หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566

กลับหน้าหลัก
17.11.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 101

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่า 12,419.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาอยู่ที่ 11,128.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.22 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 6,643.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 9.09 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) รายเดือน พบว่า เดือนกันยายน 2566 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 124.41 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2566

 ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2565 และปี 2566

 ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สถานการณ์การส่งออก

สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดใน 9 เดือนแรกของปีนี้ คือ ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.30 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไทยโดยรวม ซึ่งปรับตัวลงร้อยละ 29.15 ขณะที่ราคาทองคำโดยเฉลี่ยในตลาดโลกลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1,916.96 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (https://www.kitco.com) โดยราคาทองคำยังมีทิศทางลดลงอันเนื่องมาจากยังคงได้รับแรงกดดันจากเงิน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น รวมทั้งการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่คงอยู่ในระดับสูงจะนานขึ้นในปีนี้ซึ่งลดโอกาสการทำกำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะดันต้นทุนเสียโอกาสในการลงทุนทองคำ ขณะที่กองทุนทองคำ SPDR ยังขายทองคำออกมาต่อเนื่องตลอดเดือน 

เครื่องประดับแท้ ้เป็นสินค้าส่งออกในอันดับ 2 ในสัดส่วนร้อยละ 29.94 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.91 โดยสินค้าส่งออกหลัก คือ เครื่องประดับทอง ซึ่งขยายตัวได้ร้อยละ 26.81 จากการส่งออกไปยังฮ่องกง สหราชอาณาจักร อิตาลี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตลาดในอันดับที่ 2-5 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 256.80, ร้อยละ 22.67, ร้อยละ 55.08 และร้อยละ 4.82 ตามลำดับ ขณะที่ตลาดอันดับ 1 อย่างสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 12.35 ส่วนเครื่องประดับเงิน หดตัวลดลงร้อยละ 12.61 เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาด อันดับที่ 1-2 และ 4-5 อย่างสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ลดลงร้อยละ 19.30, ร้อยละ 18.65, ร้อยละ 26.59 และร้อยละ 14.83 ตามลำดับ ส่วนตลาดในอันดับ 3 อย่างอินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.37 การส่งออกเครื่องประดับ แพลทินัม เติบโตได้ร้อยละ 0.89 มาจากการส่งออกไปยังฮ่องกงและอิตาลี ตลาดอันดับ 3 และ 5 ขยายตัวได้สูงขึ้นร้อยละ 299.03 และร้อยละ 148.23 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปยังตลาดอันดับ 1-2 และ 4 ทั้งสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 15.70, ร้อยละ 3.77 และร้อยละ 35.17 ตามลำดับ

พลอยสี เป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 มีสัดส่วนร้อยละ 14.87 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.30 โดยสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้เป็นพลอยเนื้อแข็งเจียระไน (ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต) มีมูลค่าสูงขึ้นร้อยละ 84.35 เป็นผลจากการส่งออกไปยังตลาดใน 5 อันดับแรก ทั้งฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และฝรั่งเศส ล้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 487.78, ร้อยละ 15.87, ร้อยละ 23.97, ร้อยละ 6.65 และร้อยละ 50.29 ตามลำดับ ส่วนพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ยังขยายตัวได้ร้อยละ 106.90 เนื่องมาจากการส่งออกไปยังฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และอิตาลี ตลาดสำคัญทั้ง 5 อันดับแรกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 479.89, ร้อยละ 46.65, ร้อยละ 133.27, ร้อยละ 174.62 และร้อยละ 255.70 ตามลำดับ

เพชร เป็นสินค้าส่งออกในอันดับ 4 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 9.18 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 26.27 โดยเพชรเจียระไนเป็นสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้ ปรับตัวลดลงร้อยละ 26.35 จากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอันดับ 2-4 อย่างเบลเยียม อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ได้ลดลงร้อยละ 15.63, ร้อยละ 80.83 และร้อยละ 46.29 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปยังตลาดอันดับ 1 และ 5 อย่างฮ่องกงและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังเพิ่มขึ้นได้ ร้อยละ 87.48 และร้อยละ 0.66 ตามลำดับ

เครื่องประดับเทียม เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.03 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 6.15 จากการส่งออกไปยังฮ่องกง ฝรั่งเศส และลิกเตนสไตน์ ตลาดอันดับที่ 2-4 ได้ลดลงร้อยละ 6.33, ร้อยละ 9.72 และร้อยละ 45.25 ส่วนตลาดอันดับที่ 1 และ 5 อย่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร เติบโตขึ้นร้อยละ 7.46 และร้อยละ 0.49 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 9 เดือนแรกของปี 2566 นั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยสามารถส่งออกไปยังฮ่องกง อิตาลี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญอันดับ 1, 6 และ 9 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 204.32, ร้อยละ 40.08 และร้อยละ 10.59 ตามลำดับ ส่วนสหรัฐอเมริกา อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และเบลเยียม ตลาดอันดับที่ 2-5, 6-7 และ 10 ลดลงร้อยละ 12.95, ร้อยละ 56.78, ร้อยละ 18.36, ร้อยละ 5.57, ร้อยละ 5.89, ร้อยละ 37.97 และร้อยละ 5.30 ตามลำดับ

 ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยรายสินค้า ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2565 และปี 2566

 ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

การส่งออกไป ฮ่องกง ที่ขยายตัวได้นั้น มาจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างพลอยเนื้อแข็งเจียระไน รวมทั้งสินค้า สำคัญอย่างเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้ออ่อน เจียระไน และเครื่องประดับเงิน ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 487.78, ร้อยละ 87.48, ร้อยละ 256.80, ร้อยละ 479.89 และร้อยละ 40.35 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 6.33 

มูลค่าการส่งออกไปยัง อิตาลี ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทอง และสินค้าสำคัญรองมาอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไนและเครื่องประดับเงิน ล้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.08, ร้อยละ 6.65, ร้อยละ 255.70 และร้อยละ 72.87 ตามลำดับ 

ขณะที่การส่งออกไปยัง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่เติบโตได้ดีนั้น จากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการอย่าง เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อน เจียระไน ได้สูงขึ้นร้อยละ 4.82, ร้อยละ 0.66, ร้อยละ 193.62 และร้อยละ 14.30 ตามลำดับ

การส่งออกไป สหรัฐอเมริกา ที่หดตัวลงนั้น เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน (ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 65) ได้ลดลงร้อยละ 12.35 และร้อยละ 19.30 รวมทั้งสินค้าสำคัญอย่างเพชรเจียระไนที่ลดลงร้อยละ 46.29 ส่วนการส่งออกพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ยังเติบโตได้ร้อยละ 15.87 และร้อยละ 46.65 ตามลำดับ

สำหรับการส่งออกไปยัง อินเดีย ลดลงจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน (มีสัดส่วนร้อยละ 31) ลดลงร้อยละ 80.83 รวมทั้งสินค้าสำคัญอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ที่ลดลงร้อยละ 22.58 และร้อยละ 10.70 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับเงินและอัญมณีสังเคราะห์ ยังขยายตัวได้ร้อยละ 61.37 และร้อยละ 21.57 ตามลำดับ

ขณะที่การส่งออกไป เยอรมนี มีมูลค่าลดลงเป็นผลมาจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน (ซึ่งเป็นสินค้าหลักในสัดส่วนร้อยละ 74) รวมทั้งสินค้าสำคัญอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเครื่องประดับทอง ได้ลดลงร้อยละ 18.65, ร้อยละ 14.97 และร้อยละ 31.12 ตามลำดับ ส่วนสินค้ารองลงมาอย่างแพลทินัมและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนยังเติบโตได้ร้อยละ 56 และร้อยละ 8.75 ตามลำดับ 

ส่วนการส่งออกไป สหราชอาณาจักร ปรับตัวลดลง เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับเงิน พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ได้ลดลงร้อยละ 26.59, ร้อยละ 16.75 และร้อยละ 33.51 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทองยังขยายตัวได้ร้อยละ 22.67

มูลค่าการส่งออกไป สวิตเซอร์แลนด์ ที่ลดลงนั้น เนื่องจากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเพชรเจียระไนและ เครื่องประดับเทียมที่ลดลงร้อยละ 32.40 และร้อยละ 3.88 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าสำคัญอื่น ๆ อย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน และเครื่องประดับทอง ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

การส่งออกไปยัง สิงคโปร์ ที่หดตัวลงมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการอย่างเครื่องประดับแพลทินัม เศษหรืของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อน เจียระไน ได้ลดลงร้อยละ 15.70, ร้อยละ 1.08, ร้อยละ 85.27 และร้อยละ 95.69 ตามลำดับ มีเพียงเครื่องประดับทองที่เป็นสินค้าหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.17

สำหรับการส่งออกไปยัง เบลเยียม ซึ่งลดลงนั้น เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน (ที่มี สัดส่วนสูงถึงร้อยละ 74) ได้ลดลงร้อยละ 15.63 ส่วนเครื่องประดับเทียมและเครื่องประดับทอง ยังขยายตัวได้

แผนภาพที่ 1 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

บทสรุป

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายนปีนี้ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 10.40 แต่หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 และหากพิจารณาถึงมูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เมื่อหักออกด้วยมูลค่าการส่งออกทองคำและมูลค่าสินค้าส่งกลับจากต่างประเทศ พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสุทธิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 มีรายละเอียดดังตารางที่ 3 โดยสินค้าของไทยที่เติบโตได้ดีคือ เครื่องประดับทอง เครื่องประดับแพลทินัม พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน

 ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2565 และปี 2566

 ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงซบเซาในหลายประเทศ โดยกองทุน IMF คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 3 แต่ปรับลดคาดการณ์การเติบโตในปีหน้าลงเหลือร้อยละ 2.9 จากการที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มอ่อนแอลง โดยเฉพาะสองประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯ และจีน ล้วนประสบปัญหาทางเศรษฐกิจยืดเยื้อและมีปัญหาขัดแย้งระหว่างกัน ขณะที่ปัญหาเงินเฟ้อแม้ทรงตัวแต่ยังอยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงขึ้นกระทบต่อต้นทุนทางการเงิน ส่วนปัญหาการสู้รบระหว่างอิสราเอสและฮามาส หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายแห่งที่ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สถานการณ์ในรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้จากปัจจัยหนุนหลายประการที่ส่งเสริม ความสามารถในการแข่งขัน อย่างอัตราเงินเฟ้อของไทยที่อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศคู่ค้าหลายประเทศ ค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่าคู่แข่งทางการค้าหลายประเทศ เมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่ม OECD มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลจับจ่ายใช้สอยท้ายปีทำให้มีแรงกระตุ้นคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มเติม จึงเป็นปัจจัยบวกทำให้ไทยรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ทั้งนี้ นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้วการนำแนวทางเปิดตลาดใหม่ รักษาตลาดเดิม และฟื้นฟูตลาดเก่า มาปรับใช้ในกลยุทธ์การตลาดสร้างแนวทางการเข้าสู่แต่ละตลาดได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถสร้างอัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของสินค้าตัวเองให้ชัดในแต่ละตลาดได้ร่วมกับการเตรียมความพร้อมให้การดำเนินธุรกิจสอดรับกับกฎระเบียบทางการค้าใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น BCG Carbon Credit หรือเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ และหลายสินค้าได้สร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ของตนเอง นอกจากนี้ การบริหารและกระจายความเสี่ยงเพื่อพร้อมรับกับความท้ายทายของเศรษฐกิจโลกเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เพราะการเก็บไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว ย่อมไม่เป็นผลดีในสภาวะแห่งความไม่แน่นอนนี

ศูนยข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ตุลาคม 2566


*พิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71 ว่าด้วย “ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ โลหะมีค่า โลหะที่หุ้มติดด้วยโลหะมีค่า และของที่ทำด้วยของดังกล่าว เครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณที่เป็นของเทียม เหรียญกษาปณ์”

นำเข้าส่งออกอัญมณี, อุตสาหกรรม, อัญมณีและเครื่องประดับ, GIT, สถานการณ์, การส่งออก, Export, ปี 2566, สะสม 9 เดือน, มกราคม-กันยายน, กันยายน 2566, GIT Information Center