หน้าแรก / THTI Activities / โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่ตลาดสากล ปี 2562

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่ตลาดสากล ปี 2562

19.08.2562 | จำนวนผู้เข้าชม 6885

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่ตลาดสากล ปี 2562


สนับสนุนโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
หน่วยร่วมดำเนินการ : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
                              มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

หลักการและเหตุผ

ตามนโยบายรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศไทยไปสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งมีองค์ประกอบหนึ่ง คือ การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่ใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน มีกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของการยกระดับขีดความสามารถ ได้แก่ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และวัฒนธรรม อุตสาหกรรมบริการ เนื่องจากสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น   สะท้อนผ่านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย  ภาษา ประเพณี วัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอื่นๆโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองซึ่งแต่ละพื้นที่ล้วนมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวสามารถบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่นในพื้นที่นั้นได้  เป็นทุนวัฒนธรรมที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล  มีผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายอย่างหลากหลายโดยใช้แรงงานในท้องถิ่นที่มีฝีมือดี แต่เนื่องจากผู้ประกอบการยังขาดองค์ความรู้ด้านการตลาดสมัยใหม่และขาดการปรับกระบวนการความคิดทางธุรกิจให้เข้ายุคสมัย การใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี เข้ามาเป็นเครื่องมือในการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดที่ยังคงแฝงมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ได้ด้วย

นอกจากนี้ในส่วนการพัฒนาภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมา  ส่วนใหญ่ให้ความสนใจส่งเสริมในมุมด้านอุปทาน (Supply) ซึ่งเป็นมุมของผู้ผลิต  โดยไม่ได้ใช้ข้อมูลด้านอุปสงค์ (demand) ของตลาดผู้บริโภค  มาเป็นปัจจัยสนับสนุนการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์  จึงทำให้เกิดสินค้าที่ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มความนิยมร่วมสมัย(Trend) เข้าสู่ท้องตลาด แม้สินค้านั้นจะมีคุณภาพได้มาตรฐานก็ตามโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเครื่องแต่งกายและแฟชั่น ที่ต้องให้ความสำคัญกับกระแสนิยมของกลุ่มเป้าหมายในตลาด ทั้งด้านแนวการออกแบบ (Design)การสร้างต้นแบบ (Pattern) และฝีมือการตัดเย็บ (Cutting) ที่ต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ทางการพัฒนาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญ 

เพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอผ้าผืนพื้นเมืองแปรรูปเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแฟชั่น  ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีอัตลักษณ์ความโดดเด่นด้วยทุนทางวัฒนธรรม ให้สามารถผลิตผ้าผืนพื้นเมืองคุณภาพสูงลวดลายสวยงาม   ตามวัฒนธรรมของชาติพันธ์ที่กระจายตัวอยู่หลากหลายในพื้นที่และการแปรรูปผ้าผืนมาเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและเครื่องใช้สำเร็จรูปที่มีคุณภาพสอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดทั้งในและต่างประเทศและแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในกระบวนการแปรรูปจากผ้าผืนไปสู่การเป็นสินค้าสำเร็จรูป ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design) การสร้างต้นแบบ (Pattern) และฝีมือการตัดเย็บ (Cutting) จำเป็นต้องสร้างและพัฒนาบุคลากรในกลุ่มวงจรธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นในพื้นที่ภาคตะวันเฉียงเหนือ (ISAN Fashion and Life Style product development ) ให้มีทักษะและศักยภาพในประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น ให้สามารถต่อยอดแปรรูปผ้าผืนที่สวยงามเหล่านั้น  ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในตลาด รวมตลอดถึงสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้า และต่อยอดผลิตสินค้าออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงต่อเนื่องของระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น และเศรษฐกิจของประเทศในที่สุด

วัตถุประสงค์
1.เพื่อต่อยอดพัฒนาความรู้ของผู้ประกอบการผ้าพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้รู้จักคิดพัฒนารูปแบบสินค้า ผลิตสินค้าและขายสินค้าที่มีมาตรฐานและมีรูปแบบ ให้มีความรู้ความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาดเป้าหมาย คือตลาดในประเทศและกลุ่มตลาดประเทศ ASEAN +3หรือประเทศที่มีศักยภาพทางการตลาดที่สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
2.เพื่อยกระดับการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ ผ้าพื้นเมืองให้เป็นที่นิยมของตลาดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และตอบสนองความต้องการขยายตลาดผ้าพื้นเมืองในตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยที่สินค้ายังสามารถคงอัตลักษณ์ของถิ่นกำเนิดและได้รับมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของตลาด
3.เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาให้แพร่หลายสู่ตลาดสากล โดยใช้กลยุทธ์ตลาด 4.0
4.เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคคลากรในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs ภาคการผลิตและสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่น
5.เพื่อให้เกิดการบูรณาการการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ประกอบการรายย่อย  วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มผ้าพื้นเมือง ที่เป็นสมาชิก สสว. และกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก สสว. ที่เข้าร่วมโครงการ
 
พื้นที่ดำเนินการ
อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์

โดยการดำเนินงานทั้งหมดตั้งเป้าพัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ยกระดับความรู้ด้านธุรกิจและการตลาดสมัยใหม่ (Business) ให้มีทักษะในด้านการออกแบบ (Art & design) ด้านการสร้างต้นแบบสินค้า (Pattern) และด้านการนำเทคโนโลยีนวัตกรรม (Technology and innovation) ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองเข้ามามีส่วนช่วยการพัฒาในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 1,000 ราย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองเป็นสินค้าแปรรูปที่ทันสมัย 1,000 ผลิตภัณฑ์ ก่อให้เกิดรายได้กับผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท

 

สิ่งทอ,สิ่งทอ