หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส ฉบับที่ 93 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566)

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส ฉบับที่ 93 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566)

กลับหน้าหลัก
19.07.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 165

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส 

ฉบับที่ 93 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566)

Business ข้อมูลธุรกิจ

ข่าว :

ไต้หวัน ปักหมุดประเทศไทย สู่ฐานการผลิตนวัตกรรมแห่งอาเซียน

นายนิค นี ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย (TECO) กล่าวว่า ไต้หวันกำลังมองหาพันธมิตรทางธุรกิจในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพื่อเป็นฐานการผลิตสินค้านวัตกรรมของบริษัทต่างๆในประเทศไต้หวันเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งปัจจุบัน บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เข้ามาลงทุนแล้ว อาทิ เช่น เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลตลาด :

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนพฤษภาคม 2566

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนพฤษภาคม 2566

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนพฤษภาคม 2566 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 548.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 359.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.7 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 189.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.3 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 461.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.1 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 308.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.5 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 152.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 โดยภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 87.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนพฤษภาคม 2566

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนพฤษภาคม 2566

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนพฤษภาคม 2566 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 174.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 114.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 60.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 233.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 162.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 71.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุลในเดือนนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2566

ภาพที่ 1 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2566

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2566 ลดลง ร้อยละ 15.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2565 ที่มีมูลค่า 7,589.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่6,432.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็น สินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.53 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการ ส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,461.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.24 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) รายเดือน พบว่า เดือนพฤษภาคม 2566 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.16 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2566

รายละเอียดเพิ่มเติม

Design ออกแบบ

สถานกาณ์ตลาดโลกธุรกิจสินค้าแฟชั่น ปี 2566

ในปี 2566 อุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลกจะต้องต้านทานภาวะเงินเฟ้อ ในขณะเดียวกันก็ต้องมองหาโอกาสในการเปลี่ยนรูปแบบการบริโภค ด้วยกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล และกำหนดแนวทางการผลิตทางเลือกใหม่ การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ได้ปิดกั้นนักเดินทางซึ่งเป็นผู้ผลักดันอุตสาหกรรมแฟชั่นในทุกมุมโลก หลังการยกเลิกมาตรการโควิดจะเห็นการเคลื่อนไหวของผู้คนหลายล้านคนกลับมาเดินทางอีกครั้ง และช่วยฟื้นฟูช่องทางของแฟชั่นด้วย แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อและสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงดำเนินอยู่ แต่คาดว่าสินค้าแฟชั่นในวงกว้างยังน่าจะเติบโตได้ระหว่างร้อยละ 5-10 ในปี 2566 โดยได้แรงหนุนจากกำลังซื้อที่แข็งแกร่งของจีนและสหรัฐอเมริกา

รายละเอียดเพิ่มเติม

Innovation นวัตกรรม เทคโนโลยี

EcoPoly-NovCel-ReQutun: กลุ่มเส้นด้ายชนิดใหม่ที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัท Aditya Birla Yarn ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา (Jakarta) ประเทศอินโดนีเซีย ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมุ่นต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำเสนอกลุ่มเส้นด้ายชนิดใหม่ ประกอบด้วย EcoPoly, NovCel และ ReQutun ตามลำดับ 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Quality มาตรฐานคุณภาพ

มาตรฐาน ‘หนัง’ กับการผลิตที่ยั่งยืน

จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ธุรกิจต่าง ๆ ก็หันไปยังหนังที่ยั่งยืนที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความตระหนักมากกว่าสมัยก่อน และคาดหวังมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าแบรนด์ที่ตนซื้อ จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีจริยธรรมและความโปร่งใส ผลก็คือ อุตสาหกรรมเครื่องหนังต้องปรับตัว และเนื่องจากหนังเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่มีความสำคัญมากที่สุดในอุตสาหกรรมรองเท้า ดังนั้น การที่จะทราบว่าหนังหรือรองเท้าผลิตอย่างยั่งยืนหรือไม่ ก็คือ การมีใบรับรอง ดังตัวอย่างมาตรฐานและการให้ใบรับรอง ต่อไปนี้ :

รายละเอียดเพิ่มเติม

THTI Activities กิจกรรมสถาบันฯ

งานสัมมนา “มาตรการทางเศรษฐศาสตร์/มาตรการจูงใจ แนวทางและกลไกเพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการผลิตที่ยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม”

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 นางสาวพธู ทองจุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเข้าร่วมงานสัมมนาพร้อมเป็นวิทยากรการเสวนาและร่วมแสดงความคิดเห็น ใน หัวข้อ "มาตรการทางเศรษฐศาสตร์/มาตรการจูงใจ แนวทางและกลไกเพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการผลิตที่ยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม" ซึ่งจัดโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับสถาบันวิจ้ยเศรษฐกิจการคลัง โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานเข้าร่วมการเสวนา ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ดีพร้อมยกขบวนสินค้าฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย จัดแสดงพร้อมจำหน่าย

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าด้วยปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน ทั้งจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ ปัญหาเงินเฟ้อในแต่ละประเทศที่สูงขึ้นจนต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้ริโภคที่ลดลง หรือปัญหาเรื่องต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายไปทั่วโลก ดังนั้น ในปี 2566 อาจเป็นปีที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงจากปัจจัยข้างต้น อย่างไรก็ตามในวิกฤตย่อมเป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวพร้อมรับมือจากความเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและเข้าสู่วิถีใหม่ได้อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับภาคธุรกิจสิ่งทอให้เติบโตด้วยกระบวนการทางธุรกิจที่เข้มข้น ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมโต โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน” และหนึ่งในนั้น คือ โตไว (Speed) เป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเติบโตได้อย่างรวดเร็วด้วยการสร้างมาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนำความคิดสร้างสรรค์มาดำเนินธุรกิจให้สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดผ่านกิจกรรมดีพร้อมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (DIPROM Thailand TextilesTag) เพื่อเร่งยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยทั้งทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ด้วยการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และเตรียมความพร้อมเพื่อยื่นขอการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย “ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย หรือ Thailand Textiles Tagรวมถึงการทดสอบตลาดและการจัดแสดงผลงานอันจะเป็นการสร้างโอกาสเพื่อให้แข่งขันได้ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ ในงาน DIPROM ยกขบวนจัดแสดงผลงานและจำหน่ายสินค้า “ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย” ระหว่างวันที่ 11 – 14 กรกฎาคมนี้ ณ ชั้น G ศูนย์การค้าธนิยะ พลาซ่า ถนนสีลม บางรัก กรุงเทพฯ

รายละเอียดเพิ่มเติม

Newsletter, no.93, เดือนกรกฎาคม-กันยายน, ปี 2566, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ธุรกิจ, ออกแบบ, นวัตกรรม, มาตรฐานคุณภาพ, Quality, Design, Innovation, กิจกรรม, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'66