หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส ฉบับที่ 91 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2566)

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส ฉบับที่ 91 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2566)

กลับหน้าหลัก
30.01.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 546

 

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส 

ฉบับที่ 91 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2566)

Business ข้อมูลธุรกิจ

ข่าว :

SLOW FASHION เทรนด์แฟชั่นของคนยุคใหม่ รักษ์โลก

ในปัจจุบันเทรนด์การแต่งตัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สินค้าแฟชั่นจึงได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้คนมักจะซื้อเสื้อผ้าแบบใช้ได้ไม่นานเพื่อให้ทันเทรนด์ที่ทำร้ายโลกของเราไม่รู้ตัวเพราะเสื้อผ้าที่ไม่ใช้งานแล้วก็ถูกทิ้งกลายเป็นขยะ! แม้แต่กระบวนการผลิตเสื้อผ้าก็ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีก! 🌍 🏭

จึงเกิดกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เลือกซื้อเลือกใช้เสื้อผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ทำร้ายโลกของเรา

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลตลาด :

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนธันวาคม 2565

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนธันวาคม 2565

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนธันวาคม 2565 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 491.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 318.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.5 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 173.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 22.9 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 421.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.3 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 268.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.7 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 153.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 โดยภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 69.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนธันวาคม 2565

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนธันวาคม 2565

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนธันวาคม 2565 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 164.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 111.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 52.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.8 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 180.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 122.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 58.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.3 ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุลในเดือนนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2565

ภาพที่ 1 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2565

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.82 เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีมูลค่า 10,050.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 15,057.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 5.25 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 7,987.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 29.54 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) รายเดือน พบว่า เดือนธันวาคม 2565 หดตัวลงร้อยละ 24.20 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Design ออกแบบ

Profile of Cerinthia

“Carinthia” มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Seeboden, รัฐ Carinthia ประเทศออสเตรีย มีความเชี่ยวชาญในการผลิตฉนวนที่มีประสิทธิภาพสูง (ระดับพรีเมียม) รวมถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์กันหนาวประเภทต่าง ๆ และมีความพร้อมในการรองรับตลาดที่มีความหลากหลาย ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งเน้นกลุ่มตลาดทางการทหารและกิจกรรมการแจ้ง หรือ Outdoor ซึ่ง Carinthia เป็นบริษัทในเครือของ ‘Goldeck Textil’ ซึ่งมีที่ตั้งของสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองเดียวกัน และนอกจากนี้ยังมีบริษัทในเครือเดียวกันอีก 2 บริษัท คือ ‘Blu Times’ ผู้ผลิตที่นอนน้ำ หรือ waterbed และ ‘Goldeck Austria’ ผู้ผลิตเคหะสิ่งทอ หรือ home textile

รายละเอียดเพิ่มเติม

Innovation นวัตกรรม เทคโนโลยี

‘การผลิตเสื้อผ้าที่ยั่งยืน’ โอกาสสำคัญของอุตสาหกรรมแฟชั่น

อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อโลก เนื่องจากมีการใช้น้ำมากกว่าภาคส่วนอื่น ๆ และมักปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษ รวมถึงมีการใช้พลังงานจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต่างยังคงไม่ทราบถึงผลกระทบแท้จริงที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอุตสาหกรรมแฟชั่นมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก คิดเป็นร้อยละกว่า 10 หรือมากกว่าเที่ยวบินระหว่างประเทศและการขนส่งรวมกัน 

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก ‘กรีนพีซ’ ประเทศไทย ระบุว่า เฉพาะในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นศูนย์กลาง Fast Fashion ในยุโรป พบว่า ผู้บริโภคยังคงซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ย 26 กิโลกรัมในทุก ๆ ปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของเส้นใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์ในเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเรื่อยมานับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 ในปี พ.ศ. 2562 โดยเส้นใยเหล่านี้ถูกผลิตจากน้ำมัน ดังนั้น เสื้อโพลีเอสเตอร์หนึ่งตัวมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 5.5 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับเสื้อเชิ้ตผ้าฝ้ายที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 2.1 กิโลกรัม จะเห็นว่า การผลิตเสื้อผ้าได้กลายเป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อโลกในขณะนี้ 

หนึ่งในองค์ประกอบที่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตเสื้อผ้า นั่นคือ กระบวนการฟอกย้อมและการเพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ ด้วยวิธีดั้งเดิมซึ่งก่อให้เกิดมลพิษอยู่ในเกณฑ์สูง และเมื่อพิจารณาถึงปริมาณการบริโภคเสื้อผ้าจากทั่วโลก พบว่า ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็น 553 พันล้านตัน และน้ำสียที่ปนเปื้อนด้วยสีย้อม คิดเป็น 8.3 ตันต่อปี (จากกระบวนการย้อมเพียงอย่างเดียว) โดยหากผู้ผลิตและแบรนด์แฟชั่นไม่ปรับเปลี่ยนกระบวนการย้อมเสื้อผ้าในตอนนี้ คาดว่าจะส่งให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตเสื้อผ้าสูงถึง 2.5 gigatonnes ภายในปี พ.ศ. 2593 (ปี 2050) 

ตัวเลขต่าง ๆ ที่แสดงเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อความกังวลอย่างยิ่งภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงด้านวิกฤตพลังงานที่ทั่วโลกต่างกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

Quality มาตรฐานคุณภาพ

Nearsourcing กับการตอบโจทย์ความต้องการสิ่งทอรีไซเคิลสำหรับธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ ผลการศึกษาล่าสุดที่ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง (ผู้ค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐอเมริกา) จำนวนกว่า 3,000 ราย เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์ที่มีต่อการจัดหาธุรกิจค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาสำหรับเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลและข้อเสนอต่าง ๆ พบว่า ในปี 2565 เครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอ ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา คิดเป็นร้อยละกว่า 90 ขณะที่เครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว คิดเป็นร้อยละ 43  

ในขณะเดียวกัน พบว่า ธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่กายในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะพึ่งพาการนำเข้าเครื่องแต่งกายจากประเทศในแถบเอเชียลดลง ยืนยันได้จากผลการศึกษาฯ ฉบับดังกล่าว พบว่า ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐฯ มีความต้องการเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 41.9 ถัดไปคือ ต่างให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบใกล้สถานที่ตั้ง หรือ Nearsourcing คิดเป็นร้อยละ 30.1 และให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบภายในประเทศ(สหรัฐอเมริกา) คิดเป็นร้อยละ 14.8 ตามลำดับ

ทั้งนี้ จากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวที่ทำการศึกษาทั้งหมดต่างให้ความสำคัญต่อเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล และมองว่าการใช้วัสดุรีไซเคิลยังเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายในระยะยาว ทั้งในด้านความต้องการใช้และการเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ผู้ค้าปลีกได้รับประโยชน์ในเชิงธุรกิจและในเชิงสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน ยกตัวอย่างเช่น จากความเฉพาะเจาะจงของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) รีไซเคิล บวกกับกระบวนการผลิตเครื่องแต่งกายที่ใช้วัสดุรีไซเคิลที่มีเพิ่มมากขึ้น องค์ประกอบหลักทั้ง 2 ส่วน สามารถระบุได้ถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าดังกล่าวว่าผลิตในสหรัฐอเมริกา หรือ “Made in the USA” หรือมาจากแหล่งวัตถุดิบแห่งใหม่ในสหรัฐอเมริกานั่นเอง เช่น เอลซัลวาดอร์ (El Salvador), นิการากัว (Nicaragua) และแอฟริกา (Africa) เช่น ตูนิเซีย (Tunisia) และโมร็อกโก (Morocco) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การจัดหาเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลจะช่วยให้ธุรกิจค้าในสหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงในความหลากหลายด้านต่าง ๆ เช่น ลดการพึ่งพาการจัดซื้อ/จัดหาวัตถุดิบจากจีน ขยายการจัดหาที่มีต่อแหล่งวัตถุดิบที่ใกล้เคียง และกระจายฐานการจัดหาแห่งใหม่ของสหรัฐอเมริกานั่นเอง

การที่ธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐฯ ต่างให้ความสำคัญกับวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลเพิ่มมากขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายการค้าอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อรูปแบบการจัดหาของธุรกิจแฟชั่นในปัจจุบัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการเจรจาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการ และ/หรือเครื่องมือเชิงนโยบายด้านการค้า เช่น อัตราภาษีพิเศษ เพื่อสนับสนุนถึงความพยายามของผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ ถึงการจัดหาเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลหรือสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม

THTI Activities กิจกรรมสถาบันฯ

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM : ดีพร้อม) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับโลตัส สร้างการรับรู้ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยแก่ผู้บริโภค

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 คุณอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM หรือ ดีพร้อม) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์สร้างการรับรู้ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย (Thailand Textiles Tag) แก่ผู้บริโภค โดยมี คุณสิงห์ จงประเสริฐ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 

พร้อมด้วย ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ คุณปพัชญา สุกทอง รองผู้จัดการโลตัส สาขาสุขุมวิท​50 คุณฐิติ​พงศ์​พินิจ​กิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ​ฝ่ายออกแบบ​และจัดเรียงสินค้า​แผนกเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย คุณธนเดช ตระกูลยิ่งยง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการ บรรษัท-รัฐสัมพันธ์ คุณนัทชัย ใบม่วง ผู้จัดการตำแหน่ง ฝ่ายกิจกรรมบรรษัท-รัฐสัมพันธ์ คุณสมบัติ สิบแปดเส้นทอง บริษัท เจริญทรัพย์ จำกัด คุณสมพร วงษ์สวัสดิ์ บริษัท สยาม แฟชั่น กร๊าฟ จำกัด คุณศรันย์ธร ตั้งใจเชิดชูธรรมบริษัท เจ.พี.เค.การ์เม้นท์ จำกัด ตัวแทนผู้ประกอบการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย เข้าร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก ณ โลตัส สาขาสุขุมวิท 50

รายละเอียดเพิ่มเติม

Newsletter, no.91, เดือนมกราคม-มีนาคม, ปี 2566, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ธุรกิจ, ออกแบบ, นวัตกรรม, มาตรฐานคุณภาพ, Quality, Design, Innovation, กิจกรรม, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'66