หน้าแรก / THTI Insight / องค์ความรู้ / Carbon Credit ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

Carbon Credit ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

กลับหน้าหลัก
19.04.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 282

Carbon Credit ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ความต้องการคาร์บอนเครดิตในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากกระแสความตื่นตัวและความมุ่งมั่นทั้งในระดับประเทศและระดับองค์กรที่มีการตั้งเป้าหมายที่จะเป็นความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) การคาดการณ์ความต้องการคาร์บอนเครดิตจากกิจกรรมชดเชยคาร์บอนประเภทต่าง ๆ พบว่า จะมีความต้องการคาร์บอนเครดิตรวม ประมาณ 182-197 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือมีความต้องการรวมถึงปี 2573 ที่ 1,823-1,973 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีแนวโน้มที่จะได้รับความสำคัญมากขึ้นในอนาคต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้น่าจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต โดยเฉพาะ SME ยังต้องการการสนับสนุนด้านนโยบาย เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจในวงกว้างเห็นความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาตลาดกลางเพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน หรืออาจมีต้นทุนสูงในการลงทุนกับเทคโนโลยีเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับในระยะสั้นอาจได้รับประโยชน์จากราคาคาร์บอนเครดิตของไทยที่ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจของตนเองด้วยต้นทุนต่ำ ในระยะกลาง การพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานคาร์บอนเครดิตของไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขยายความต้องการคาร์บอนเครดิตของไทยไปยังตลาดโลก ส่งผลให้ช่องว่างของราคาตลาดคาร์บอนเครดิตไทยใกล้เคียงกับตลาดโลกมากขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจที่ดำเนินโครงการเพื่อสร้างคาร์บอนเครดิต อาทิ โครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีการดูดซับและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนพลังงานสะอาด ย่อมได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุนในการพัฒนาโครงการมากขึ้น ประกอบกับการรวมกลุ่มของภาคเอกชนที่จะช่วยสร้างบรรยากาศการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภายในประเทศ อีกทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (REC) หรือใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในอนาคต ก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนในการสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการซื้อขายคาร์บอนเครดิตของไทยในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลดีต่อโครงสร้างพื้นฐาน และช่วยให้ธุรกิจไทยบรรลุการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมาย

รายละเอียดเพิ่มเติมตามไฟล์แนบ_'Carbon Credit ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม'

สนับสนุน โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

เรียบเรียง : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม)

ภายใต้โครงการศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมแฟชั่น (อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า อัญมณีและเครื่องประดับ) ประจำปี พ.ศ.2566

Textile Garment Profile, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, Carbon Credit, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'66