ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2567
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 504.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 321.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 182.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 414.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 250.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 164.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 โดยภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 90.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว (สะสม) 2 เดือน (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 986.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออก (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 639.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และ (2) การส่งออก (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 346.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) 2 เดือนของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 871.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 522.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.2 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 348.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้า (สะสม) เกินดุล คิดเป็นมูลค่า 115.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์และเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY)
ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567
การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 87.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไปยังตลาดปากีสถาน สหรัฐอเมริกา และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 527.7, 8.6 และ 29.4 ตามลำดับ
และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 171.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดปากีสถานและจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 369.8 และ 25.2 ขณะที่การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาในเดือนนี้ พบว่า ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 7.2
ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2567 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567
การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 40.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเส้นด้ายไปยังตลาดญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย ปรับตัวลดลงร้อยละ 26.9 และ 11.7 ขณะที่การส่งออกเส้นด้ายของไทยไปยังตลาดจีนในเดือนนี้ พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0
และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 81.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 22.6 และ 10.7 ขณะที่การส่งออกเส้นด้ายของไทยไปยังตลาดจีนในเดือนนี้ พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 15.3
ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกุมภาพันธ์ 2567 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567
การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 87.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดเวียดนาม ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.8 ขณะที่การส่งออกผ้าผืนของไทยไปยังตลาดกัมพูชาและบังกลาเทศในเดือนนี้ พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และ 28.8
และการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 168.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดเวียดนามและเมียนมา ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 2.0 และ 20.0 ขณะที่การส่งออกผ้าผืนของไทยไปยังตลาดกัมพูชาในเดือนนี้ พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 16.0
ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกุมภาพันธ์ 2567 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567
การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 182.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเครื่องนุ่งห่มของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นและเบลเยียมในเดือนนี้ พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และ 77.1 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.1
และการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 346.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่กลับมาขยายตัว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 0.7, 10.3 และ 56.8 ตามลำดับ
ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก
เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า นำเข้าลดลงทุกรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) แต่นำเข้าผ้าผืนและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY)
ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2567 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 104.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าเส้นด้ายลดลงจากตลาดสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 25.6 แต่นำเข้าเส้นด้ายจากตลาดจีนและญี่ปุ่นในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และ 0.6
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 218.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าลดลงจากตลาดเวียดนาม ลดลง (สะสม) ร้อยละ 25.6 ขณะที่การนำเข้าเส้นด้ายของไทยจากตลาดจีนและญี่ปุ่น (สะสม) 2 เดือน พบว่า นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และ 0.6
ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกุมภาพันธ์ 2567 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 145.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าผ้าผืนเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน เวียดนาม และไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7, 19.0 และ 10.3 ตามลำดับ
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 304.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าเพิ่มขึ้นจากตลาดจีนและเวียดนาม เพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 14.5 และ 19.3 ขณะที่การนำเข้าผ้าผืนของไทยจากตลาดไต้หวัน (สะสม) 2 เดือน พบว่า นำเข้าลดลงร้อยละ 10.1
ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกุมภาพันธ์ 2567 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 125.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน เวียดนาม และอิตาลี เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6, 52.3 และ 19.9 ตามลำดับ
และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 2 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 263.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน เวียดนาม และอิตาลี นำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) เช่นกันที่ร้อยละ 38.3, 64.1 และ 21.5 ตามลำดับ
ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM)
ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการส่งออกในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้
การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ในภาพรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ของไทยไปยังตลาดปากีสถาน สหรัฐอเมริกา และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3, 5.9 และ 16.2 ตามลำดับ
การส่งออกเส้นด้ายในภาพรวม ลดลงร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกเส้นด้ายของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 20.2 แต่การส่งออกเส้นด้ายของไทยไปยังตลาดจีนและอินโดนีเซีย พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 และ 2.5
สำหรับการส่งออกผ้าผืนในภาพรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดเวียดนามและบังกลาเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 และ 46.7 แต่การส่งออกผ้าผืนของไทยไปยังตลาดกัมพูชา พบว่า ลดลงร้อยละ 10.5
และการส่งออกเครื่องนุ่งห่มในภาพรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและเบลเยียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ 22.7 แต่การส่งออกเครื่องนุ่งห่มของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่น พบว่า ลดลงร้อยละ 1.6
ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM)
และมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการนำเข้าในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้
การนำเข้าเส้นด้ายในภาพรวมเดือนนี้ ลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีน ลดลงร้อยละ 16.5 แต่นำเข้าเส้นด้ายเพิ่มขึ้นจากตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และ 25.3
การนำเข้าผ้าผืนในภาพรวมเดือนนี้ นำเข้าลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีน เวียดนาม และไต้หวัน ลดลงร้อยละ 7.1, 24.1 และ 11.5 ตามลำดับ
และการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมเดือนนี้ นำเข้าลดลงร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีน เวียดนาม และอิตาลี ลดลงร้อยละ 25.6, 10.0 และ 0.2 ตามลำดับ
ภาพที่ 13 สรุปภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ (5 อันดับแรก) เดือนกุมภาพันธ์ 2567 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567
สรุปภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่า 504.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย พบว่า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องนุ่งห่มในเดือนนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากตลาดคู่ค้าหลักที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสิ่งทอ (ผลิตภัณฑ์เส้นด้ายและผ้าผืน) ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 (YoY) และเมื่อพิจารณาในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ ใน 5 อันดับแรก จัดเรียงตามมูลค่าการส่งออกในเดือนดังกล่าว พบว่า การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7, 2.6 และ 21.2 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 และ 6.2 (YoY)
และภาพรวมการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (สะสม) 2 เดือน (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะเดียวกันตลาดส่งออกสำคัญ ใน 5 อันดับแรก พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกตลาด
โดยคาดการณ์มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในไตรมาส 1 ปี 2567 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือที่มูลค่าคาดการณ์การส่งออกรวม 1,532.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากสัญญาณการฟื้นตัวจากตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยขยายตัว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน และ CLMV บวกกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว(1)
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องของประเทศเศรษฐกิจหลัก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การขาดแคลนพลังงานในทวีปยุโรป อาจเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว รวมทั้งการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและค่าจ้างแรงงาน ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายในประเทศด้วยเช่นกัน
-------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง :
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
(1)สถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มกราคม 2567 โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
-------------------------------------------------
จัดทำและเรียบเรียงโดย
ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม)
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
5 เมษายน 2567