หน้าแรก / THTI Insight / องค์ความรู้ / หลักการทั่วไปของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

หลักการทั่วไปของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กลับหน้าหลัก
01.03.2561 | จำนวนผู้เข้าชม 7923

หลักการทั่วไป

ความสามารถปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ต้องอาศัยความความร่วมมือระหว่างผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค และภาครัฐผู้บังคับใช้กฏระเบียบ โดยมุ่งเน้นในประเด็นที่มีความสำคัญ เช่นการบังคับใช้กฏระเบียบเกี่ยวกับการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมและครัวเรือน การควบคุมการปล่อยของเสียทั้งอากาศ น้ำและกากให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งแนวทางสำคัญได้แก่
               1.การหลีกเลี่ยง วัตถุดิบหรือกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
               2.การลด ปริมาณการใช้วัตถุดิบ ทั้งทรัพยากรการผลิต และปริมาณการบริโภคที่เกินความจำเป็น
               3.การนำกลับมาใช้ใหม่

มนุษย์ สิ่งทอ และสิ่งแวดล้อมมีปฏิสัมพันธ์กันในตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ดังนี้

การผลิต

การใช้งาน

การกำจัด

ผลิตเส้นใย ปั่นด้าย ทอ/ถักผ้า ฟอกย้อมตกแต่งสำเร็จ ตัดเย็บ

การสวมใส่, การซักล้าง, การทำให้แห้ง

รีไซเคิล การย่อยสลาย การฝังกลบ


การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ Life-cycle Analysis
เป็นวิธีการประเมินเชิงปริมาณของการใช้ทรัพยากร มลพิษที่เกิดขึ้นและผลกระทบสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการ โดยพิจารณาตลอดวัฎจักรชีวิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการนำไปกำจัด

การประเมินวัฎจักรชีวิตนั้นมีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ
               1.การกำหนดเป้าหมายและขอบเขต (Goal and Scope)
               2.การวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory) (ตัวอย่างตามตาราง)
               3.การประเมินผลกระทบตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Impact Assessment)
               4.การแปรผล (Interpretation)

 

อุตสาหกรรมสิ่งทอเริ่มให้ความสำคัญกับการประเมิน LCA เพราะจะช่วยให้ระบุโอกาสที่จะประหยัดวัตถุดิบและพลังงาน เป็นประโยชน์ต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและผลประกอบการที่ดีขึ้น ซึ่งการประเมิน LCA ได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของอนุกรมมาตรฐาน ISO14000 การจัดการสิ่งแวดล้อม

Life-cycle Analysis

ปัจจัยนำเข้า

การผลิต

ผลต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบที่ต้องการ

สินค้าสำเร็จรูป

เช่น เสื้อ กางเกง ถุงเท้า

วัตถุดิบหลัก

เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน

ของเสีย

ของเสียเฉพาะ

ผลพลอยได้ที่ทำประโยชน์ได้

เศษวัสดุ

วัตถุดิบสนับสนุน

สีย้อม สารทำละลาย น้ำมัน ไขมัน สารหล่อลื่น และเคมีอื่นๆ

บรรจุภัณฑ์

 

วัสดุสำนักงาน

 

วัตถุดิบอื่นๆ

การใช้งาน

 

โรงงาน

การใช้ที่ดิน

น้ำ

นำ้เสีย

อากาศ

อากาศเสีย

พลังงานเพื่อการผลิต การขนส่ง

(น้ำมัน ถ่านหิน ไฟฟ้า)

การกำจัด

ของเสีย ฝุ่น เสียง

ที่เกิดจากการใช้พลังงาน พลังงานสูญเปล่า และการนำกลับมาใช้ใหม่

ที่ดิน

ความเครียดต่อพื้นดิน


นิเวศวิทยากับการผลิตสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม

การผลิตเส้นใยธรรมชาติต้องการใช้ระบบชลประทาน การใช้ที่ดิน การใช้ปุ๋ย และการกำจัดศัตรูพืช ทั้งหมดเป็นความเสี่ยงที่จะลดคุณภาพของดินและมีสารปนเปื้อนในน้ำใต้ดินหากไม่มีระบบการป้องกันที่ดี ด้านการผลิตเส้นใยประดิษฐ์ ทั้งที่ใช้วัสดุธรรมชาติและปิโตรเคมี เป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานมาก กระบวนการปั่นทอถ้ก ก็ต้องใช้สารเคมีเพื่อการหล่อลื่นและปกป้องวัตถุดิบ โดยเฉพาะกระบวนการตกแต่งสำเร็จที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อการย้อมสีและการเพิ่มคุณภาพสินค้า

กระบวนการทุกขั้นตอนมีความเสี่ยงในการปล่อยสารปนเปื้อนที่อันตรายสู่สิ่งแวดล้อม และในหลายขั้นตอนยังก่อมลพิษทางเสียง ฝุ่นควัน อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั่วโลกได้ใช้ระบบขนส่งทางราง ทางถนน และทางเรืออย่างกว้างขวาง และยังใช้วัตถุดิบเพื่อบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งและการจัดแสดงในพื้นที่ค้าปลีกเป็นจำนวนมาก

มาตรการที่สามารถนำมาใช้มีหลายแนวทาง ทั้งการปรับปรุงระบบเกษตร ใช้พืชทางเลือก ระบบจัดการแมลงศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี ควบคุมระดับการใช้ปุ๋ยและชลประทานอย่างคุ้มค่าลดการใช้น้ำ  และการปรับปรุงกระบวนการผลิต ใช้พลังงานทดแทน ใช้สารย่อยสลายได้ รวมถึงการปรับปรุงระบบการผลิตให้เป็นเทคโนโลยีสะอาดทั้งระบบ

นิเวศวิทยากับการใช้งานสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม

การสวมใส่
อันตรายที่เกิดจากการสวมใส่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายพบได้น้อย อาจมีบ้างในโลหะหนักประเภทนิเกิลที่อยู่ในกระดุมและเครื่องเกาะเกี่ยว หรือสีย้อมบางประเภทที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (อนุพันธ์จาก benidine) ทำใ้ห้มีแนวทางการบ่งขึ้ระดับของสารอันตรายที่เรียกว่า Eco-labelling เพื่อกำกับและอนุญาตให้มีสารเคมีไม่เกินระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์

การดูแลรักษา
การซักอบรีดและการซักแห้งเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงาน น้ำ และสารเคมี สารฟอกขาว (oxidants, fluorescents) และสารปรับค่ากรดด่าง (phosphates) ซึ่งสารเหล่านี้เพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจะส่งผลถึงการเติบโตของพืข ปัจจุบันน้ำยาซักผ้าจึงมักทดแทนสารอันตรายด้วยเคมีที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ส่วนการซักแห้งซึ่งใช้สาร hydrocabons เพื่อละลายไขมัน ปัจจุบันระบบซักแห้งจึงเป็นระบบปิดที่มีกฎหมายบังคับในหลายประเทศ และให้นำสารทำละลายกลับมาใช้ใหม่

นิเวศวิทยากับการกำจัด

แนวคิดการยืดอายุการใช้งานของเสื้อผ้ามีหลากหลาย และช่วยลดปริมาณการผลิตตลอดจนปริมาณขยะที่จะทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม ในระดับของผู้บริโภคอาจเป็นการใช้เสื้อผ้ามือสองที่เป็นตัวอย่างของนักออกแบบ การนำเสื้อผ้าเก่ามาใช้สำหรับงานสกปรก เช่นงานสวน หรือการบริจาคให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้บริโภคยังสามารถดัดแปลงเสื้อผ้าด้วยการตัดเย็บใหม่ แปลงกางเกงเป็นกระเป๋าถือ หรือการแปลงเสื้อผู้ใหญ่เป็นเสื้อผ้าเด็ก

การ recycle ในระดับอุตสาหกรรมสามารถทำกลับเป็นเส้นใยเพื่อใช้ใหม่ มีเทคโนโลยีที่รองรับแล้วในเส้นด้ายพอลีเอสเตอร์ ส่วนเสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติที่มีส่วนประกอบของเซลลูโลส สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วยการผังกลบ


อ้างอิง
*H.Eberle, M. Hornberger, R.Kupke, A.Moll, H.Hermeling, R.Kilgus, D.Menzer, W.Ring - Clothing Technology...from fibre to fashion fifth edition : VERLAG EUROPA-LEHRMITTEL, Germany
*ห้องปฏิบัติการการประเมินวัฏจักรชีวิต, การกระเมินวัฎจักรชีวิต, ฐานข้อมูลวัฎจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
*คู่มือแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
*อรพรรณ บุญพร้อม การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
*มูลนิธิสายใยแผ่นดิน


-