.0 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ ในไตรมาสที่ 4/2566 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566) มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 19.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 78.2 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลักษณะกิจการที่มีการลงทุนสูงสุดในช่วงไตรมาสดังกล่าว มีจำนวน 1 โรงงาน เงินลงทุนรวม 19.7 ล้านบาท ได้แก่ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจากหนังสัตว์ ขนสัตว์ เขาสัตว์ กระดูกสัตว์ หนังเทียม 

-----------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : 

        กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

-----------------------------------------

จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

มกราคม 2567

โรงงานเครื่องหนัง, อุตสาหกรรม, เครื่องหนังรองเท้า, ปี 2566, เดือนธันวาคม, ไตรมาส 4, สะสม, 12 เดือน, ม.ค.-ธ.ค., THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'67