จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาสฉบับที่ 96 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2567) |
Business ข้อมูลธุรกิจ |
ข่าว : พลังแฟนด้อม ลาบูบู้ หมีเนย ต่อยอดเศรษฐกิจ บูมเที่ยวไทยพลังแฟนด้อมฟีเวอร์ “ลาบูบู้” - “หมีเนย” สร้างปรากฎการณ์ใหม่สู่ผู้ทรงอิทธิพลแห่งยุค ททท. แบรนด์ดังแห่ทำกิจกรรม ปลุกเศรษฐกิจบูมท่องเที่ยวคึกคัก การใช้กระแส Pop Culture หรือวัฒนธรรมประชานิยมของผู้คนที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย มาใช้เป็นกลยุทธ์ในการทำตลาด มีอิทธิพลอย่างมากหลังโซเชียล มีเดียบูมสุดขีด และกลายเป็นกระแสหลัก ในการดึงดูดคนกลุ่มใหญ่ที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกันมารวมตัวกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ดนตรี แฟชั่น ภาพยนตร์ ซีรีส์ แต่ยังแตกแขนงแทรกซึมไปทุกวงการ |
ข้อมูลตลาด : สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนพฤษภาคม 2567
ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนพฤษภาคม 2567 ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนพฤษภาคม 2567 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 530.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 335.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.5 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 195.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 446.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.1 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 284.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.9 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 162.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 โดยภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 84.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนพฤษภาคม 2567
ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนพฤษภาคม 2567 ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนพฤษภาคม 2567 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 172.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 122.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 18.4 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 188.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 123.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 24.1 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 65.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.3 ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุลในเดือนนี้ |
สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2567
ภาพที่ 1 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2567 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2567 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีมูลค่า 6,433.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 6,324.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.25 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,851.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 11.24 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) รายเดือน พบว่า เดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.35 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567 |
Design ออกแบบ |
แบรนด์แฟชั่นล้มเหลวในการแก้ปัญหาวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลักค่าใช้จ่ายไปยังซัพพลายเออร์
"รายงานฉบับใหม่ขององค์กรไม่แสวงหากำไร Fashion Revolution ระบุว่า แบรนด์แฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดำเนินการไม่เร็วพอ ในการลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล และกำลังผลักค่าใช้จ่ายไปยังโรงงานที่ตนทำงานด้วย" รายงานชื่อ What Fuels Fashion ซึ่งเป็นรายงานพิเศษของดัชนีวัดความโปร่งใส (Transparency Index) ประจำปี ของ Fashion Revolution แนะนำว่า แบรนด์แฟชั่นที่ใหญ่ที่สุด ควรลงทุนอย่างน้อย 2% ของรายได้ประจำปีของตน ในการค่อย ๆ ลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล โดย Fashion Revolution ได้วิเคราะห์และจัดอันดับแบรนด์และผู้ค้าปลีกแฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก 250 ราย ในการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้านการดำเนินการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและพลังงานของตน และระบุว่า การตั้งเป้าหมายเฉลี่ยในปัจจุบัน 18% “ไม่เป็นความทะเยอทะยานที่เพียงพอ” ที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับการตั้งเป้าหมายทั่วโลก ในการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม |
Innovation นวัตกรรม เทคโนโลยี |
Depop ยกเลิกค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ขายในสหรัฐฯ เพื่อหวังกระตุ้นการเติบโตของตลาดมือสอง
Depop แพลทฟอร์มช้อปปิ้งที่ชื่นชอบล่วงหน้า (pre-loved shopping platform) หวังว่าการยกเลิกค่าธรรมเนียมการขาย 10% สำหรับผู้ใช้ในสหรัฐฯ จะกระตุ้นให้มีผู้เข้ามาขายเสื้อผ้ามือสองมากขึ้น ในชุมชนออนไลน์ของตน |
Quality มาตรฐานคุณภาพ |
อินโดนีเซียขยายระยะเวลาการเก็บภาษีนำเข้าสิ่งทอท่ามกลางภาวะอุตสาหกรรมซบเซารัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศขยายเวลามาตรการป้องกันการนำเข้าสินค้า เช่น ผ้า, พรม, และวัสดุหุ้มอื่น ๆ เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อปกป้องและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศ โดยการขยายเวลามาตรการดังกล่าวได้ถูกระบุในกฎระเบียบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใหม่สองฉบับ คือ PMK No. 48/2024 สำหรับผ้า และ PMK No. 49/2024 สำหรับพรมและวัสดุหุ้มอื่น ๆ |
THTI Activities กิจกรรมสถาบันฯ |
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดสัมมนา "Cultural & Creative สู่แฟชั่นไทยในธุรกิจ ODM”เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา "Cultural & Creative สู่แฟชั่นไทยในธุรกิจ ODM" โดยมี ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวรายงาน ณ โรงแรมจัสมิน ซิตี้ กรุงเทพฯ |