หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอถูกเรียกร้องให้เลิกใช้วัสดุสังเคราะห์

อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอถูกเรียกร้องให้เลิกใช้วัสดุสังเคราะห์

กลับหน้าหลัก
16.04.2567 | จำนวนผู้เข้าชม 187

อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอถูกเรียกร้องให้เลิกใช้วัสดุสังเคราะห์

องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร หรือ ‘Textile Exchange’ ได้เผยแพร่รายงานซึ่งอธิบายถึงกลยุทธ์สำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ เพื่อเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานจากถ่านหิน ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตวัสดุสิ่งทอ หากอุตสาหกรรมต้องการให้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ที่เกี่ยวข้องกับเส้นใยสังเคราะห์ในปัจจุบัน

The report further emphasised that the fashion and textile industry must find ways to repurpose existing synthetic textile waste, acknowledging the energy and emissions spent making these materials. 

Credit: Shutterstock

รายงานที่ชื่อว่า "อนาคตของเส้นใยสังเคราะห์ หรือ The Future of Synthetics” ฉบับล่าสุดจากองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร หรือ Textile Exchange ระบุว่า การครองตลาดของวัสดุสังเคราะห์ในการผลิตเส้นใยทั่วโลก นับตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ซึ่งได้มีการประเมินว่า เฉพาะเส้นใยโพลีเอสเตอร์ มีส่วนก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเส้นใยประเภทอื่น ๆ ทั้งหมด และเมื่อปี พ.ศ. 2565 (ปี 2022) พบว่า เส้นใยโพลีเอสเตอร์ 47 ล้านตัน ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2e) ประมาณ 125 ล้านตัน

โดยรายงานฉบับดังกล่าว มีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือให้อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ เปลี่ยนผ่านจากการใช้วัสดุสังเคราะห์ไปสู่แนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาทิ การรีไซเคิลในสิ่งทอไปสู่สิ่งทอ การใช้เส้นใยชีวภาพ และเทคโนโลนีดักจับคาร์บอน เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ในรายงานได้ตั้งข้อสังเกตว่า การเปลี่ยนไปใช้เฉพาะวัตถุดิบจากธรรมชาติแทนวัสดุสังเคราะห์ทั้งหมด -โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัตราการผลิตปัจจุบัน - อาจนำไปสู่การพึ่งพาและการสูญเสียระบบนิเวศธรรมชาติมากเกินไป ดังนั้น อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอควรหาแนวทางในการนำขยะสิ่งทอสังเคราะห์ที่มีอยู่เดิมนำกลับมาใช้ใหม่ โดยคำนึงถึงพลังงานและก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการผลิตวัสดุเหล่านั้นด้วย 

แนวทางการแก้ไขปัญหา มี 2 ประการ คือ การระบุและลงทุนในวิธีทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อสร้างวัสดุสังเคราะห์โดยใช้วัตถุดิบหมุนเวียนหรือวัตถุดิบหมุนเวียนที่ได้จากแหล่งธรรมชาติอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ลดปริมาณการผลิตวัสดุใหม่โดยรวม

รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า กระบวนการรีไซเคิลขวดพลาสติกจากขวด PET นับเป็นทางเลือกที่พบได้ทั่วไปสำหรับโพลีเอสเตอร์บริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม รายงานได้เสนอข้อแนะนำให้กับอุตสาหกรรมแฟชั่นถึงการลงทุนด้วยการขยายขนาดเทคโนโลยีรีไซเคิลสิ่งทอเป็นสิ่งทอสำหรับเส้นใยสังเคราะห์เพื่อสร้างระบบห่วงโซ่ปิดที่แท้จริงแทนที่จะต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากการรีไซเคิลสิ่งทอเป็นสิ่งทอแล้ว ในรายงานยังระบุถึงโอกาสสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพสังเคราะห์และเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน  ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้อาจช่วยให้แบรนด์แฟชั่นลดการพึ่งพาการสกัดเชื้อเพลิงจากถ่านหิน ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

และเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา Textile Exchange ได้เปิดตัวเครื่องมือที่ชื่อว่า ‘Materials Directory’  เพื่อช่วยค้นหาผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบควบคู่ไปกับการเปิดตัวรายงาน ‘Materials Market Report’ ฉบับที่ 10 ซึ่งรายงานฉบับนี้ ได้สรุปภาพรวมแนวโน้มการผลิตเส้นใยและวัสดุทั่วโลกประจำปี พ.ศ. 2566 (ปี 2023)

-------------------------------------------

Source: JustStyle.com 

Photo credit: Shutterstock and Just Style

สิ่งแวดล้อมสิ่งทอ, fashion, textile, industries, materials, synthetic, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'67