หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์นำเข้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2566

สถานการณ์นำเข้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2566

กลับหน้าหลัก
25.01.2567 | จำนวนผู้เข้าชม 131

สถานการณ์นำเข้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2566

การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 มีมูลค่า 12,650.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 18.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยนำเข้าสินค้าหลักอย่างทองคำฯ ในสัดส่วนร้อยละ 58.17 และสินค้ารองลงมาอย่างเพชร ลดลงร้อยละ 29.11 และร้อยละ 24.28 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องประดับแท้ และพลอยสี ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.79 และร้อยละ 51.05 ตามลำดับ

 ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2566

 ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 14,495.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 13,664.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.22 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 8,101.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 8.51 ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2566

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยรายสินค้าระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2566

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญ ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 พบว่า 

1) สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับทอง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.14 ส่วนเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับ แพลทินัม และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 8.14, ร้อยละ 2.95 และร้อยละ 4.70 ตามลำดับ 

2) สินค้ากึ่งสำเร็จรูป พลอยเนื้อแข็งเและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ขยายตัวได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.95 และร้อยละ 94.47 ตามลำดับ ส่วนเพชรเจียระไน ลดลงร้อยละ 26.86

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ที่เพิ่มขึ้นนั้น ได้รับผลบวกจากการเติบโตของยอดซื้อในช่วงไตรมาสแรกของปี และการจัดงานแสดงอัญมณีและเครื่องประดับในหลายประเทศสำคัญที่ช่วยกระตุ้นยอดซื้อ ขณะที่คำสั่งซื้อเพื่อการบริโภคในช่วงเทศกาลใช้จ่ายปลายปีและค่าเงินบาทอ่อนค่า แม้มีส่วนช่วยกระตุ้นยอดซื้อแต่ยังส่งผลไม่มากนัก ทั้งนี้ ตลาดสำคัญอันดับแรกในการส่งออกของไทย อย่างฮ่องกง ยังเป็นตลาดหลักที่ขยายตัวได้ดีด้วยมูลค่าส่งออกสูงถึงร้อยละ 153.52 ส่วนตลาดอันดับ 2-5 อย่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ลดลงร้อยละ 11.09, ร้อยละ 48.29, ร้อยละ 10.82 และร้อยละ 4.09 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกไป ฮ่องกง ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นนั้น มาจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างพลอยเนื้อแข็งเจียระไน รวมทั้งสินค้าสำคัญอย่างเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ได้สูงขึ้นร้อยละ 327.95, ร้อยละ 65.18, ร้อยละ 192.37, ร้อยละ 410.45 และร้อยละ 10 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 5.66

ส่วนการส่งออกไป สหรัฐอเมริกา ที่หดตัวลงนั้น เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทองและ เครื่องประดับเงิน ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 67 ได้ลดลงร้อยละ 9.85 และร้อยละ 15.77 รวมทั้งสินค้าสำคัญอย่างเพชรเจียระไน ที่ลดลงร้อยละ 46.91 ส่วนการส่งออกพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.92 และร้อยละ 33.32 ตามลำดับ

สำหรับการส่งออกไปยัง อินเดีย ลดลงจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเพชรเจียระไน ที่มีสัดส่วนราวร้อยละ 29 ลดลงร้อยละ 78.32 รวมทั้งสินค้าสำคัญอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ซึ่งลดลงร้อยละ 19.26 และร้อยละ 11.81 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับเงินและอัญมณีสังเคราะห์ยังเติบโตได้ร้อยละ 89.87 และร้อยละ 28.12 ตามลำดับ 

ขณะที่การส่งออกไป เยอรมนี ซึ่งมีมูลค่าลดลงนั้นเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน ซึ่งเป็นสินค้าหลักใน สัดส่วนร้อยละ 74 รวมทั้งสินค้าสำคัญอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเครื่องประดับทอง ได้ลดลงร้อยละ 10.31, ร้อยละ 13.44 และร้อยละ 19.70 ตามลำดับ ส่วนพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.69 

การส่งออกไป สหราชอาณาจักร ที่ปรับตัวลดลงจากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับเงิน พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ได้ลดลงร้อยละ 23.32, ร้อยละ 16.05 และร้อยละ 27.01 ตามลำดับ ส่วนสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทองยังเติบโตได้ร้อยละ 21.20

แผนภาพตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2566

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ศูนยข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

มกราคม 2567

นำเข้าส่งออกอัญมณี, อุตสาหกรรม, อัญมณีและเครื่องประดับ, GIT, สถานการณ์, การนำเข้า, การส่งออก, Import, Export, ปี 2566, สะสม 11 เดือน, มกราคม-พฤศจิกายน, GIT Information Center