หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2565

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2565

กลับหน้าหลัก
29.07.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 682

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2565

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2565 เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 113.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2564 ที่มีมูลค่า 3,547.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 7,589.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.19 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออก ด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,289.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 46.90 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) รายเดือน พบว่า เดือนพฤษภาคม 2565 มีการปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 19.55 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2565

ตารางที่ 1  มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2564 และปี 2565

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สถานการณ์การส่งออก

สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดในรอบ 5 เดือนแรกของปีนี้ คือ ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป โดยมีสัดส่วน ร้อยละ 56.66 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไทยโดยรวม ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 228.73 แม้ว่าราคา ทองคำโดยเฉลี่ยในตลาดโลกจะปรับตัวลดลงจากเดือน เมษายนมาอยู่ที่ระดับ 1,848.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (https://www.kitco.com) แต่ความต้องการทองคำยังคง เพิ่มขึ้นนั้น ได้รับแรงสนับสนุนจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ ยังอยู่ในระดับสูง สร้างความกังวลต่อนักลงทุน สอดคล้องกับ การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่อ่อนแอกว่าที่คาด ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง แม้ว่าเฟดจะปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 20 ปีก็ยัง ไม่อาจดึงความเชื่อมั่นกลับมาได้ในระยะสั้น จึงยังมีเม็ดเงิน ไหลเข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำในปริมาณมาก

เครื่องประดับแท้ เป็นสินค้าส่งออกในอันดับ 2 ในสัดส่วน ร้อยละ 20.70 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.13 โดยสินค้าส่งออกหลัก คือ เครื่องประดับเงิน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.95 จากการ ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และอินเดีย ตลาดสำคัญในอันดับที่ 1-4 ได้สูงขึ้นร้อยละ 1.96, ร้อยละ 8.29, ร้อยละ 95.92 และร้อยละ 3,955.60 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ตลาดในอันดับ 5 หดตัวลงร้อยละ 17.99 การส่งออก เครื่องประดับทองมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.79 จากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ตลาดหลัก ทั้ง 5 อันดับแรก ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.34, ร้อยละ 36.77, ร้อยละ 55.86, ร้อยละ 45.60 และร้อยละ 355.35 ตามลำดับ ส่วนการส่งออก เครื่องประดับแพลทินัม ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.82 เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดหลักทั้ง 5 อันดับแรก อย่างญี่ปุ่น สิงคโปร์สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฮ่องกง ล้วนปรับตัวลงร้อยละ 3.73, ร้อยละ 26.16, ร้อยละ 24.21, ร้อยละ 37.66 และร้อยละ 18.69 ตามลำดับ 

เพชร เป็นสินค้าส่งออกรายการสำคัญในอันดับ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.92 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณี และเครื่องประดับไทย ขยายตัวได้ร้อยละ 69.71 โดยเพชรเจียระไนเป็นสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้ มีมูลค่าสูงขึ้นร้อยละ 70.70 เนื่องจากการส่งออกไปยังอินเดีย สหรัฐอเมริกา และ เบลเยียม ตลาดในอันดับ 1, 3 และ 4 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 147.77, ร้อยละ 172.44 และร้อยละ 36.57 ตามลำดับ ส่วนการส่งออก ไปยังฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตลาดในอันดับที่ 2 และ 5 ปรับตัวลงร้อยละ 0.21 และร้อยละ 12.68 ตามลำดับ

พลอยสี เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 4 มีสัดส่วนร้อยละ 5.94 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมของไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 โดยสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้ เป็นพลอยเนื้อแข็งเจียระไน (ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต) ซึ่ง เติบโตสูงถึงร้อยละ 91.37 จากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และฝรั่งเศส ตลาดในอันดับ 1, 2, 4 และ 5 ได้มากขึ้นร้อยละ 241.60, ร้อยละ 307.03, ร้อยละ 73.77 และร้อยละ 12.27 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังฮ่องกง ตลาดอันดับ 3 ลดลงร้อยละ 4.51 พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.80 จากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ ตลาดในอันดับ 1-3 ได้สูงขึ้นร้อยละ 300.60, ร้อยละ 48.20 และร้อยละ 43.20 ตามลำดับ ส่วนการ สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2565 ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและญี่ปุ่น ตลาดอันดับ 4และ 5 ลดลงร้อยละ 26.75 และร้อยละ 0.86 ตามลำดับ

เครื่องประดับเทียม เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.78 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.81 จาก การส่งออกไปยังตลาดสำคัญทั้ง 5 อันดับแรก อย่างสหรัฐอเมริกา ลิกเตนสไตน์ ฮ่องกง ฝรั่งเศส และสิงคโปร์ล้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.54, ร้อยละ 84.62, ร้อยละ 18.04, ร้อยละ 29.30 และ ร้อยละ 45.85 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 5 เดือนแรกของปี 2565 นั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยสนับสนุนของภาคการผลิตโลกยังขยายตัวสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ยังยืนอยู่เหนือระดับ 50 จุดต่อเนื่อง โดยมีคำสั่งซื้อสินค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ อีกทั้งการเปิดเมืองของนานาประเทศช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยจากนักท่องเที่ยวให้เริ่มกลับคืนมา รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องจากปลายเดือนเมษายนกระทั่งทะลุ 36 บาทต่อ ดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติต่ำสุดในรอบกว่า 5 ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2565) ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น จึงทำให้การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยสามารถขยายตัวได้ดีโดยไทยส่งออกไปยังตลาดสำคัญทั้ง 10 อันดับแรก อย่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย ฮ่องกง เยอรมนี สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ญี่ปุ่น และอิตาลีล้วนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.53, ร้อยละ 158.21, ร้อยละ 7.60, ร้อยละ 16.61, ร้อยละ 73.52, ร้อยละ 123.88, ร้อยละ 35.86, ร้อยละ 17.95, ร้อยละ 10.74 และ ร้อยละ 103.97 ตามลำดับ

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยรายสินค้าในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2564 และปี 2565

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

มูลค่าการส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกา ที่เติบโตได้นั้น เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญทุกรายการ อย่าง เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ล้วนเติบโตได้ร้อยละ 52.34, ร้อยละ 1.96, ร้อยละ 172.44, ร้อยละ 241.60 และร้อยละ 300.60 ตามลำดับ

ส่วนการส่งออกไปยัง อินเดีย สามารถขยายตัวได้ดีนั้น มาจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 76 รวมทั้งสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับ เงิน โลหะเงิน และอัญมณีสังเคราะห์ ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 147.77, ร้อยละ 3,955.60, ร้อยละ 29.25 และร้อยละ 852.89 ตามลำดับ

สำหรับการส่งออกไปยัง ฮ่องกง ที่เติบโตเพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการอย่าง เครื่องประดับทอง พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เครื่องประดับเทียม และเครื่องประดับเงิน ได้สูงขึ้นร้อยละ 36.77, ร้อยละ 48.20, ร้อยละ 18.04 และร้อยละ 11.46 ตามลำดับ ส่วนสินค้าหลัก อย่างเพชรเจียระไนหดตัวลงร้อยละ 0.21

ขณะที่การส่งออกไปยัง เยอรมนี ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพราะการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า เครื่องประดับทอง รวมทั้งพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 8.29, ร้อยละ 40.84, ร้อยละ 114.05, ร้อยละ 392.36 และ ร้อยละ 34.78 ตามลำดับ

การส่งออกไป สหราชอาณาจักร ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญที่มีสัดส่วนรวมกันราวร้อยละ 79 อย่างเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทอง รวมทั้งสินค้าลำดับถัดมาอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน และ เครื่องประดับเทียม ได้สูงขึ้นร้อยละ 95.92, ร้อยละ 55.86, ร้อยละ 128.54, ร้อยละ 236.81 และร้อยละ 10.13 ตามลำดับ

สำหรับส่งออกไป สวิตเซอร์แลนด์ ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน โลหะเงิน และเครื่องประดับทองได้สูงขึ้นร้อยละ 307.03, ร้อยละ 43.20, ร้อยละ 62.86 และร้อยละ 254.92 ตามลำดับ

ขณะที่การส่งออกไปยัง เบลเยียม ที่มีมูลค่าสูงขึ้นนั้น เป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 85 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.57 รวมทั้งสินค้าลำดับถัดมาอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไนก็เติบโตร้อยละ 7.98 และร้อยละ 20.28 ตามลำดับ

การส่งออกไปยัง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ปรับตัวขึ้นนั้น เนื่องจากการส่งออกเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและ เนื้ออ่อนเจียระไน ขยายตัวได้ร้อยละ 45.60, ร้อยละ 27.74 และ ร้อยละ 186.51 ตามลำดับ ส่วนเพชรเจียระไนหดตัวร้อยละ 12.68

ส่วนการส่งออกไปยัง ญี่ปุ่น ที่เติบโตได้นั้น จากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการอย่างเครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.65, ร้อยละ 39.53 และร้อยละ 25.39 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกไปยัง อิตาลี ที่ขยายตัวได้นั้น มาจากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็ง เจียระไน เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 177.12, ร้อยละ 73.77, ร้อยละ 57.70 และร้อยละ 18.30 ตามลำดับ

แผนภาพที่ 1 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2565

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

บทสรุป

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปีนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 113.96 แต่หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและ เครื่องประดับไทย เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่าสูงขึ้นร้อยละ 46.90 และหากพิจารณาถึงมูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เมื่อหักออกด้วยมูลค่าการส่งออก ทองคำ และมูลค่าสินค้าส่งกลับจากต่างประเทศ พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.71 มีรายละเอียดดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2564 และปี 2565

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงของไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ที่เติบโตนั้น เนื่องจากภาพรวมในตลาดโลกยังมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความรุนแรงลดลง โดยมีปัจจัยบ่งชี้ทางเศรษฐกิจอย่างเช่น ภาพรวมการ บริโภคและการลงทุนในหลายประเทศเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์สินค้าหลายรายการมีมากขึ้นต่อเนื่องในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น สะท้อนถึงอุปสงค์จากประเทศคูคาหลักที่ยังขยายตัว แม้จะได้รับผลกระทบความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อก็ตาม ทำให้ภาพรวมการส่งออกของไทยสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 อีกทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องจากเดือนเมษายนทะลุ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอ่อนค่ามากที่สุดในรอบกว่า 5 ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2565) เป็นปัจจัยส่งเสริมการส่งออกของไทยให้สามารถแข่งขันได้รวมทั้งสินค้าอัญมณีและ เครื่องประดับทำให้สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับสินค้าที่มีความโดดเด่นของไทย คือ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเทียม รวมทั้งเพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็ง และเนื้ออ่อนเจียระไน

ในภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังสามารถเติบโตได้ดีจากการฟื้นตัวของภาคการผลิต การลงทุน และการบริโภคที่ล้วนเติบโตขึ้น อีกทั้งองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) ยังเปิดเผยข้อมูลว่า ในไตรมาสแรกของปี 2022 จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 182% ของช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวกลับมาอย่างสมบูรณ์ในปี 2023 ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อการจับจ่ายใช้สอย แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในสหรัฐฯ และประเทศในยุโรปที่ยังอยู่ในระดับสูง สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐและอีกหลายประเทศอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนทำให้ราคาพลังงานและวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจากขั้วตรงข้ามหลายรอบสร้างผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการบริโภค อาจส่งผลต่อทิศทางการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของที่ลดลงในอนาคต 

ทั้งนี้ด้วยสถานการณ์ในรอบ 5 เดือนแรกของปีนี้ ยังคงมีอัตราเติบโตได้ดีในหลายตลาดจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การอ่อนค่าของเงินบาท และภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวกลับคืนมา แต่ขณะเดียวกันสถานการณ์ต่าง ๆ ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ยังไม่คลี่คลาย ดังนั้น ไม่เพียงแต่การดำเนินธุรกิจยังคงต้องมีความระมัดระวังแล้ว การสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการเข้าถึงตลาดที่มีกำลังซื้อ ด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การพบปะในเวทีการเจรจาการค้า การใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่ไทยมีกับประเทศคู่ค้าสำคัญทั่วโลก ซึ่งในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับยังมีการใช้สิทธิไม่มากนัก เมื่อเทียบกับสินค้าอื่น เมื่อหลอมรวมข้อได้เปรียบที่ยังคงมีอยู่ย่อมช่วยให้การแข่งขันในตลาดโลกก้าวเดินไปได้อย่างต่อเนื่อง


ศูนยข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

กรกฎาคม 2565



*พิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71 ว่าด้วย “ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ โลหะมีค่า โลหะที่หุ้มติดด้วยโลหะมีค่า และของที่ทำด้วยของดังกล่าว เครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณที่เป็นของเทียม เหรียญกษาปณ์”

 

นำเข้าส่งออกอัญมณี, อุตสาหกรรม, อัญมณีและเครื่องประดับ, GIT, สถานการณ์, การส่งออก, Export, ปี 2565, สะสม 5 เดือน, พฤษภาคม, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU'_65