กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ขานรับไทยแลนด์ 4.0 ผนึกกาลัง 2 หน่วยงานใหญ่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันอาหาร ส่ง “โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (IGNITE PLUS)” ยกระดับผู้ประกอบการ OTOP
หน้าแรก / THTI Activities / กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ขานรับไทยแลนด์ 4.0 ผนึกกาลัง 2 หน่วยงานใหญ่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันอาหาร ส่ง “โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (IGNITE PLUS)” ยกระดับผู้ประกอบการ OTOP

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ขานรับไทยแลนด์ 4.0 ผนึกกาลัง 2 หน่วยงานใหญ่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันอาหาร ส่ง “โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (IGNITE PLUS)” ยกระดับผู้ประกอบการ OTOP

16.08.2562 | จำนวนผู้เข้าชม 1794

16 ส.ค.62 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สป.อว.) ผนึกกาลังสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันอาหาร เปิดโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรม โดยการดำเนิน“โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (IGNITE PLUS)” มิติใหม่ของวงการอุตสาหกรรมไทย เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เหมาะสมผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับการตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนไทย สู่ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ที่สะท้อนความเป็นไทย มีกลิ่นอายชุมชน มีเอกลักษณ์ มีเรื่องราว ในปี 2562 เน้นกลุ่มผู้ประกอบการทั่วประเทศที่มีแนวคิดในการสร้างสินค้าชุมชนไทยให้มีมูลค่า ความแตกต่าง และสู่สากล ซึ่งเป็นหนึ่งแรงที่มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนไทยอย่างยั่งยืน
 
ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า“กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีนโยบายหลักในการเตรียมความพร้อมคนไทยไปสู่ศตวรรษที่ 21 และปฏิรูประบบเศรษฐกิจสังคมไทยไปสู่ฐานนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์เรื่องไทยแลนด์ 4.0 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ภายใต้ โมเดล ‘ไทยแลนด์ 4.0’ นั้น จะต้องเริ่มจากสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน และเครือข่ายในทุกภาคส่วนของประเทศ ด้วยนวัตกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งหากประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนไปได้จริง จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และลดการพึ่งพาต่างชาติ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำต่างๆ เป็นการสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้อย่างแท้จริง ซึ่งจากข้อมูลของกรมการพัฒนาชุมชนผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 190,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่านอกจากตลาดในประเทศแล้ว ผลิตภัณฑ์ OTOP ยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมากด้วย”
 
นอกจากนั้น ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเสริมว่า “โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (IGNITE PLUS) เป็นโครงการต่อยอดความสำเร็จจากปี 2560 โดยในปีนี้ มุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการ 3 กลุ่ม ได้แก่ผู้ประกอบการจากโครงการ OTOP IGNITE ในปี 2560 ผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมโครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีฐานการผลิต ให้สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยมีกรอบแนวทางในการพัฒนา ทั้ง 4 มิติ อันได้แก่ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (New entrepreneurs) นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation & Technology) อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Product identity) และ ช่องทางการตลาด (Marketing channels) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของโครงการฯ โดยแบ่งกลุ่มการต่อยอดทำผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีนวัตกรรม ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ต้นแบบกลุ่มที่1 (80%)จะใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา ทาผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ และสร้างช่องทางการตลาดเพื่อทาให้ขายสินค้าได้มากขึ้น
ผลิตภัณฑ์ต้นแบบกลุ่มที่2 (20%)สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีนวัตกรรม ให้มีนวัตกรรมและการออกแบบ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคได้
 
ดร. ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อานวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอกล่าวว่า“สถาบันฯ เป็นอีกหน่วยงานที่มุ่งสนับสนุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการผลิต สามารถพัฒนาสินค้าสนองต่อความต้องการของตลาดระดับบน (High-end Market) มุ่งเน้นการสร้างความแตกต่าง โดยในโครงการ IGNITE PLUS มีแนวทางในการพัฒนาสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย และของใช้ ของตกแต่งและของที่ระลึกในรูปแบบ 4’s” ดังนี้
Smart Materials เน้นถึงวัสดุธรรมชาติผสมผสานกับวัสดุสังเคราะห์ เพื่อประโยชน์ทางด้านการใช้งาน เช่น ความนุ่มสบาย ระบายอากาศได้ดี
Smart Functional Textiles การพัฒนาสิ่งทอให้มีคุณสมบัติพิเศษ หรือFunctional Textile เช่น สมบัติการสะท้อนน้า สมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรีย สมบัติป้องกันแสงอัลตราไวโอเลต สมบัติป้องกันการยับ และสมบัติการหน่วงการติดไฟ เป็นต้น
Smart Textiles สิ่งทออัจฉริยะ คือสิ่งทอที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้เกิดมูลค่าแก่ผู้สวมใส่ เช่น ผ้าที่เปล่งแสงได้ไปจนถึงผ้าที่เปลี่ยนสีได้(Phase Change Materials) ผ้าที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ลดแรงต้านลม และควบคุมการสั่นสะเทือนของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกีฬาของผู้สวมใส่
Smart Eco Textile นวัตกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การนำวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่(Recycling and use of waste as raw materials) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-design) เป็นต้น
 
นางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อานวยการสถาบันอาหาร รักษาการผู้อานวยการสถาบันอาหารกล่าวว่า“สถาบันอาหารเข้ามาช่วยยกระดับผู้ประกอบการ กำหนดแนวทางการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปช่วยมุ่งเน้น 4 แนวทาง ได้แก่ (1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพตามทิศทางของตลาดที่กำลังเติบโตต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ (2) พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษของเหลือในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่ม (3) พัฒนาต่อยอดสินค้าเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย (4) พัฒนาสินค้าที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ให้เป็นสินค้าแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้สามารถคงอยู่และเผยแพร่ออกไปในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิต OTOP ที่มีจุดอ่อนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถปรับตัวได้ทันการเปลี่ยนแปลงของตลาดอาหารที่มีรอบระยะเวลาเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นกว่าอดีต ตอบโจทย์ตลาดปัจจุบันและอนาคตระยะใกล้ เป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ”
 
นอกจากนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาของผู้ประกอบการOTOP ที่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ภายในกิจการทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานในกระบวนการผลิตได้เอง ไม่สามารถนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อต่อยอดกิจการ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่จึงวนเวียนอยู่ที่เดิม เป็นการลองผิดลองถูก และมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางการตลาด ทั้งที่กิจการมีพื้นฐานที่ดีในการผลิต รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกับชุมชนด้านแรงงานและวัตถุดิบ ด้วยเหตุนี้ IGNITE Plus ปี 2562 จึงได้มุ่งแก้ปัญหาพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ คือการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้นานขึ้นและยังคงคุณภาพและรสชาติที่ดี ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมทั้งด้านการเก็บรักษาคุณภาพสินค้าและดึงดูดผู้บริโภค เพื่อให้สามารถกระจายสินค้าไปได้ทั่วประเทศหรือส่งออกได้ เน้นการแปรรูปผลิตผลการเกษตรให้เป็นสินค้าใหม่ๆ การสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น การสร้างความแตกต่าง ขณะเดียวกันเมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้ว จะมีการนำไปทดสอบตลาดเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำกลับมาปรับปรุงอีกครั้ง ก่อนออกวางจำหน่ายจริง และจัดเจรจาธุรกิจเพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่าย โดยรายที่มีศักยภาพสูงจะได้รับคัดเลือกไปออกแสดงสินค้า และเจรจาธุรกิจกับผู้ซื้อในต่างประเทศอีกด้วย
 
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันอาหารมั่นใจว่า โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่(IGNITE PLUS) จะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนไทย สู่ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ให้มีมูลค่า ความแตกต่าง และสู่สากล ซึ่งเป็นหนึ่งแรงที่มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนไทยอย่างยั่งยืน

สิ่งทอ,สิ่งทอ