ทีมนักวิจัยของจีนได้พัฒนาวิธีการแปลงเศษหนังเป็นปุ๋ยและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาเศษหนังเหลือใช้ให้กับบริษัทผลิตหนังที่ประสบปัญหามายาวนาน
นำทีมโดยศาสตราจารย์ Wang Quanjie อาจารย์มหาวิทยาลัยยานไถ นำทีมนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีในการแปลงเศษหนังเหลือใช้เป็นปุ๋ยอนินทรีย์ หรือวัสดุก่อสร้าง เช่น กาว โดยการกำจัดโครเมียมซึ่งเป็นโลหะหนักออกไป หลังจากกำจัดโครเมียมออกจากเศษหนังเหลือใช้แล้วจะได้ของแข็งที่มีไนโตรเจนสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอนินทรีย์ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก เนื่องจากไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช เทคโนโลยีนี้ได้ผ่านการตรวจสอบจากกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมณฑลซานตงเมื่อไม่นานนี้
ในมณฑลซานตง บริษัทต้องจ่ายเงินเพื่อกำจัดเศษหนังที่เหลือจากขั้นตอนการผลิตเครื่องหนัง 1 ตัน เป็นเงินประมาณ 1,000 หยวน หรือ 150 ดอลลาร์สหรัฐ เทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยลดมลภาวะในการกำจัดเศษหนังเหลือใช้และยังเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร
จีนเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้บริโภคเครื่องหนังชั้นนำของโลก โดยผลิตรองเท้าหนังได้มากกว่า 4.5 พันล้านคู่ในแต่ละปี ซึ่งสร้างขยะจากเศษหนังเหลือใช้ได้มากถึง 1.4 ล้านตัน และมีโครเมียมรวมอยู่ด้วยถึง 280,000 ตัน
ในปี 2016 จีนได้เพิ่มขยะที่มีโครเมียมลงในรายการของเสียอันตรายซึ่งห้ามมิให้ทิ้งในหลุมฝังกลบและการเผาขยะ
ที่มา : http://www.cetusnews.com/news/New-tech-turns-leather-waste-into-fertilizer%0A---China-.SJQSt3qvjW.html
https://agric.ng/new-tech-converts-leather-waste-organic-fertlizer/