อุตสาหกรรมรองเท้าทั่วโลกหดตัวในปี 2023
ข้อมูลล่าสุดเผยให้เห็นว่า การผลิตรองเท้าทั่วโลกลดลงร้อยละ 6.0 เหลือ 22.4 พันล้านคู่ในปี 2023 ซึ่งนับเป็นจุดต่ำสุดในรอบทศวรรษ นอกเหนือจากช่วงการระบาดของโควิด-19 และลดลง 1.5 พันล้านคู่เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
China’s footwear exports increased from 61.3% in 2022 to 63.8% in 2023. Credit: Shutterstock.
อุตสาหกรรมรองเท้าทั่วโลกเผชิญกับการลดลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านการผลิตและการส่งออกในปี 2023 ตามข้อมูลจาก World Footwear Yearbook 2024 ซึ่งจัดทำโดยสมาคมรองเท้าของโปรตุเกส APICCAPS สาเหตุหลักของการลดลงนี้เกิดจากการบริโภคที่ลดลงในตลาดสำคัญ ๆ โดยตลาดสหรัฐอเมริกามีการลดลง 749 ล้านคู่ จีน 398 ล้านคู่ และสหภาพยุโรป 399 ล้านคู่
การส่งออกรองเท้าทั่วโลกลดลงร้อยละ 9.1 ในเชิงปริมาณ รวมทั้งสิ้น 14 พันล้านคู่ แม้ว่ามูลค่าการส่งออกจะลดลงร้อยละ 6.1 แต่มูลค่าการส่งออกยังคงสูงถึง 168 พันล้านดอลลาร์ ซึ่ง APICCAPS อธิบายว่าเป็น "ระดับที่สูงเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์"
เอเชียครองการค้ารองเท้าทั่วโลก
เอเชียผลิตรองเท้าทั่วโลกเกือบ 9 ใน 10 คู่ คิดเป็นร้อยละ 87.1 ของการผลิตทั่วโลก โดยจีนผลิตมากที่สุด โดยมีการผลิต 12.3 พันล้านคู่ในปี 2023 ซึ่งคิดเป็นเกือบร้อยละ 55.0 ของส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลก จีนยังโดดเด่นในฐานะผู้ส่งออกรองเท้ารายใหญ่ที่สุด โดยมีส่วนแบ่งการตลาด คิดเป็นร้อยละ 63.8 ในปี 2023 เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.3 ในปี 2022 เวียดนามอยู่ในอันดับที่ 2 ที่ร้อยละ 9.5 ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ร้อยละ 3.2 ประเทศทั้ง 3 นี้รวมกันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 3 ใน 4 ของการส่งออกรองเท้าทั่วโลก
GlobalData ระบุในรายงาน The Apparel Market in China to 2027 ว่าตลาดรองเท้าคาดว่าจะเติบโตด้วยอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) คิดเป็นร้อยละ 7.3 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความต้องการรองเท้าผ้าใบที่ยั่งยืน
Source: GlobalData
ในตลาดรองเท้า คาดว่ารองเท้าผู้ชายจะเป็นหมวดหมู่ที่เติบโตเร็วที่สุด โดยมี CAGR อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ระหว่างปี 2023 ถึง 2027 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความนิยมของรองเท้าผ้าใบในหมู่ผู้ชาย ขณะที่รองเท้าผู้หญิงคาดว่าจะเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าเล็กน้อย โดยมี CAGR อยู่ที่ร้อยละ 7.3 ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนรองเท้าเด็กคาดว่าจะเติบโตที่ CAGR ร้อยละ 6.8 เนื่องจากอัตราการเกิดลดลง
แม้ว่า World Footwear Yearbook จะชี้ให้เห็นถึงการตกต่ำโดยรวม แต่ก็ยังมีแนวโน้มที่ดีเกิดขึ้น โดยอินเดียได้เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดภายในประเทศและคิดเป็นร้อยละ 11.6 ของการผลิตทั่วโลก นอกจากนี้ ราคาส่งออกเฉลี่ยทั่วโลกต่อคู่ของรองเท้าในปี 2023 เพิ่มขึ้นเป็น 12 ดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับปี 2022 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
Source: GlobalData
จากรายงาน The Apparel Market & Forecasts in India 2025 ของ GlobalData ความนิยมของชุดกีฬาในอินเดียที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะช่วยกระตุ้นยอดขายรองเท้าผ้าใบในช่วงเวลาคาดการณ์ เนื่องจากความอเนกประสงค์และความสบายของรองเท้าผ้าใบ โดยมี CAGR ร้อยละ 9.9 ระหว่างปี 2019 ถึง 2025 เมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าและรองเท้าบูท คิดเป็นร้อยละ 7.2
World Footwear Yearbook ยังได้เน้นถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการบริโภคทั่วโลก โดยเอเชียตอนนี้มีสัดส่วนการบริโภครองเท้าทั่วโลก คิดเป็นร้อยละ 54.7 ตามมาด้วยยุโรป คิดเป็นร้อยละ 13.9 และอเมริกาเหนือ คิดเป็นร้อยละ 13.4 จีนยังคงเป็นผู้นำในการบริโภค แม้ว่าสัดส่วนของจีนจะลดลงเหลือร้อยละ 17.1
การบริโภคในสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้สหรัฐฯ สูญเสียตำแหน่งอันดับ 2 จากปีก่อน และเปลี่ยนตำแหน่งกับอินเดีย
ในแง่ของมูลค่าการส่งออก รองเท้าหนังนำโด่งและคิดเป็นร้อยละ 38.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม ในแง่ของปริมาณ รองเท้าทำจากยางและพลาสติกยังคงครองตลาดโดยคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั่วโลก
และเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รายงานของ GlobalData ที่ชื่อ Global Shopping Trends: Factors of Influence for Purchases ระบุว่า ความคุ้มค่าของเงินเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อผู้บริโภคในทุกภาคส่วน ยกเว้นรองเท้าหรือคิดเป็นร้อยละ 78.9 ของผู้บริโภคระบุว่าคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
-------------------------------------------
Source: JustStyle.com
Photo credit: Shutterstock and GlobalData