หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / แบรนด์เสื้อผ้าและผู้ค้าปลีกจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากขยะสิ่งทอตามกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป

แบรนด์เสื้อผ้าและผู้ค้าปลีกจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากขยะสิ่งทอตามกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป

กลับหน้าหลัก
31.01.2567 | จำนวนผู้เข้าชม 181

แบรนด์เสื้อผ้าและผู้ค้าปลีกจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากขยะสิ่งทอตามกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป


By 1 January 2025, EU countries will need to offer separate collections of textiles for reuse, preparing for reuse and recycling. Credit: Shutterstock

‘กฎระเบียบใหม่ฉบับดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันและลดขยะสิ่งทอในสหภาพยุโรป’

สมาชิกในคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรปได้ลงคะแนนเพื่อรับรองการนำเสนอการปรับปรุงของระเบียบการจัดการขยะในกรอบด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป ซึ่งกฎระเบียบใหม่จะกำหนดแผนความรับผิดชอบของผู้ผลิตเพิ่มเติมสำหรับสิ่งทอที่จำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรป

โดยในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 ประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปจะต้องมีการเก็บรวบรวมและจำแนกผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ นับเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกฎระเบียบฉบับดังกล่าวต่อการนำกลับมาใช้ซ้ำและการรีไซเคิล

ทั้งนี้ กฎระเบียบใหม่ฉบับนี้ครอบคลุมถึงเสื้อผ้าและเครื่องประกอบการแต่งกาย เช่น หมวก รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ และรวมถึงสินค้าที่ทำจากหนัง หนังผสม ยาง หรือพลาสติกก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎระเบียบนี้ด้วยเช่นกัน

บริษัทที่จำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคในสหภาพยุโรปจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวม คัดแยก และการรีไซเคิลสิ่งทอ โดยจำนวนเงินที่เรียกเก็บจะคิดตามสัดส่วนของต้นทุนในกระบวนการผลิตหรือรีไซเคิล

คาดการณ์ว่า เสื้อผ้าและรองเท้าจะมีจำนวนปริมาณขยะประมาณ 5.2 ล้านตันในสหภาพยุโรป หรือเทียบเท่ากับขยะ 12 กิโลกรัม : คน : ปี ซึ่งในปัจจุบัน พบว่า สิ่งทอจากทั่วโลกถูกนำกลับไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพียง 1% 

การโหวตเพื่อลงคะแนนมีมติเห็นชอบ 72 เสียง ไม่มีผู้ใดคัดค้าน และมีงดออกเสียง จำนวน 3 เสียง กฎระเบียบฉบับนี้จะเพิ่มเป้าหมายในการลดขยะในกระบวนการผลิตด้วยเช่นกัน นั่นจึงส่งผลให้เป้าหมายใหม่สำหรับประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ต้องการที่จะลดปริมาณขยะเฉลี่ยที่ผลิตขึ้นในการผลิตลดลงร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2573 (ปี 2030) จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 10

ทั้งนี้ ธุรกิจขายปลีก ร้านอาหาร ธุรกิจบริการอาหารและภาคครัวเรือน จะต้องลดปริมาณขยะลงร้อยละ  40 ต่อคนต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2573 (ปี 2030) สำหรับการคำนวณการลดลงจะวัดจากปริมาณขยะโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง 2565 (ปี 2020 ถึง 2022)

โดยสมาชิกสภายุโรป (MEPs) ได้ขอให้คณะกรรมาธิการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเป้าหมายที่สูงขึ้นสำหรับปี พ.ศ. 2578 (ปี 2035) อย่างน้อยร้อยละ 30 และร้อยละ 50 ตามลำดับ

ทั้งนี้ คุณ Anna Zalewska กล่าวว่า "สำหรับสิ่งทอเราจะเร่งรัดแก้ไขช่องโหว่โดยรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ของใช้ในครัวเรือน (non-household products) เช่น พรม ที่นอน ตลอดจนการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้ เรายังขอเป้าหมายในการลดปริมาณของขยะจากสิ่งทอ โดยมีการกำกับดูแลตรวจสอบการส่งออกสิ่งทอที่ใช้แล้วด้วยเช่นกัน"

‘การกำหนดและจัดทำโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ย่อมส่งผลให้การรวบรวม คัดแยก และจัดการขยะอย่างเป็นระบบก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้สิ่งของที่สามารถรีไวเคิลได้ จะถูกแยกออกก่อนที่จะถูกส่งไปยังเตาเผาขยะหรือหลุมฝังกลบ’

ทั้งนี้คาดว่า รัฐสภายุโรปจะลงคะแนนเสียงเห็นชอบเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าว ในระหว่างการประชุมเต็มคณะฯ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งรัฐสภาชุดใหม่จะตามมาหลังการเลือกตั้งสหภาพยุโรปในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567

หมายเหตุ : กลยุทธ์สิ่งทอฉบับใหม่นี้ได้ถูกเสนอครั้งแรกโดยคณะกรรมการของสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2565 (ปี 2022) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะยืดอายุการใช้งานของเครื่องแต่งกายให้ยาวนานขึ้น ง่ายต่อการซ่อมแซม และสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังจุดขายและจำหน่ายสินค้าได้

----------------------------------------

Source: JustStyle.com 

Photo credit: Shutterstock 

กฎระเบียบสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, สิ่งทอ, เครื่องนุ่งห่ม, EU, new rules, waste, costs, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'67