ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกันยายน 2564
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกันยายน 2564 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 554.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 360.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 193.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 408.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 283.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 124.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 146.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว (สะสม) 9 เดือน (เดือนมกราคม-กันยายน 2564) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 4,772.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออก (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 3,094.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 และ (2) การส่งออก (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,678.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) 9 เดือนของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 3,786.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 2,601.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,185.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้า (สะสม) เกินดุล คิดเป็นมูลค่า 986.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกันยายน 2564 พบว่า ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนกันยายน 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2564
การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าการส่งออก 77.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย จีน และปากีสถาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 164.9, 79.8 และ 3.2 ตามลำดับ
และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ (สะสม) 9 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 679.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 29.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรก (สะสม) ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 55.5, 33.0 และ 0.8 ตามลำดับ
ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกันยายน 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2564
การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าการส่งออก 60.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และบังคลาเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.3, 40.2 และ 52.6 ตามลำดับ
และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 9 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 503.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 34.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรก (สะสม) ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 27.2, 37.4 และ 60.1 ตามลำดับ
ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกันยายน 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2564
การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าการส่งออก 106.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม บังคลาเทศ และกัมพูชา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8, 82.6 และ 42.9 ตามลำดับ
และการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 9 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 864.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรก (สะสม) ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ได้แก่ จีน กัมพูชา และบังคลาเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 21.8, 10.3 และ 36.1 ตามลำดับ
ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกันยายน 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2564
การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าการส่งออก 193.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และเบลเยียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 และ 25.8
และการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 9 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 1,679.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา (สะสม) 9 เดือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก
เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกันยายน 2564 พบว่า มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ด้าย และผ้าผืน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ที่ร้อยละ 56.5 และ 13.6 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า มีเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8
ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกันยายน 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2564
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 136.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5, 5,366.2 และ 73.2 ตามลำดับ
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 9 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 1,152.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 29.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น นำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 29.6, 4.7 และ 28.9 ตามลำดับ
ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกันยายน 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2564
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 147.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าผ้าผืนเพิ่มขึ้น จากตลาดจีนและไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และ 42.2
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 9 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 1,448.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 23.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน เวียดนาม และไต้หวัน นำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 27.2, 36.2 และ 25.1 ตามลำดับ
ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกันยายน 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กันยายน 2564
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 69.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีน และเวียดนาม ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.0 และ 13.5 ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากตลาดอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 9 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 693.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าลดลง (สะสม) จากตลาดจีนและเวียดนาม ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 3.5 และ 10.2 ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากตลาดอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 21.8
ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM)
ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกันยายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อพิจารณาในรายตลาดการส่งออกของผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ จากตลาดการส่งออกทั้ง 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกไปยังตลาดอินโดนีเซีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 ที่มูลค่า 10.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีนและปากีสถาน ที่ในเดือนนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.0 และ 21.1 หรือที่มูลค่า 10.0 และ 9.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อพิจารณาในรายตลาดการส่งออกของผลิตภัณฑ์เส้นด้าย จากตลาดการส่งออกทั้ง 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น จีน และบังคลาเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8, 28.5 และ 13.1 หรือที่มูลค่า 9.1, 7.3 และ 5.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อพิจารณาในรายตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน จากตลาดการส่งออกทั้ง 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกไปยังตลาดเวียดนาม บังคลาเทศ และกัมพูชา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0, 21.8 และ 64.0 หรือที่มูลค่า 22.9, 12.3 และ 11.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อพิจารณาในรายตลาดการส่งออกของผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม จากตลาดการส่งออกทั้ง 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 และ 11.3 หรือที่มูลค่า 71.3 และ 27.5 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดเบลเยียม ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.4 ที่มูลค่า 11.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)
และมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกันยายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมมูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลงในผลิตภัณฑ์เส้นด้ายและผ้าผืน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตสินค้าขั้นกลางนำ้และปลายน้ำ
ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยตลาดนำเข้า 3 อันดับแรกที่ปรับตัวลดลง คือ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 4.2 และ 35.4 หรือที่มูลค่า 17.0 และ 15.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้าเส้นด้ายจากตลาดจีนในเดือนนี้ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ที่มูลค่า 38.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยเป็นผลจากตลาดนำเข้า 3 อันดับแรกปรับตัวลดลง ได้แก่ จีน ไต้หวัน และเวียดนาม ลดลงร้อยละ 10.8, 11.5 และ 28.6 หรือที่มูลค่า 76.1, 17.0 และ 10.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยตลาดนำเข้า 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ จีน และอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และ 31.0 หรือที่มูลค่า 35.4 และ 4.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากตลาดเวียดนามในเดือนนี้ ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.6 ที่มูลค่า 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพที่ 13 สรุปภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ (5 อันดับแรก) เดือนกันยายน 2564
สรุปภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่า 554.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ ใน 5 อันดับแรก จัดเรียงตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว พบว่า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาดหลัก ยกเว้นตลาดเวียดนามที่ในเดือนนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ที่มูลค่า 36.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยผลิตภัณฑ์หลักของไทยที่ส่งออกไปยังตลาดเวียดนาม ได้แก่ ผ้าผืน ทั้งผ้าผืนที่ผลิตจากฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ และจากวัตถุทออื่น ๆ ตามลำดับ แต่ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนที่ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปยังตลาดเวียดนามในเดือนนี้ปรับตัวลดลง ได้แก่ ผ้าผืนที่ผลิตจากฝ้ายและวัตถุทออื่น ๆ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.1 และ 28.7 ขณะที่ผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นใยประดิษฐ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9
ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยังตลาดเวียดนามที่ปรับตัวลดลงในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการล็อคดาวน์ภายในประเทศเวียดนามที่ยาวนาน สืบเนื่องจากการระบาดโควิด-19 ระลอกล่าสุดที่มีความรุนแรง ทำให้รัฐบาลต้องประกาศมาตรการล็อคดาวน์อย่างเข้มงวด ทำให้กำลังการผลิตของโรงงานต่าง ๆ ปรับตัวลดลงกว่าร้อยละ 50 อีกทั้งยังส่งผลต่อความล่าช้าและข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเดินทาง ทั้งการนำเข้าและขนส่งสินค้าของเวียดนาม ขณะเดียวกันผลกระทบที่มีต่อธุรกิจแฟชั่น พบว่า ผลจากการล็อคดาวน์ที่นานเกินไปได้ส่งผลกระทบต่อแบรนด์แฟชั่นที่ผลิตในประเทศ และเกิดการขาดแคลนสินค้าแบรนด์แฟชั่นไปทั่วโลก (โดยเฉพาะเสื้อผ้ากันหนาวและรองเท้า)
สำหรับการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8, 9.9, 19.6 และ 90.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือที่มูลค่า 95.9, 66.9, 34.9 และ 27.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
-------------------------------------------------
Source :
- Information and Communication Technology Center with Cooperation of The Customs Department
- AFP.com
- news.com.au
- positioningmag.com
จัดทำและเรียบเรียงโดย
ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม)
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
2 พฤศจิกายน 2564