‘Flocus™ เครื่องหมายการค้าของเส้นใยนุ่น นำเสนอวัสดุสิ่งทอนุ่นหลากหลายประเภท เช่น เส้นใย เส้นด้าย สิ่งทอ และ nonwovens บริษัทนำเสนอแนวทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้การปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นศูนย์ โดยอ้างอิงจากนุ่น Flocus™ สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ซึ่งกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสู่ความยั่งยืนในแง่ของการแปรรูปและวัตถุดิบ’
สำหรับผลิตภัณฑ์ nonwovens ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันมากที่สุดในโลกของเครื่องหนัง ได้แก่
Maliwatt (มาลิวัตต์) คือ นุ่น 50% และ PLA 50% (จากข้าวโพด) กับ nonwovens ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100% สามารถใช้ทำพื้นรองเท้าได้ มาลิวัตต์สามารถทนต่อการกดทับด้วยความร้อนและคุณสมบัติจะเปลี่ยนเป็นคล้ายกระดาษแข็ง มีโครงสร้างน้ำหนักเบา เป็นวัสดุที่ดีเยี่ยมสำหรับผลิตรองเท้าผ้าใบ รองเท้าลำลอง และรองเท้าสำหรับกิจกรรมหนักๆ เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่แห้งเร็ว ต้านแบคทีเรีย กันน้ำ ไม่ทำให้แพ้ง่าย การใช้งานอื่นๆ ที่พบบ่อยได้แก่ แผงยานยนต์ โครงสร้างและรถยนต์ แผงดูดซับเสียงและแผ่นอะคูสติก และ geo textiles
HDE / Hydroentanglement คือ นุ่น 50% และ คอตตอนออร์แกนิค 50% เป็นวัสดุธรรมชาติและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ 100% ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตเป็นพื้นรองเท้า พื้นรองเท้าชั้นใน หรือเป็นแผ่นรองสำหรับรองเท้าและกระเป๋า ด้วยคุณสมบัติที่สามารถควบคุมความร้อนได้ น้ำหนักเบา ไม่ทำให้แพ้ง่าย การเป็นฉนวนกันความร้อน มีสัมผัสนุ่ม กันน้ำ กันมอดและไร จึงสามารถนำมาใช้กับงานที่หลากหลาย เป็นที่นิยมนำมาใช้กับการตัดเย็บแจ็คเก็ตสำหรับฤดูหนาวแทนที่ขนเป็ด รวมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตที่นอน ผ้านวม เฟอร์นิเจอร์ ถุงนอน
เครดิตภาพ : TEXDATA INTERNATIONAL
ข้อเสนอสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องหนังยังรวมถึงผ้าที่ใช้นุ่น FlocusTM ที่มีส่วนผสมและน้ำหนักต่างกัน: วัสดุบุผิว สารเคลือบ ผ้าแทรก อุปกรณ์เสริม ส่วนประกอบที่เปี่ยมประสิทธิภาพและมีสไตล์ ตัวอย่างเช่น นุ่นและผ้าฝ้ายออร์แกนิกที่ได้รับการรับรอง GOTS นุ่นที่มี Tencel และโพลีเอสเตอร์ รีไซเคิล (Repreve) นุ่นที่มีผ้าลินิน ผ้าฝ้ายออร์แกนิก และสแปนเด็กซ์เพียงเล็กน้อย
เครดิตภาพ : TEXDATA INTERNATIONAL
วัสดุเหล่านี้ถูกนำเสนอในงาน Lineapelle เดือนกันยายน 2564 ในนิทรรศการ "A New point of materials" ที่จัดเพื่อนวัตกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในแง่ของเทคโนโลยี การใช้งาน วัสดุและเครื่องจักร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ที่มาข้อมูลและเครดิตภาพ : TEXDATA INTERNATIONAL, https://www.texdata.com/news/Yarn&Fiber/16242.html
เรียบเรียง : แผนกจัดการองค์ความรู้ ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ