โรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนพฤษภาคม 2567
“ภาพรวมเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย ในเดือนพฤษภาคม 2567 พบว่า มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ จำนวน 1 โรงงาน เงินลงทุนรวม 235.0 ล้านบาท ได้แก่ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจากหนังสัตว์ ขนสัตว์ เขาสัตว์ กระดูกสัตว์ หนังเทียม ขณะที่มีโรงงานที่ยกเลิกกิจการในเดือนดังกล่าว จำนวน 1 โรงงาน ได้แก่ โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ปนหรือบด ฟอก ขัด และแต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ ทั้งนี้ ไม่ปรากฏโรงงานที่ขยายกิจการในเดือนเวลาดังกล่าว”
ตารางที่ 1 : จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย (สะสม) เดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2567
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
จากตารางที่ 1 พบว่า ภาพรวมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทยไทย (สะสม) เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มีจำนวนรวม 698 โรงงาน จำแนกเป็นโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) จำนวน 3 โรงงาน เงินลงทุนรวม 275.2 ล้านบาท และมีจำนวนโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) ในช่วงเวลาดังกล่าว สะสมจำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 2 : จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย (สะสม) เดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2567
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
จากตารางที่ 2 พบว่า จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า (สะสม) เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มีจำนวนแรงงานที่เข้าระบบในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) จำนวน 87 คน และจำนวนแรงงานที่ออกจากระบบในโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) จำนวน 409 คน
ภาพที่ 1 แสดงมูลค่าเงินลงทุนของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย (กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ) (สะสม) เดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2567
จากภาพที่ 1 พบว่า ภาพรวมเงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการใหม่ ในเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 235.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจากหนังสัตว์ ขนสัตว์ เขาสัตว์ กระดูกสัตว์ หนังเทียม และส่งผลให้ภาพรวมเงินลงทุน (สะสม) เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 275.2 ล้านบาท
-----------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง :
กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
-----------------------------------------
จัดทำและเรียบเรียงโดย
ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม)
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
มิถุนายน 2567