อุตสาหกรรมรองเท้าของสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีการทบทวนภาษีภายใต้มาตรา 301
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าปลีกรองเท้าของสหรัฐฯ (Footwear Distributors & Retailers of America หรือ FDRA) ได้มีจดหมายถึงรัฐบาลของประธานาธิบดี Biden เรียกร้องให้ยกเลิกการเก็บภาษีภายใต้มาตรา 301 กับจีน (มาตรา 301 เป็นบทบัญญัติหนึ่งในกฎหมายการค้าของสหรัฐฯ ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา) ซึ่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายให้กับธุรกิจและผู้บริโภคชนชั้นแรงงานของสหรัฐฯ ที่กำลังประสบกับปัญหาเงินเฟ้อ
กว่าร้อยละ 50 ของรองเท้าที่นำเข้าจากจีนถูกเรียกเก็บภาษีร้อยละ 15 ภายใต้มาตรา 301 เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562
และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ภาษีดังกล่าวลดลงร้อยละ 7.5
จดหมายดังกล่าวเขียนโดย Matt Priest ประธานและประธานเจ้าหน้าบริหารของ FDRA และมีถึง Katherine Tai ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และ Gina Raimondo รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ โดยจดหมายดังกล่าวถูกส่งไปก่อนกำหนดการที่ประธานาธิบดี Biden จะพบกับประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีนเพียงเล็กน้อย หรือเมื่อวันพุธ (วันที่ 15 พฤศจิกายน) เมื่อผู้นำทั้งสองหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์สหรัฐฯ - จีน
โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา (เดือนมกราคม พ.ศ. 2566) สมาคมเครื่องแต่งกายและรองเท้าของสหรัฐฯ (American Apparel & Footwear Association หรือ AAFA) สภาค้าปลีกแห่งชาติ (National Retail Federation หรือ NRF) สมาคมผู้นำอุตสาหกรรมค้าปลีก (Retail Industry Leaders Association หรือ RILA) และสมาคมอุตสาหกรรมแฟชั่นของสหรัฐฯ (United States Fashion Industry Association หรือ USFIA) ได้ตีพิมพ์การศึกษาที่ระบุถึง “หายนะของผลกระทบทางเศรษฐกิจ” จากการเก็บภาษีภายใต้มาตรา 301
รายงานดังกล่าววิเคราะห์ข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ และแบบสำรวจเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 กับบริษัทอเมริกันที่จัดหาสินค้าจากจีน พบว่า การลงโทษทางภาษีเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจและผู้บริโภคของสหรัฐฯ
รายงานดังกล่าวระบุว่า ภาษีของสหรัฐฯ ที่เก็บจากการนำเข้าเครื่องแต่งกาย รองเท้า และสินค้าเดินทางโดยเฉพาะ เป็นหนึ่งในอัตราภาษีที่สูงที่สุดในพิกัดศุลกากรของสหรัฐฯ ทั้งนี้ จดหมายดังกล่าวระบุว่า การกระทบธุรกิจและผู้บริโภคของสหรัฐฯ ด้วยราคารองเท้าที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของจีนได้ ซึ่งจีนไม่ได้เสียภาษีดังกล่าว แต่ธุรกิจและผู้บริโภคสหรัฐฯ ต่างหากเป็นผู้เสียภาษีดังกล่าว
นอกจากนี้ จีนไม่รวมรองเท้าว่าเป็นส่วนสำคัญของนโยบายอุตสาหกรรมของประเทศ หากเป้าหมายของภาษี คือ การให้สิทธิพิเศษแก่บริษัทสหรัฐฯ ในการย้ายออกจากจีน มันก็จะไม่ได้ผลกับรองเท้าจากทางเลือกการจัดหาที่จำกัด
ในส่วนของรองเท้า ประมาณร้อยละ 50 ของรองเท้าที่นำเข้าจากจีนถูกเรียกเก็บภาษีร้อยละ 15 ภายใต้มาตรา 301 เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ภาษีดังกล่าวลดลงร้อยละ 7.5
ในจดหมายดังกล่าว Priest กล่าวถึงการตรวจสอบมาตรา 301 ครั้งแรก ที่ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีของจีน เขาเน้นว่า รัฐบาลชุดก่อนไม่เรียกเก็บภาษีแฝงใด ๆ กับสินค้าบริโภค
อย่างไรก็ตาม เขายังกล่าวว่า ภาษีปัจจุบันถูกเพิ่มเข้ามา จากความตึงเครียดทางการค้าที่ดำเนินอยู่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน
รองเท้า ถูกเรียกเก็บภาษีที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 12 ในขณะที่สินค้าบริโภคที่นำเข้าอื่น ๆ ทั้งหมด ถูกเรียกเก็บภาษีที่อัตราเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.9 ทั้งนี้ อัตราภาษีของรองเท้าอาจสูงถึงร้อยละ 37.5 และร้อยละ 48 หรือมากกว่า
แต่โดยแท้จริงแล้ว บางอัตราภาษีที่สูงที่สุดในพิกัดศุลกากรของสหรัฐฯ จะเรียกเก็บจากรองเท้ามูลค่าต่ำและรองเท้าเด็ก ซึ่งจะมีผลกระทบที่ไม่ได้สัดส่วนต่อครอบครัวชนชั้นแรงงาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่มีเงินพอที่จะซื้อ
-------------------------------------------------
Source: JustStyle
Photo credit: Shutterstock