สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมกราคม 2568
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมกราคม 2568
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนมกราคม 2568 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 140.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 94.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.0 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 46.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 223.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 134.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 89.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 โดยภาพรวมดุลการค้าขาดดุล คิดเป็นมูลค่า 82.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ตารางที่ 1 แสดงมูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (เครื่องหนังและรองเท้า) ในเดือนมกราคม 2568 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มกราคม 2568
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
จากตารางที่ 1 พบว่า ภาพรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่าการส่งออกรวม 140.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) หากจำแนกตามรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง มีมูลค่าการส่งออก 94.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด มีมูลค่าการส่งออก 57.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน มีมูลค่าการส่งออก 21.2, 8.6 และ 5.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 จากการส่งออกไปยังตลาดเวียดนาม ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดอินโดนีเซียและจีนในเดือนนี้ ลดลงร้อยละ 32.4 และ 0.6
ถัดไป เครื่องใช้สำหรับเดินทาง มีมูลค่าการส่งออก 36.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 22.3, 2.9 และ 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 23.2 จากการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.8 และ 34.8
และรองเท้าและชิ้นส่วน มีมูลค่าการส่งออก 46.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และเดนมาร์ก มีมูลค่าการส่งออก 6.7, 4.4 และ 3.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9 จากการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีนและเดนมาร์ก ลดลงร้อยละ 12.0 และ 6.9
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าการนำเข้าของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (เครื่องหนังและรองเท้า) ในเดือนมกราคม 2568 และ (สะสม) เดือนมกราคม-มกราคม 2568
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
จากตารางที่ 2 พบว่า ภาพรวมการนำเข้าเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่าการนำเข้า 223.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าสินค้าในกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 134.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 89.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5
-----------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง :
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
-----------------------------------------
จัดทำและเรียบเรียงโดย
ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม)
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
21 มีนาคม 2568