หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชา ระบุว่า ผลกระทบของกฎข้อบังคับเรื่องแบรนด์ของสหภาพยุโรปจะเป็นไปอย่างช้า ๆ

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชา ระบุว่า ผลกระทบของกฎข้อบังคับเรื่องแบรนด์ของสหภาพยุโรปจะเป็นไปอย่างช้า ๆ

กลับหน้าหลัก
04.03.2567 | จำนวนผู้เข้าชม 147

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชา ระบุว่า ผลกระทบของกฎข้อบังคับเรื่องแบรนด์ของสหภาพยุโรปจะเป็นไปอย่างช้า ๆ 

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาคาดว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใดมากนัก สำหรับมาตรฐานอุตสาหกรรมของตน ถึงแม้สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ กำลังจะออกกฎข้อบังคับก็ตาม 

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาคาดว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก หลังกฎข้อบังคับใหม่ที่ออกมาของสหภาพยุโรป เพราะกัมพูชาได้ปรับปรุงมาตรฐานของตนแล้ว ตามที่กำหนดในกฎหมายของสหภาพยุโรป 

ผู้กำกับด้านการค้าสำหรับตลาดของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ พยายามใช้กฎข้อบังคับในการตั้งมาตรฐานที่สูงขึ้นสำหรับแบรนด์ต่างชาติเกี่ยวกับการปกป้องแรงงานและสิ่งแวดล้อม แต่ผู้ที่อยู่ในสาขาเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าของกัมพูชา กลับคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญใด ๆ ในมาตรฐานอุตสาหกรรมของตน อย่างน้อยก็ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง   

ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา (ปี 2023) สหภาพยุโรปได้ยอมรับชั่วคราวถึงร่างกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานด้านความยั่งยืน (EU Directive on Corporate Sustainability Due Diligence) โดยกำหนดระเบียบการปฏิบัติสำหรับบริษัทต่าง ๆ ที่อยู่ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ หรือกำลังจะค้าขายกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยเฉพาะเน้นสาขาที่ถูกมองว่า “มีความเสี่ยงสูง” ที่จะละเมิดกฎหมาย ซึ่งรวมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าด้วยภายใต้กฎหมายดังกล่าว สหภาพยุโรปจะเรียกร้องให้แบรนด์ต่าง ๆ ปรับปรุงมาตรฐานสิทธิแรงงานของตนตลาดห่วงโซ่อุปทาน     

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้น ในขณะที่สหภาพยุโรปกำลังเข้มงวดเรื่องการควบคุมการฟอกเขียวและของเสีย โดยเน้นว่าผู้ผลิตและแบรนด์จะต้องไม่เผาเสื้อผ้าที่ขายไม่ได้หรือที่ลูกค้านำกลับมา ภายในปี พ.ศ. 2571 (ปี 2028) 

นโยบายดังกล่าวพร้อมกับการทบทวนประเทศผู้ที่ได้รับประโยชน์จากภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ของสหรัฐฯ ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences หรือ GSP) อาจสร้างแรงกดดันให้กับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชา  

สาขาเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาคาดว่า จะไม่มีการมีเปลี่ยนแปลงมากนักหลังการเปลี่ยนแปลงของกฎข้อบังคับของสหภาพยุโรป

Ken Loo เลขาธิการของสมาคมอุตสาหกรรม Textile, Apparel, Footwear and Travel Goods Association in Cambodia (TAFTAC) หรือชื่อเดิม Garment Manufacturers Association in Cambodia (GMAC) คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะกัมพูชาได้ปรับปรุงมาตรฐานตามกฎหมายของสหภาพยุโรปแล้ว     

กระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชาไม่ได้แสดงความเห็นตามที่ร้องขอ  

อย่างไรก็ตาม Loo รู้สึกว่า กฎข้อบังคับใหม่ของสหภาพยุโรปจะมีประโยชน์ต่อสหภาพแรงงานของกัมพูชา เพราะจะเป็นอีกแพลทฟอร์มหนึ่งที่คนงานสามารถร้องเรียนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับผู้ซื้อที่ดำเนินการจัดหาจากกัมพูชา แต่ไม่ได้ร้องเรียนโรงงานใดโดยเฉพาะ  

สหภาพเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับแบรนด์นานาชาติ  

สหภาพอิสระของกัมพูชาได้แสดงความกังวลต่อแบรนด์นานาชาติ จากค่าตอบแทนที่ไม่ยุติธรรมไปจนถึงการจำกัดกิจกรรมของสหภาพ และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 (ปี 2023) หลังจากที่สหภาพต่างๆ ในกัมพูชาได้ร้องเรียนบริษัท Violet Apparel ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ของ Nike และต้องจ่ายค่าจ้างครบจำนวนให้กับคนงานที่ถูกปลด ในระหว่างการชะลอตัวของอุตสาหกรรม ในช่วงการระบาดของโควิด-19 เมื่อปี พ.ศ. 2563 (ปี 2020) ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นที่เป็นนักกิจกรรมของ Nike ได้หยิบยกคดีดังกล่าว และเรียกร้องให้บริษัทฯ จ่ายเงินจำนวน 2.2 ล้านเหรียญฯ ให้กับคนงานในสองโรงงาน 

หนึ่งในการปกป้องปัจจุบัน คือ องค์กร Better Factories Cambodia ภายใต้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งทำการตรวจสอบสถานที่ทำงาน และโรงงานที่ทำสัญญากับแบรนด์นานาชาติ  แต่สหภาพและนักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า ระบบดังกล่าวไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุด เพราะไม่มีมาตรการลงโทษ และโรงงานที่รับช่วงผลิตก็สามารถปฏิบัติต่อคนงานอย่างไม่ยุติธรรมได้    

Khun Tharo ผู้จัดการโปรแกรม ของ NGO Central ที่สนับสนุนสหภาพแรงงานได้ติดตามความคืบหน้าของสหภาพยุโรปอย่างใกล้ชิด แต่ก็คาดว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใดต่อการปกป้องคนงานในกัมพูชา  

เขากล่าวว่า มันจะทำให้แบรนด์ต่างชาติบางรายต้องรับผิดชอบต่อห่วงโซ่อุปทานของตน  แต่ความกังวลก็คือ เราจะแปลงเป็นการละเมิดในโรงงานได้อย่างไร กฎหมายของกัมพูชาอยู่ในอันดับท้ายของหลักนิติธรรมผ่านดัชนี World Justice Project’s Rule of Law โดยจัดอันดับให้กัมพูชาเป็นอันดับสองรองจากสุดท้าย คือ ก่อนเวเนซูเอลา ดังนั้น การปฏิรูปใด ๆ จึงต้องมีเครื่องมือทางกฎหมายที่ชัดเจนมาก ที่ซึ่งการร้องเรียนสามารถดำเนินการได้ไม่ว่าในประเทศผู้บริโภคใด ๆ    

Tharo ไม่แน่ใจว่า สถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะถึงแม้จะมีกฎหมายของสหภาพยุโรป แต่สหภาพแรงงานก็ยังต้องร้องเรียนต่อศาลของประเทศของตน ซึ่งอาจไม่มีมาตรฐานเดียวกัน แต่ก็คาดว่า สหภาพจะทดสอบระบบดังกล่าว โดยการร้องเรียนแบรนด์เยอรมัน Puma ที่ซึ่งโรงงานของซัพพลายเออร์ คือ Bright Flushing และ Eastcrown ตั้งอยู่ในกัมพูชา และถูกกล่าวหาโดยกลุ่มสิทธิมนุษยชนว่า กีดขวางกิจกรรมของสหภาพหลังมีการยิงเข้าไปในกลุ่มผู้จัดงานอย่างน้อย 12 คน   

Tharo เสริมว่า ขั้นตอนของกฎข้อบังคับของสหภาพยุโรปใช้เวลานานและค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น คนงานที่ไม่มีงานทำหรือกำลังมีปัญหาเรื่องการเงิน ก็จะไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเวลานาน ระบบดังกล่าวบ่อยครั้งทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ต้องพึ่งพาการบังคับใช้กฎหมายในกัมพูชา ในขณะที่สหภาพอ้างว่า ผู้กำกับกฎระเบียบ เช่น ผู้ตรวจสอบจากกระทรวงแรงงาน ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ และอนุญาโตตุลาการ มักจะเข้าข้างบริษัทและละเลยความกังวลของคนงาน   

เขากล่าวว่า แทนที่แบรนด์ต่าง ๆ จะใช้ข้ออ้างในการประพฤติที่ไม่ยุติธรรม แบรนด์ต่าง ๆ เหล่านั้น ควรดำเนินการทันทีเมื่อมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางธุรกิจของตน  

เมื่อเดือนธันวาคม Steve Lamar ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสมาคม American Apparel & Footwear Association (AAFA) ของสหรัฐฯ เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาตรวจสอบรายงานเรื่องการใช้ของเสียจากสิ่งทอ “ที่ผิดกฎหมาย” รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กและแรงงานที่ต้องชดใช้หนี้ในอุตสาหกรรมเตาเผาอิฐของประเทศ 

----------------------------------------

Source: JustStyle.com 

Photo credit: Shutterstock

กฎระเบียบสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, เครื่องนุ่งห่ม, กัมพูชา, Apparel, Cambodia, EU brand, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'67