หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566

โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566

กลับหน้าหลัก
17.10.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 761

โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566

 ตารางที่ 1 : จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566 

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 1 พบว่า ภาพรวมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2566 มีจำนวนรวม 2,643 โรงงาน จำแนกเป็นโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) สะสม 27 โรงงาน เงินลงทุนรวม 664.4 ล้านบาท และมีจำนวนโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) ในช่วงเวลาดังกล่าว สะสมจำนวน 29 โรงงาน 

ตารางที่ 2 : จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566 

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 2 พบว่า จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2566 มีจำนวนแรงงานที่เข้าระบบในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) จำนวน 1,759 คน จำนวนแรงงานที่อยู่ในระบบของโรงงานที่ขยายกิจการ จำนวน 35 คน และจำนวนแรงงานที่ออกจากระบบในโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) จำนวน 2,852 คน

ภาพที่ 1 แสดงมูลค่าเงินลงทุนของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ)

จากภาพที่ 1 พบว่า ภาพรวมเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ ในไตรมาสที่ 3/2566 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566) มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 479.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวน 8 โรงงาน และมีแรงงาน จำนวน 660 คน ถัดไป คือ โรงงานเส้นใยและปั่นด้าย และโรงงานผลิตซึ่งมิได้ทำด้วยวิธีถัก/ทอ (ทำจากเส้นใยที่ไม่ได้ใช้แล้ว) ประเภทละ 2 โรงงาน และมีแรงงาน จำนวน 67 คน และ 12 คน พร้อมด้วยโรงงานทอผ้า โรงงานผลิตวัสดุจากเส้นใยสำหรับใช้ทำเบาะ นวม และโรงานเคหะสิ่งทอ ประเภทละ 1 โรงงาน และมีแรงงาน จำนวน 50 คน 20 คน และ 17 คน ตามลำดับ

ขณะที่โรงงานที่ขยายกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว มีจำนวน 2 โรงงาน ได้แก่ โรงงานเส้นใยและปั่นด้าย และโรงงานที่ยกเลิกกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว มีจำนวน 16 โรงงาน จำแนกเป็น โรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวน 5 โรงงาน ถัดไป คือ โรงงานเส้นใยและปั่นด้าย และโรงงานทอผ้า ประเภทละ 3 โรงงาน ถัดไป ได้แก่ โรงงานเคหะสิ่งทอ มีจำนวน 2 โรงงาน พร้อมด้วยโรงงานพิพท์ผ้า โรงงานผลิตพรมน้ำมันหรือสิ่งปูพื้น และโรงงานผลิตซึ่งมิได้ทำด้วยวิธีถัก/ทอ (ทำจากเส้นใยที่ไม่ได้ใช้แล้ว) ประเภทละ 1 โรงงาน

-----------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : 

        กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

-----------------------------------------

จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ตุลาคม 2566

โรงงานสิ่งทอ, อุตสาหกรม, สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม, ปี 2566, สะสม, 9 เดือน, ม.ค.-ก.ย., ไตรมาส 3, THTI