หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / อุตสาหกรรมสินค้ากีฬาของยุโรปยินดีกับการต่ออายุการให้สิทธิ GSP

อุตสาหกรรมสินค้ากีฬาของยุโรปยินดีกับการต่ออายุการให้สิทธิ GSP

กลับหน้าหลัก
07.12.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 195

อุตสาหกรรมสินค้ากีฬาของยุโรปยินดีกับการต่ออายุการให้สิทธิ GSP

สภาอุตสาหกรรมสินค้ากีฬาของยุโรป (Federation of the European Sporting Goods Industry หรือ FESI)  ได้แสดงความยินดีกับการลงนามในกฎหมายเมื่อเร็วๆ นี้ ในการต่ออายุกฎระเบียบปัจจุบันของโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ Generalized System of Preference (GSP) ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเจรจาที่ไม่คืบหน้า               

GSP ก่อให้เกิดโอกาสการส่งออกเพิ่มขึ้นและช่วยให้ประเทศต่าง ๆ แก้ปัญหาความยากจนและสร้างงาน ในขณะที่ยึดหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืน    

Credit: Shutterstock

สภา FESI มองว่า การต่ออายุไปจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2570 (ปี 2027) เป็นการเคลื่อนไหวเชิงบวก ที่จะทำให้เกิดการคาดการณ์ได้และมีหลักประกันว่า การหารือโครงการ GSP ใหม่ จะสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยความมั่นใจมากขึ้น             

สภา FESI ระบุว่า ได้ร่วมในการหารืออย่างแข็งขัน ตั้งแต่การหารือเรื่องโครงการ GSP ใหม่ ได้เริ่มขึ้น โดยได้เสนอจุดยืนและความเห็นของตน สภาฯ เชื่อว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ผู้ออกกฎหมายกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาเร็วขึ้น และอย่างกระฉับกระเฉงมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำในอนาคต

GSP ยกเว้นภาษีนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนาที่เข้ามาในสหภาพยุโรป และ GSP ก่อให้เกิดโอกาสการส่งออกเพิ่มขึ้นและช่วยให้ประเทศต่าง ๆ แก้ปัญหาความยากจนและสร้างงาน ในขณะที่ยึดหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืน                   

Jérôme Pero เลขาธิการของสภา FESI เห็นว่า GSP เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญต่อการค้าและอุตสาหกรรมสินค้ากีฬา เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สนับสนุนแรงงานหลายล้านคน และก่อให้เกิดการค้าที่มีมูลค่าหลายพันล้านยูโร จึงตั้งตาคอยที่จะมีการหารือครั้งใหม่ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าดียิ่งขึ้น   

ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นเพียงหนึ่งวัน หลังจากที่คณะกรรมาธิการยุโรปและผู้แทนระดับสูงที่รับผิดชอบด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงเกี่ยวกับ GSP ได้ออกรายงานร่วมเกี่ยวกับ GSP โดยเน้นความสำคัญอันยิ่งยวดและผลกระทบของ GSP   

รายงานดังกล่าวระบุว่า ตั้งแต่ก่อตั้งโครงการ GSP เมื่อปี พ.ศ. 2514 (ปี 1971) มูลค่าการนำเข้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 80 พันล้านยูโรในปี พ.ศ. 2565 (ปี 2022) รายงานดังกล่าวยังเน้นบทบาทปัจจุบันของ GSP ในการก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาในประเทศรายได้ต่ำ โดยเฉพาะในช่วงเวลาของความไม่แน่นอน เช่น การระบาดของ COVID-19    

รายงานดังกล่าวยังพบว่า  สิทธิพิเศษของ GSP+ ทำให้มาตรฐานของสิทธิมนุษยชนและแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ และการปฏิบัติตามธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยสภา FESI ยอมรับว่าการต่ออายุโครงการ GSP ในปัจจุบันออกไปนับเป็นความเคลื่อนไหวที่เป็นก้าวเชิงบวกสำหรับอุตสาหกรรมในหมวดสินค้ากีฬา  

-------------------------------------------------

Source: JustStyle 

Photo credit: Shutterstock

กฎระเบียบสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, เครื่องนุ่งห่ม, GSP, สินค้ากีฬา, EU, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'67