หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / โรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2565

โรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2565

กลับหน้าหลัก
08.11.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 329

โรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2565

ตารางที่ 1 : จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2565

 ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

 รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมส่ิงทอ

จากตารางที่ 1 พบว่า ภาพรวมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2565 มีจำนวนรวม 464 โรงงาน โดยมีจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ (สะสม) รวม 7 โรงงาน และมีมูลค่าเงินลงทุนในกลุ่มนี้ (สะสม) รวม 295.8 ล้านบาท สำหรับลักษณะกิจการหรือประเภทโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ (สะสม) สูงสุด ได้แก่ โรงงานผลิตเครื่องประดับ โดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี และโรงงานที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการตัด เจียระไน หรือขัดเพชร พลอย หรืออัญมณี ประเภทละ 3 โรงงาน และโรงงานผลิตดวงตรา หรือเหรียญตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือเหรียญอื่น จำนวน 1 โรงงาน

ทั้งนี้ มีจำนวนโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน หรือยกเลิกกิจการ (สะสม) ในช่วงเวลาดังกล่าว รวม 3 โรงงาน  

ตารางที่ 2 : จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2565

 ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

 รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมส่ิงทอ

จากตารางที่ 2 พบว่า จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2565 มีจำนวนแรงงานที่เข้าระบบในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ จำนวน 663 ราย และจำนวนแรงงานที่ออกจากระบบในโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน หรือยกเลิกกิจการ จำนวน 201 ราย โดยไม่ปรากฏแรงงานที่อยู่ในระบบของโรงงานที่ขยายกิจการ (เนื่องจากไม่มีโรงงานที่ขอรับการขยายกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว)

ตารางที่ 3 : จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในไตรมาสที่ 3/2565 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565)

 ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

 รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมส่ิงทอ

ตารางที่ 4 : จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในไตรมาสที่ 3/2565 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565)

 ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

 รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมส่ิงทอ

จากตารางที่ 3 และ 4 พบว่า ภาพรวมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในไตมาสที่ 3/2565 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565) มีจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ จำนวน 3 โรงงาน มูลค่าเงินลงทุนรวม 64.9 ล้านบาท และแรงงานรวม 154 ราย ได้แก่ โรงงานผลิตเครื่องประดับ โดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี ถัดมาคือ โรงงานที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการตัด เจียระไน หรือขัดเพชร พลอย หรืออัญมณี และโรงงานผลิตดวงตรา หรือเหรียญตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือเหรียญอื่น ประเภทละ 1 โรงงาน ตามลำดับ

ขณะที่ในช่วงไตรมาส 3/2565 มีโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน หรือยกเลิกกิจการ จำนวน 1 โรงงาน ได้แก่ โรงงานที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการตัด เจียระไน หรือขัดเพชร พลอย หรืออัญมณี

ทั้งนี้ ไม่ปรากฏโรงงานที่ขอขยายกิจการ และยกเลิกกิจการในช่วงไตรมาส 2/2565

-----------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : 

        กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

-----------------------------------------

จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

พฤศจิกายน 2565

โรงงานอัญมณี, อุตสาหกรม, อัญมณีเครื่องประดับ, ปี 2565, สะสม, ม.ค.-ก.ย., ไตรมาส 3, ก.ค.-ก.ย., THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'66