หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2565

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2565

กลับหน้าหลัก
09.06.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 446

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2565

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2565 เติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 167.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2564 ที่มีมูลค่า 2,455.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่6,574.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.77 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วย การส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,531.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 41.22 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) รายเดือน พบว่า เดือนเมษายน 2565 มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 14.28 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2565

ตารางที่ 1  มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2564 และปี 2565

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สถานการณ์การส่งออก

สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดใน 4 เดือนแรกของปีนี้ คือ ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป โดยมีสัดส่วน ร้อยละ 61.50 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไทยโดยรวม ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 509.71 เนื่องจาก ราคาทองคำโดยเฉลี่ยในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงแม้ว่าจะ ลดลงจากเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ระดับ 1,933.90 ดอลลาร์ สหรัฐต่อออนซ์(https://www.kitco.com) ซึ่งความต้องการ ทองคำในตลาดโลกยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน แม้ว่า มีแรงกดดันจาก 2 ปัจจัยคือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่สูงขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ราวร้อยละ 2.94 และการคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 ในการประชุมต้นเดือนพฤษภาคม เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังอยู่ใน ระดับสูง ขณะที่ปัจจัยบวกต่อราคาทองคำอย่างการคว่ำบาตร รัสเซียจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน กระทั่งทำให้ ราคาสินค้าหลายรายการปรับตัวสูงขึ้นในหลายประเทศ ทั่วยุโรป จากความกังวลที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงยังมีเม็ดเงินไหล เข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำเพิ่มขึ้น ทั้งจาก นักลงทุน และกองทุน SPDR ที่ซื้อทองคำสุทธิในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 3.11 ตัน

เครื่องประดับแท้ เป็นสินค้าส่งออกในอันดับ 2 ในสัดส่วน ร้อยละ 17.94 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไทย เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 24.64 โดยสินค้าส่งออกหลักคือ เครื่องประดับเงิน เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.24 จากการส่งออก ไปยังสหรัฐอเมริกา เยอรมนีสหราชอาณาจักร และอินเดีย ตลาดสำคัญในอันดับที่ 1-3 และ 5 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37, ร้อยละ 4.79, ร้อยละ 113.80 และร้อยละ 3,143.59 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ตลาดในอันดับ 4 ปรับตัวลง ร้อยละ 21.38 การส่งออก เครื่องประดับทอง มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.12 จากการส่งออกไปยังตลาดหลักทั้ง 5 อันดับแรก คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอิตาลี ได้สูงขึ้นร้อยละ 26.60, ร้อยละ 34.45, ร้อยละ 45.64, ร้อยละ 55.12 และร้อยละ 188.43 ตามลำดับ ส่วนการส่งออก เครื่องประดับแพลทินัม มีมูลค่าลดลงร้อยละ 12.18 เนื่องจากการส่งออกไปยังสิงคโปร์สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฮ่องกง ตลาดหลักอันดับที่ 2-5 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 22.66, ร้อยละ 15.67, ร้อยละ 52.44 และร้อยละ 28.42 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังญี่ปุ่น ตลาดในอันดับ 1 สามารถเติบโตได้ร้อยละ 3.61

เพชร เป็นสินค้าส่งออกรายการสำคัญในอันดับ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.24 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณี และเครื่องประดับไทย ขยายตัวได้ร้อยละ 67.25 โดยเพชรเจียระไนเป็นสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้ มีมูลค่าสูงขึ้นร้อยละ 68.11 โดยเป็นผลจากการส่งออกไปยังอินเดีย ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และเบลเยียม ตลาดในอันดับ 1-4 ได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 137.66, ร้อยละ 1.28, ร้อยละ 147.83 และร้อยละ 42.08 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตลาดในอันดับที่5 ลดลงร้อยละ 0.43

พลอยสี เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 4 มีสัดส่วนร้อยละ 4.99 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมของ ไทย ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 64.81 โดยสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้ เป็น พลอยเนื้อแข็งเจียระไน (ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต) ซึ่ง เติบโตได้ร้อยละ 72.49 จากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-เมษายน ปี 2565 -2- สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และฝรั่งเศส ตลาดในอันดับ 1, 2, 4, 5 ได้มากขึ้นร้อยละ 148.69, ร้อยละ 357.31, ร้อยละ 69.91 และ ร้อยละ 11.10 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังฮ่องกง ตลาด อันดับ 3 ลดลงร้อยละ 18.76 พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ขยายตัว ได้ร้อยละ 53.48 จากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ตลาดในอันดับ 1-3 และ 5 เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 192.65, ร้อยละ 44.56, ร้อยละ 42.55 และร้อยละ 21.84 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกไปยังฝรั่งเศส ตลาดอันดับ 4 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.77

เครื่องประดับเทียม เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.60 เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 32.01 เนื่องจาก การส่งออกไปยังตลาดสำคัญทั้ง 5 อันดับแรก อย่างสหรัฐอเมริกา ลิกเตนสไตน์ ฮ่องกง ฝรั่งเศส และสิงคโปร์ขยายตัวได้ร้อยละ 23.31, ร้อยละ 86.39, ร้อยละ 11.32, ร้อยละ 25.06 และ ร้อยละ 41.01 ตามลำดับ 

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 4 เดือนแรกของปี 2565 นั้น มีมูลค่าเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 41.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการผลิต ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการ ผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ในประเทศเศรษฐกิจที่ สำคัญทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป อินเดีย และอาเซียน ยืนอยู่เหนือ ระดับ 50 จุด จากการที่มีความต้องการสินค้าเข้ามาอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งยังได้รับอานิสงส์จากการเปิดเมืองของนานาประเทศ ที่ช่วยให้การใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวกลับคืนมา ล้วนเป็นปัจจัย บวกที่ส่งผลดีทางเศรษฐกิจ และมีผลทางจิตวิทยาต่อการบริโภค จึงทำให้การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยสามารถ ขยายตัวได้ดีโดยไทยส่งออกไปยังตลาดสำคัญทั้ง 10 อันดับแรก อย่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย ฮ่องกง เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เบลเยียม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ญี่ปุ่น และ อิตาลีมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.21, ร้อยละ 131.10, ร้อยละ 4.36, ร้อยละ 12.65, ร้อยละ 221.20, ร้อยละ 84.15, ร้อยละ 37.07, ร้อยละ 27.22, ร้อยละ 13.33 และร้อยละ 120.21 ตามลำดับ

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยรายสินค้าในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2564 และปี 2565

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

การส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกา ที่เติบโตได้นั้น เป็นผล มาจากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อน เจียระไน ล้วนเติบโตได้ร้อยละ 6.37, ร้อยละ 26.60, ร้อยละ 147.83, ร้อยละ 148.69 และร้อยละ 192.65 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกไปยัง อินเดีย ที่ขยายตัวได้ดีนั้น เนื่องมาจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงเกือบร้อยละ 80 และสินค้าสำคัญรองลงมา อย่างเครื่องประดับเงิน และอัญมณีสังเคราะห์ ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 137.66, ร้อยละ 3,143.59 และร้อยละ 740.65 ตามลำดับ

ส่วนการส่งออกไปยัง ฮ่องกง สามารถเติบโตเพิ่มขึ้นนั้น มาจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการอย่างเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเครื่องประดับ เทียม ได้สูงขึ้นร้อยละ 1.28, ร้อยละ 34.45, ร้อยละ 44.56 และ ร้อยละ 11.32 ตามลำดับ ส่วนพลอยเนื้อแข็งเจียระไนลดลง ร้อยละ 18.76

สำหรับการส่งออกไปยัง เยอรมนี ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เป็น ผลจากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับเงิน เศษหรือ ของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า เครื่องประดับทอง รวมทั้งพลอย เนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ได้สูงขึ้นร้อยละ 4.79, ร้อยละ 26.10, ร้อยละ 128.09, ร้อยละ 326.49 และร้อยละ 64.85 ตามลำดับ

ขณะที่การส่งออกไป สวิตเซอร์แลนด์ ที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็น ผลมาจากการส่งออกพลอยเนื้อแข็งเจียระไนและโลหะเงิน สินค้า สำคัญซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราวร้อยละ 67 รวมทั้งสินค้าลำดับถัด มาอย่างเครื่องประดับทองและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ได้สูงขึ้น ร้อยละ 357.31, ร้อยละ 357.40, ร้อยละ 363.37 และร้อยละ 42.55 ตามลำดับ

สำหรับส่งออกไป สหราชอาณาจักร ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นนั้น มาจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินและ เครื่องประดับทอง ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราวร้อยละ 77 และสินค้า รองลงมาอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ได้สูงขึ้น ร้อยละ 113.80, ร้อยละ 45.64, ร้อยละ 264.42 และร้อยละ 277.83 ตามลำดับ

ส่วนการส่งออกไปยัง เบลเยียม ที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้น เป็น ผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน ในสัดส่วนสูง ถึงร้อยละ 86 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.08 และสินค้าลำดับถัดมา อย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.43 และร้อยละ 13.33 ตามลำดับ

การส่งออกไปยัง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่เพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจากการส่งออกเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและ เนื้ออ่อนเจียระไน ขยายตัวได้ร้อยละ 55.12, ร้อยละ 13.34 และ ร้อยละ 194.33 ตามลำดับ ส่วนเพชรเจียระไนหดตัวร้อยละ 0.43

สำหรับการส่งออกไปยัง ญี่ปุ่น ที่เติบโตได้นั้น จากการ ส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการอย่างเครื่องประดับทอง เครื่องประดับแพลทินัม และเครื่องประดับเงิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน รวมกันราวร้อยละ 52 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.29, ร้อยละ 3.61 และร้อยละ 15.80 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกไปยัง อิตาลี ที่เพิ่มขึ้นนั้น มาจากการ ส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและ เนื้ออ่อนเจียระไน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 188.43, ร้อยละ 69.91 และร้อยละ 99.82 ตามลำดับ

แผนภาพที่ 1 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2565

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

บทสรุป

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปีนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 167.72 แต่หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและ เครื่องประดับไทย เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า สูงขึ้นร้อยละ 41.22 และหากพิจารณาถึงมูลค่าส่งออกอัญมณี และเครื่องประดับของไทย เมื่อหักออกด้วยมูลค่าการส่งออก ทองคำ และมูลค่าสินค้าส่งกลับจากต่างประเทศ พบว่า มูลค่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.99 มีรายละเอียดดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2564 และปี 2565

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงของ ไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ที่เติบโตนั้น เนื่องจากภาพรวมในตลาดโลกยังมีอัตราการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาค การผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ยืนอยู่ในระดับ เหนือ 50 อย่างต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 22 โดยหลายประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นคู่ค้าของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป อินเดีย และ อาเซียน รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากเดือนมีนาคมราว ร้อยละ 3 ถือเป็นสัญญาณบวกที่ส่งเสริมการส่งออกของไทยให้ เติบโตได้ดีรวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับที่สามารถขยายตัว ได้ต่อเนื่อง สำหรับสินค้าที่มีความโดดเด่นของไทย คือ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเทียม รวมทั้ง เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน

ในภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังสามารถเติบโตได้ดีจากการ ฟื้นตัวของภาคการผลิตและการบริโภคที่มีปัจจัยเชิงจิตวิทยา อย่างการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวของบางประเทศ การ ลดข้อจำกัดในการเดินทาง ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อการ จับจ่ายใช้สอย ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง หลายประการ ดังเช่นอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในสหรัฐฯ และประเทศ ในยุโรปที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือนเมษายน 2565 อยู่ที่ระดับ ร้อยละ 8.3 และ 7.4 ตามลำดับ รวมทั้งประเทศไทยที่มีอัตรา เงินเฟ้อสูงขึ้นในทิศทางเดียวกันกับหลายประเทศ ขณะที่ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนก่อให้เกิดผล ตามมาหลายประการ ทั้งราคาพลังงานและสินค้าอุปโภคบริโภค ในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น การขนส่งสินค้าในยุโรปมีสินค้าตกค้าง จากการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากมาตรการ คว่ำบาตร ซึ่งสิ่งเหล่านี้กระทบทั้งต้นทุนการผลิตและต้นทุนการ บริโภคของประชาชนทั่วโลกและอาจส่งผลต่อทิศทางการบริโภค สินค้าฟุ่มเฟือยของประเทศเศรษฐกิจเหล่านี้ในระยะถัดไป 

ทั้งนี้แม้ว่าสถานการณ์ในรอบ 4 เดือนแรกของปีนี้ ยังคง สดใสในหลายตลาดจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่องจาก ปีก่อนหน้า และมีปัจจัยหนุนจากการเปิดเมืองคาดว่าจะทำให้ ภาคการท่องเที่ยวเริ่มมีเม็ดเงินกลับคืนมา แต่ขณะเดียวกัน สถานการณ์ต่างๆ ยังคงมีภาวะเสี่ยงหลายประการที่อาจส่งผลต่อ การส่งออก ดังนั้น การดำเนินการของผู้ประกอบการยังคงต้อง วางแผนทางธุรกิจในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผสมผสานให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละตลาด รวมถึงการใช้ ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีโดยเฉพาะ RCEP ซึ่งเป็น ข้อตกลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สามารถใช้สร้างแต้มต่อทางการค้า และขยายฐานลูกค้าในภูมิภาค เพื่อกระจายความเสี่ยงของตลาด ได้อีกด้วย

 

ศูนยข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

 

*พิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71 ว่าด้วย “ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ โลหะมีค่า โลหะที่หุ้มติดด้วยโลหะมีค่า และของที่ทำด้วยของดังกล่าว เครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณที่เป็นของเทียม เหรียญกษาปณ์”

 

นำเข้าส่งออกอัญมณี, อุตสาหกรรม, อัญมณีและเครื่องประดับ, GIT, สถานการณ์, การส่งออก, Export, ปี 2565, สะสม 4 เดือน, เมษายน, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU'_65