หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / การให้ความรู้เด็ก ๆ เกี่ยวกับแฟชั่นมือสองถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของการหมุนเวียน

การให้ความรู้เด็ก ๆ เกี่ยวกับแฟชั่นมือสองถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของการหมุนเวียน

กลับหน้าหลัก
12.03.2567 | จำนวนผู้เข้าชม 145

การให้ความรู้เด็ก ๆ เกี่ยวกับแฟชั่นมือสองถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของการหมุนเวียน

ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเสนอให้เด็ก ๆ ที่มีอายุเพียง 6 ปี มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่เสื้อผ้ามือสอง และการทำให้การซื้อผลิตภัณฑ์มือสองมีความสะดวกมากที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนการหมุนเวียนของแฟชั่นอย่างกว้างขวางในอนาคต

การประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของเสื้อผ้ามือสองแก่เด็กๆ ที่มีอายุ่เพียง 6 ปี จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมในระยะยาว

Credit: Getty Images.

Swoperz ตลาดแฟชั่นสินค้ามือสองสำหรับเด็ก เปิดเผยในงาน Source Fashion ว่า การมุ่งเป้าไปที่เด็กในการส่งเสริมแฟชั่นที่ยั่งยืนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในระยะยาว

                  การอภิปรายในงาน Source Fashion ที่กรุงลอนดอน

Credit: Just Style

ในระหว่างการอภิปราย เรื่อง ‘การปิดลูป - บทบาทของตลาดแฟชั่นในเศรษฐกิจหมุนเวียน’ ผู้แทนบริษัท Swoperz กล่าวว่า ในการกระตุ้นให้เด็ก ๆ นำเสื้อผ้ามาแลกหรือเปลี่ยน ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นการปลูกฝังให้เด็ก ๆ มีนิสัยการบริโภคอย่างตระหนักตั้งแต่อายุยังน้อย

ในขณะที่เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังขาดความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบของ fast fashion ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม 

ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องการสร้างความตระหนักให้กับเด็ก ๆ และสร้างแพลทฟอร์มที่ให้ทางเลือกทางเศรษฐกิจแก่เด็ก ๆ ในการลองเสื้อผ้าได้มากขึ้น ไปพร้อม ๆ กับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

การมุ่งเป้าไปที่เด็ก ๆ จะเป็นโอกาสในการบูรณาการการซื้อเสื้อผ้ามือสองเข้ากับแฟชั่นที่ยั่งยืน ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงทางเลือก แต่เป็นค่านิยมทางวัฒนธรรมอีกด้วย

Thrift+’ ตลาดแฟชั่นมือสองเปิดเผยว่า บ่อยครั้งที่ผู้ซื้อมองว่า เสื้อผ้าเก่า ๆ ของตนเป็นขยะ ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องแข่งขันกับถังขยะ ซึ่งหมายความว่าความสะดวกเป็นหัวใจของความสำเร็จ โดยแบรนด์ดังกล่าวเข้ามามีบทบาท ในขณะที่แพลทฟอร์มปลดล็อกอุปทานในการนำแฟชั่นมือสองไปขายออนไลน์ด้วยราคาที่จับต้องได้

จากความนิยมของ Amazon ผู้ซื้อจะมีความคาดหวังสูงมาก ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ สามารถจัดหาประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยที่พิเศษ ด้วยการส่งมอบที่รวดเร็ว การควบคุมคุณภาพ และนโยบายการคืนสินค้าภายในเวลา 30 วัน บ่อยครั้งจะพบว่าลูกค้ามีความพอใจ

บริษัทฯ พัฒนาจาก app ที่สร้างสำหรับร้านค้าเพื่อการกุศลทั่วไป เป็นการขายสต๊อกสินค้าที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ซื้อท้องถิ่นออนไลน์                

Thrift+’ เชื่อว่า สิ่งกีดขวางการซื้อและการขายผลิตภัณฑ์มือสองเป็นผลของแพลทฟอร์มระหว่างผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน บริษัทฯ จึงอยู่ได้ตรงกลางเพื่อปลดล็อกทั้งอุปทานและอุปสงค์จากผู้ที่มิฉะนั้นแล้วจะไม่เข้าร่วม บริษัทฯ จึงสามารถสร้างผลกระทบที่แท้จริงต่อขยะแฟชั่น อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากยังมีอยู่ เช่น จะรักษาลูกค้าอย่างไร เมื่อร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์

ความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จของ Swoperz กับแบรนด์ ผู้ค้าปลีก และองค์กรต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน ช่วยทำให้วาระเสื้อผ้ามือสองของเด็กมีความคืบหน้าจากเดิมไปมาก

โดย Swoperz ได้ร่วมมือกับ Asda ซูเปอร์มาร์เก็ตของสหราชอาณาจักร จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายภายในบริเวณร้านกาแฟของห้าง ถึงประเด็นการนำกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิลและการซ่อมแซม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ GoHenry ซึ่งเป็น app การเงินและบัตรเดบิทของเด็ก ในการใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมการใช้จ่ายของเด็ก ช่วงอายุระหว่าง 11-17 ปี  รวมทั้งเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการศึกษาอื่น ๆ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ร่วมมือกับ ReLondon ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มด้านการจัดการทรัพยากรและขยะจากสิ่งแวดล้อมที่กรุงลอนดอนเพื่อทำให้เมืองดังกล่าว เป็นผู้นำระดับโลกด้านความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน   

-------------------------------------------

Source: JustStyle.com 

Photo credit: Getty Images and Just Style

สิ่งแวดล้อมสิ่งทอ, kids, Educating, secondhand, fashion, circularity, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'67